อวัยวะส่วนประกอบของปูก้ามดาบ

 

      กระดอง (carapace) คือเปลือกแข็งที่หุ้มส่วนหัวและส่วนอก บนเปลือกจะแบ่งออกเป็นบริเวณ ประกอบด้วยบริเวณของตับ
กระเพาะอาหารส่วนกลาง เหงือก และหัวใจ
      มุมกระดองด้านท้อง (antero-lateral angle) คือกระดองซึ่งอยู่ด้านหน้ากับด้านข้างของกระดอง
มักมีแหลมยื่นและแหลมเฉียงออกไป
      ขอบบนของกระดองด้านข้าง (dorso-lateral margin)
เป็นสันข้างกระดองซึ่งอยู่ด้านบน และยาวตั้งแต่มุมกระดอง
ด้านหน้าจนถึงบริเวณระดับเดียวกับกึ่งกลางของบริเวณหัวใจ

        ขีดเล็กๆที่อยู่ทางด้านข้างส่วนหลังของกระดอง (postero-lateral striae)
เป็นขีดคมเส้นเล็กๆ อยู่บริเวณปลายของกระดองด้านข้างค่อนไปทางด้านหลัง
      Front  เป็นส่วนที่ยื่อจากด้านบนลงมายังด้านหน้า ระหว่างกระบอกตา
ทั้งสองข้างและเฉพาะในปูที่มี front แคบ จะมีร่องตรงกลาง ซึ่งของร่อง คือ
ขอบบนของขอบกระบอกตาบน
      กระบอกตา (crbital region) เป็นร่องยาวอยู่เกือบตลอดด้านหน้า
ของกระดอง ปลายร่องด้านนอกไม่มีขอบสูง
      ขอบกระบอกตาบน (eyebrow ) ปรกติแล้วเป็นขอบที่มีความหนา
ดังนั้น ขอบกระบอกตาบนจึงประกอบด้วยขอบบนและขอบล่าง
      ขอบกระบอกตาล่าง (suborbital margin) มีลักษณะเป็นรอยหยัก ติดต่อกันตลอดความยาวของขอบและจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและ
ระยะห่างกันมากขึ้นบริเวณมุมกระดอง
      Pterygostomium region  เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากของกระบอกตาล่าง
จนถึงขอบล่างของกระดอง และครอบคลุมด้านข้างของกระดองด้วย
ส่วนนี้มีตุ่ม ขนและรอยย่นอยู่ทั่วไป
        ตา (eye) เป็นแบบ compound eyes มีก้านตา (ayestalk)
ยาวและพับเก็บไว้ในกระบอกตาซึ่งเป็นร่องยาว
      Maxilliped คู่ที่ 3 หรือ External maxilliped  เห็นได้จากด้านหน้า
ประกอบด้วย ischium  ซึ่งมีขนาดใหญ่และยาว merus สั้นและมีระยางค์
ปล้องเล็กๆอีก 3 ปล้องอยู่ถัดจาก merus ส่วน exognath ซึ่งเป็นระยางค์อันที่อยู่ด้านนอกของ maxilliped  มีลักษณะเรียวยาว
และติดอยู่ตรงโคนด้านนอกของ ischium
      ก้ามข้างใหญ่ (major cheliped) ประกอบด้วย 7 ปล้อง คือ
  ปล้องที่ 1 มีชื่อว่า coxa เป็นปล้องที่อยู่โคนสุดติดกับส่วนอกมีขนาดเล็ก
  ปล้องที่ 2 มีชื่อว่า basis เป็นปล้องที่ต่อจากปล้องที่ 1 มีขนาดเล็กเช่นเดียวกับปล้องที่ 1
  ปล้องที่ 3 มีชื่อว่า ischium เป็นปล้องที่ต่อจากปล้องที่ 2 มีขนาดใหญ่กว่าปล้องแรก
  ปล้องที่ 4 มีชื่อว่า merus เป็นปล้องที่ต่อจากปล้องที่ 3 มีขนาดใหญ่ประกอบด้วยด้าน
3 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านบน และด้านหลัง และมีขอบ 3 อัน คือ ขอบล่าง
ขอบบนซึ่งอยู่ด้านหน้า และขอบบนซึ่งอยู่ทางด้านหลัง
  ปล้องที่ 5 มีชื่อว่า carpus เป็นปล้องที่ต่อจากปล้องที่ 4 มีขนาดใหญ
่แต่เล็กกว่าปล้องที่ 4 ประกอบด้วยสามด้าน คือ ด้านหน้า ด้านบน และด้านหลัง
และมีขอบ 3 อันคือขอบล่าง ขอบบนซึ่งอยู่ทางด้านหน้า
และขอบบนซึ่งอยู่ทางด้านหลัง
  ปล้องที่ 6 มีชื่อว่า propodus เป็นปล้องที่ต่อจากปล้องที่ 5 ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนโคนด้านนอกเรียกว่า palm มีขนาดใหญ่และแบน ส่วนโค้งด้านในเรียกว่า manus
ส่วนปลายเรียกว่า pollex เป็นก้ามหนีบที่เคลื่อนไหวไม่ได้ มีลักษณะเรียวยาว
        Manus ประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ
  บริเวณฐานของ pollex (pollex base)เป็นส่วนที่ติดกับ pollex
  บริเวณฐานของ dactylus (dactylus base)เป็นส่วนที่ติดกับ dactylus
  Cuff เป็นส่วนปลายของ manus ซึ่งมีร่องแบ่งส่วนของ cuff ออกจากส่วนของmanus
  ร่องใต้ขอบบน (submarginal groove) เป็นร่องตื้นอยู่ใต้ขอบบนของ manus
  ร่องเหนือขอบล่าง (supramarginal groove) เป็นร่องน้ำลึกที่อยู่เหนือของล่างของ
manus และมักยาวถึงโคนของ pollex
      Palm ประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ
  แอ่งรองรับ carpus (carpal cavity) เป็นแอ่งสำหรับรองรับ เมื่อปูหดก้ามเข้ามา
อยู่บริเวณส่วนของโคน ซึ่งเป็นขอบของแอ่งรองรับ อาจเห็นชัดหรือไม่ชัด
  แอ่งรูปสามแฉก (depression at pollex base) คือแอ่งกว้างเป็นรูปสามแฉก อยู่บริเวณฐานของ pollex
  สันเฉียง (obliqoe ridge) เป็นสันขนาดใหญ่และมีสันขนาดใหญ่เรียง
เป็นแถวบริเวณตั้งแต่ขอบล่างของโคนของ pollexจนถึงปลายริมล่าง
ของแอ่งรองรับ campus
  Proximal ridge เป็นสันต่ำมีตุ่มเรียงเป็นแถวตั้งแต่ตอนบนของโคน pollex
จนถึงฐานของ dactylus
  Distal ridge เป็นสันกว้างและต่ำมากอยู่ใกล้กับโคนdactylus ซึ่งสันนี้อาจจะมีตุ่มหรือไม่มีตุ่ม แล้วแต่ชนิดปู
  Predistal groove เป็นร่องสั้นอยู่ระหว่าง proximal ridge และ distal ridge
  ปล้องที่ 7 มีชื่อว่า dactylus เป็นปล้องที่ต่อจาก manus เป็นก้ามหนีบที่เคลื่อนไหวได้
มีลักษณะเรียวยาว
           ก้ามข้างใหญ่ของปูก้ามดาบแต่ละชนิดมักจะมีสองแบบ คือ
แบบที่ 1มีชื่อว่า brachychelous type เป็นก้ามที่นอกจากจะมีฟันขนาดใหญ่
่ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปูแต่ละชนิดแล้ว ยังมีฟันซึ่งมีขนาดใหญ่อีหลายอัน
แบบที่ 2 มีชื่อว่า leptochelous type เป็นก้ามที่มีแต่ฟันขนาดใหญ่
่ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของปูแต่ละชนิดเท่านั้น หรือไม่มีฟันขนาดใหญ่อยู่เลย
ก้ามแบบนี้มักจะมีก้ามหนีบเรียวราวกับก้าม brachychelous type
ซึ่งมักจะอ้วนป้อมและสั้นกว่า