ไมยราบ
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimosa pudica Linn. var.
hispida Bren.
- ชื่อวงศ์ Leguminosae
- ชื่ออื่นๆ หนามหงับ กระทืบยอด กะหงับ ก้านของ
นาหมื่อม้ะ ระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด
หนามหญ้าราบ Sensitive plant
- ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
ไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย ทอดแผ่ไปตามพื้นดิน ลำต้นมีขนละเอียดและหนามโค้งงอ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงสลับ ไวต่อการสัมผัส ยาว 10-13 ซม.
- สรรพคุณ
- ราก แก้ไอ
ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ระบบการย่อยอาหารของเด็กไม่ดี บำรุงกระเพาะอาหาร
ทำไห้ตาสว่าง ระงับประสาท แก้บิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดเวลามีประจำเดือน
ถ้าใช้ขนาดสูงมากๆจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ริสีดวงทวาร
- ต้น ขับปัสสาวะ
แก้ไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว ขับโลหิต
- ใบ แก้เริม
งูสวัด โรคพุพอง ไฟลามป่า
- ทั้งต้น ขับปัสสาวะแก้ไตพิการ
แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดูขาว แก้ไข้ออกหัด แก้นอนไม่หลับ แก้กระเพาะอาหารอักเสบ
สงบประสาท แก้ลำไส้อักเสบ แก้เด็กเป็นตานขโมย แก้ผื่นคัน แก้ตาบวมเจ็บ แก้แผลฝี
- วิธีใช้และการรักษา
- นายหนูกลั่น เชาวลิต ต้นไมยราบทั้งห้า ต้ม 3 เอา 1
เสกสักตวา กินครั้งละ 1 จอก เช้า-เย้น แก้อาการไข้ทับระดู หรือ ระดูทับไข้ในสตร
- นายวิโรจน์ บรรลือพืชใช้ไมยราบทั้งต้น ใช้รากเข็มแดง
1 ต้น บานไม่รู้โรย 1 ต้น มาล้างน้ำให้สะอาด นำทั้ง 3 อย่าง มาต้ม แก้ไข้ทับระดู
- ผู้ให้ภูมิปัญญานายวิโรจน์
บรรลือพืช 136 หมู่ 4 ต. บ้านเกาะ อ. พรหมคีรี จ. นครศรีธรรมราช
- นายหนูกลั่น เชาวลิต 46/1 หมู่ 6 ต. ท่าขึ้น อ. ท่าศาลา
จ. นครศรีธรรมราช
- ข้อดีของสมุนไพรใช้เป็นยารักษาโรค
ข้อเสียของสมุนไพร เป็นพืชที่มีหนามทำให้ยากแก่การเก็บมาใช้