การค้นพบป่าชายเลน

การค้นพบป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล ได้ถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2037คริสโตเฟอร์โคลัมบัสนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทวีบอเมริกาเป็นคนแรก เขาได้บันทึกไว้ว่า "ในขณะที่ข้าพเจ้าแล่นเรือไปตามอ่าวตาบาดโนนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นป่าชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นแนวไปตามชายฝั่งมีลำต้นสูงใหญ่ มี่รากออกมาจากลำต้นลำต้นโค้งลงสู่พื้นดิน มีผลเป็นฝักห้อยอยู่ตามปลายกิ่ง เป็นป่าที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นจนแมวไม่สามารถลอดผ่านไปได้และเป็นป่าที่สวยงามน่าสนใจมาก"หลายปีต่อมานักเดินเรือ เซอร์ วอลเตอร์ รแลจ์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้ ขึ้นอยู่บริเวณปากแม่น้ำ ในประเทศนิแดด และกิอานา และเมื่อ พ.ศ. 2421 บาวแมน (H.H.M Bowman) นักชีววิทยา ได้ศึกษาป่าชนิดนี้อย่างจริงจัง และตั้งชื่อว่า"Mangroveforest"ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า"mangue"ซึ่งหมายถึงสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งดินเลนและใช้กันแพร่หลายในแถบประเทศแถบลาตินอเมริกา ประเทศอื่นใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่นประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทสฝร่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "manglier" สำหรับประไทยนิยมเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง"

 

ป่าชายเลนคืออะไร
ป่าชานเลนคือป่าที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเขตร้อน ป่าอ่าวหรือป่าแม่น้ำ ซึ่งมีลักษณะพิเศษประกอบไปด้วยพืชพรรณนานาชนิดและสัตว์นานาพันธุ์ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อยและมีน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอและเป็นแหล่งผลิตอาหารและพลังงานที่สำคัญแก่มวลมนุษย์ในประเทศไทยเรียกป่าชายเลนอีกอย่างว่า "ป่าโกงกาง" โดยเรียกตามชนิดพันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในระบบนิเวศ ป่าชายเลนคือ"ไม้โกงกาง"(Rhizophora)ซึ่งไม้ชนิดนี้มีลักษณะพิเศษรากที่ติดกับลำต้นโก่งและกางลงสู่พื้นโคลน หรือที่เรียกว่า"รากค้ำจุน"แต่บางพื้นที่ในจังหวัดต่างๆของภาคใต้มักเรียกป่าชานเลนว่า"ป่าพังกา"เพราะชื่อพื้นเมืองของไม้โกงกางที่เรียกกันในทางภาคใต้คือ "ต้นพังกา"