*ที่อยู่อาศัย จากการศึกษาปูก้ามดาบพบว่ารูของ
ปูก้ามดาบ 4 ชนิด คือ Uca urvillei
Uca annulipes
Uca forcipata และ Uca vocan มีลักษณะตรงเป็น
ทรงกระบอกและรูส่วนใหญ่จะมีน้ำขังอยู่ในรูกว่า 60%
พบว่ารูที่มีความยาวมากที่สุดของปูก้ามดาบที่ศึกษาคือ
|
ขนาด 11.78 cmซึ่งเป็นรูUca
annulipes ส่วนตรงกลางรู
จะป่องออกเมื่อ เปรียบลักษณะรูของ ปูก้ามดาบกับปูแสม
พบว่าปูแสมจะมีรูเชื่อมติดต่อกันรูของปูจะไม่ลึกเหมือนรูปูก้ามดาบ
แต่ทอดยาวขนานกับพื้นดิน นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อรูปูก้ามดาบ
ถูกทำลายก็จะสร้างรูใหม่ขึ้นมาทันที โดยเพศเมียใช้ขาที่
1
ขาที่ 2 ขาที่ 3 และ ขาที่ 4ของข้างใดข้างหนึ่งปักลงไปในดิน
แล้วขุดดินขึ้นมาส่วนเพศผู้จะขุดดินได้เฉพาะข้างที่มีก้ามเล็ก
พบว่าก้ามเล็กของเพศเมียและเพศผู้จะช่วยพยุง
และดึงดินขึ้นมาจากหลุมที่เพิ่งขุด มันจะขุดไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพอดีขนาดของมัน เมื่อมันขุดรูจนเป็นที่พอใจแล้วมันจะลงไปในรูแล้ว
ใช้กระดองดันรูของมันหลังจากนั้นมันจะ หมุนตัวของมันกระดองจึงถูกับผนังรู
เมื่อเรามองรูของมันเราจะเห็นว่ารูของมันเรียบ |
จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่าเมื่อมีการทดลองนำปูก้ามดาบมาไว้ที่อยู่ห่างไกลทะเล
เมื่อเวลาใดที่น้ำทะเลในธรรมชาติลดลงปูก้ามดาบในห้องทดลองแสดง
อาการขุดรูทั้งที่ไม่เห็นทะเลเลย ยิ่งไปกว่านั้นในวันถัดไป
ปูจะแสดงอาการขุดรูช้าไปจากวันก่อน 50 นาที
ซึ่งตรงตามธรรมชาติของน้ำขึ้นน้ำลงที่ช้าลงวันละ 50 นาที
พฤติกรรมที่ปูก้ามดาบแสดงออกมาต่อช่วงเวลานี้
เรียกว่า "นาฬิกาชีวภาพ"ที่อยู่ในปูก้ามดาบนั้นเอง
(อ้าง:รศ.สุรินทร์ มัจฉาชีพ)