|
ภูมิประเทศชายฝั่ง
ป่าชายเลนโดยทั่วไปชอบขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเลน และเป็นที่ราบกว้าง
เช่น สภาพพื้นที่ป่าชายเลน ในจังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ราบกว้าง ทำให้เห็นถึงความแตกต่างของพันธุ์ไม้และสัตว์นานับชนิด
นอกจากนี้บริเวณดินเลนชายฝั่ง หรือปากอ่าวที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำ ก็มีอิทธิพลต่อความหนาแน่นและการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเช่นกัน
ดังเช่นพื้นที่ป่าชายเลนซุนดา บัน ในบริเวณอ่าวบังกอลประเทศบังคลาเทศ
เป็นป่าที่ขึ้นอยู่ปากอ่าว มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย จึงทำให้พื้นที่ป่าชายเลนแถบนี้มีพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่อย่างแน่น
เพราะมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์เนื่องจากการพัดพาของแม่น้ำ |
|
ภูมิอากาศ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับภูมิอากาศที่สำคัญ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ
ฝน และลม ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ในป่าชายเลน
พอสรุปได้ดังนี้ |
|
แสง เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อพืชสีเขียวในป่าชายเลนในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่าชายเลน
นอกจากนี้แสงยังมีอิทธิพลต่อพันธุ์ไม้ในปาทชายเลนอีกหลายด้าน เช่น
การเปิดปิดของปากใบ การหายใจและการคายน้ำ ตลอดจนรูปทรง ลักษณะโครงสร้าง
หน้าที่และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในป่าชายเลนโดยทั่วไปพรรณไม้ในป่าชายเลนเป็นกลุ่มไม้ที่ต้องการแสงมาก
ด้วยเหตุนี้เองเราจึงพบป่าชายเลนกระจายอยู่อย่างหนาแน่นในแถบชายฝั่งโซร้อนทั่วโลก
ซึ่งความเข้มแสงที่เหมาะกับการเจริยเติบโตของไม้ในป่าชายเลนมีค่าระหว่าง3,000-3,800
กิโลแคลอรีต่อตารางเมตรต่อวัน พบว่าการปลูกกล้าไม้ป่าชายเลนใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
จะมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำและมีอัตราการตายสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการปลุกกล้าไม้ป่าชายเลนในที่โล่งและนับได้ว่าแสงยังมีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการออกดอกและการออกฝักของไม้โกงกางในป่าชายเลน |
|
ฝน
ปริมาณและระยะเวลาที่ฝนตก สำคัญต่อความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน
โดยเฉพาะการกระจาย การเจริญเติบโต และการออกดอกของพันธุ์ไม้ นอกจากนี้ฝนก็มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของอากาศและน้ำ
ความเค็มของน้ำและน้ำในดิน โดยปกติแล้วป่าชายเลนสามารถขึ้นอยู่และเจริญเติบโตได้ดี
เมื่อพื้นที่ชายฝั่งมีปริมาณฝนตกประมาณ 1,500-3,000 มิลลิเมตรต่อปี
แต่ก็สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกถึง 4,000 มิลลิเมตรต่อปี |
|
อุณหภูมิ
อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาของพรรณไม้ในป่าชายเลน
โดยเฉพาะกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ อันมีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืชในป่าชายเลนพบว่าในอุณหภูมิที่แตกต่างกันปริมาณการแตกใบอ่อนของไม้ในป่าชายเลนมีอัตรารในการแตกใบอ่อนแตกต่างกันไปด้วย
เช่น ไม้แสมจะแตกใบอ่อนได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 18-20 ?C ไม้โกงกางจะมีอัตราการแตกใบอ่อนสูงเมื่ออุณหภูมิประมาณ
26-28 ?C เช่นเดียวกับไม้ โปรง ไม้ตาตุ่ม ไม้ฝาด ส่วนไม้ตะบูนจะแตกใบอ่อนได้ดีเมื่ออุณหภูมิอยู่ระหว่าง
21-26 ?C ยกเว้นไม้ตะบูนขาวจะแตกใบอ่อนได้ดีในอุณหภูมิสูงถึง 28 ?C |
|
ลม
ลมเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวสในป่าชายเลน
โดยลมจะมีอิทธิพลต่อการตกและการกระจายของฝน ซึ่งมีส่วนทำให้การระเหย
และการคายน้ำของพืชเพิ่มมากขึ้น ตามชายฝั่งทะเลลมมีอิทธิพลต่อลักษณะระโครงสร้างของป่าชายเลนในขณะเดียวกันลมมีส่วนช่วยในการผสมพันธุ์ของไม้และกระจายของพันธุ์ไม้ไม้
แต่ถ้าพื้นที่ชายฝั่งบริเวณใดมีลมแรงจะทำให้ต้นไม้แคระแกรนและมีทรวดทรงผิดปกติได้ |
|
น้ำขึ้นน้ำลง น้ำขึ้นน้ำลงนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดการแบ่งเขตการขึ้นของพันธุ์ไม้หรือสัตว์ในป่าชายเลนช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลงจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของควาทมเค็มในบริเวณป่าชายเลนคือในขณะที่น้ำทะเลขึ้นค่าปริมาณความเค็มของน้ำห่างจากชายฝั่งหรือตอลกจนลำแม่น้ำจะสูงขึ้นด้วยในทางตรงกันข้ามเมื่อน้ำทะเลลดลงค่าปริมาณความเค็มของน้ำก็จะลดต่ำลงด้วยนอกจากนี้ความเค็มของน้ำยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาน้ำเกิดน้ำตายคือในช่วงน้ำเกิดความเค็มของน้ำจะสูงขึ้นและคาวมเค็มของน้ำจะลดลงเมื่อน้ำทะเลอยู่ในช่วงน้ำตายนอกจากนี้ป่าชายเลนยังได้รับอิทธิพลจากระยะเวลาในการขึ้นลงของน้ำอีกด้วยกล่าวคือป่าชายเลนที่มีน้ำขึ้นน้ำลงวันละหนึ่งครั้งหรือเรียกว่า"แบบน้ำเดี่ยว"จะมีลักษณะโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างจากป่าชายเลนที่มีน้ำขึ้นน้ำลงวันละ2ครั้งหรือเรียกว่า"แบบน้ำคู่"ซึ่ทงระเวลาที่น้ำขึ้นลงแตกต่างกันนี้จะยังผลให้พันธุ์ไม้ที่ขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนนั้นๆ
แตกต่างกัน เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมถึงตลอดเวลา จะมีแต่ไม้โกงกางใบใหญ่ขึ้นได้ชนิดเดียว
แต่ถ้าพื้นที่ที่มีน้ำท่วมถึงชั่วคราวจะมีไม้พังกาหัวสุม และตะบูนขึ้นเด่นอยู่เป็นต้นความแตกต่างในการขึ้นลงของน้ำ
เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบราก
และลักษณะภายนอกของพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน พบว่าป่าชายเลนที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตดกต่างของการขึ้นลงของน้ำกว้าง
จะทำให้ระบบรากหายใจสูงจากระดับผิวดินมาก ในทางกลับกันป่าชายเลนบริเวณใดมีความแตกต่างของการขึ้นลงของน้ำต่ำ
ก็จะทำให้ระบบรากไม่สูงจากพื้นผิวดินมากนัก เช่น ไม้แสม ลำพู-แพน พบว่าถ้าขึ้นอยู่ในป่าชายเลนที่มีความแตกต่างของน้ำขึ้นน้ำลงกว้างระบบรากหายใจจะมีขนาดใหญ่และสูงจากผิวดินมากในทางตรงข้ามถ้าป่าชายเลนบริเวณใดมีผลต่างการขึ้นลงของน้ำแคบราพวกไม้แสมลำพูลำแพนก็จะมีขนาดเล็กและสูงจากผิวดินน้อยซึ่งการที่รากของพันธุ์ไม้เหล่านี้มีระบบรากที่แตกต่างกันจะทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ตามบริเวณรากแตกต่างกันไป |
|
|