ตาตุ่มทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Excocaria agallocha
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น ตาตุ่ม (กลาง), บูตอ (มลายู-ปัตตานี)


เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 10-18 เมตร มียางสีขาวมาก ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปรียบเรียบถึงแตกเป็นร่อง สีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาล อมเทากิ่งอ่อนมีช่องอากาศเล็ก หายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน

ใบ  เป็นเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี หรือรูปไข่ แกมรี ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2-5 x 4-9 ซม. ปลายใบกลมถึงเว้าตื้นๆหรือเรียวแหลม มน ฐานใบมน ขอบใบหยัก เป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเกลี้ยงทั้ง สองด้าน แผ่นใบนิ่มคล้ายหนัง มีสีเขียวเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ เมื่อใบใกล้ร่วง ก้านใบเรียวยาว 1-2.5 ซม.

ดอก  ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เป็นช่อเชิงลด ดอกมีขนาดเล็กมาก ติดกันเป็นกระจุกช่อดอกเพศผู้มีสีเหลืองแกมเขียวยาว5-10ซม.ช่อดอกเพศเมียสั้น 2-3 ซม.

ผล  เป็นแบบผลแห้งแตก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.5-0.7 x 0.3-0.4 ซม. ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม เมล็ดเกือบกลม สีดำ ออกดอก-ผล เดือนพฤษภาคม- พฤศจิกายน

ลักษณะเด่น  มักจะพบใบหลายสีปะปนกันบนต้นเดียวกัน เมื่อสะกิดต้นไม้เป็นแผลจะพบยางไหลออกมา ยางของตาตุ่มมีพิษ หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด หรือหากกินเข้าไป จะทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง

การเจริญเติบโต  พบทั่วไปตามป่าชายเลน ตามริมแม่น้ำ ที่เป็นพื้นสูง ดินเหนียวปนทราย ค่อนข้างแข้ง และน้ำท่วมถึงเมื่อน้ำขึ้นสูง