เหมืองแม่เมาะ อ.แม่เมาะ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย |
ถ่ า น หิ น
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดร่วมกับตะกอนยุคเทอร์เชียรี(มีอายุระหว่าง
65-1.8 ล้านปี) ถ่านหินเกิดจากซากพืช(ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลหญ้า)ซากสิ่งมีชีวิตถูกตะกอนดินทับถมภายใต้ภาวะขาดออกซิเจน(reducing
environment) เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลกและความร้อนจากภายในโลก
ทำให้ซากเหล่านี้แปรสภาพจนเป็นถ่านหิน ถาแบ่งตามคุณสมบัติของค่าความร้อน ความชื้นเรียงตามคุณภาพจากน้อยไปหามาก
คือ พีท ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บิทูมินัส และแอนทราไซต์
__ ตะกอนที่สะสมตัวในยุคเทอร์เทียรีประกอบด้วยหิน
3 ชั้น ชั้นบนสุด(A) ประกอบด้วยหินกรวดมน หินทาย หินโคลนสีน้ำตาล น้ำตาลแดง บางครั้งมีสีเขียวเทาสลับ
โดยมีถ่านหินชั้นบาง(Coal laminae)แทรกสลับเล็กน้อย ชั้นถัดลงมาเป็นหินดินดานชั้นบาง
ๆแทรกสลับด้วยหินทราย หินทรายแป้ง และมีถ่านหินแทรกสลับ หรือบางพื้นที่จะมีหินน้ำมัน(Oil
shale) แทรกสลับ ชั้นหินสุดท้ายจะประกอบด้วยหินทราย หินทรายแป้ง หินกรวดมนหรือหินโคลนชั้นหนาสีแดงน้ำตาล
บางชั้นมีถ่านหินชั้นบาง ๆ แทรกอยู่ด้วย
__ ลักษณะของแหล่งสะสมตะกอนเทอร์เชียรีในประเทศไทย
มักมีรูปร่างยาวรีอยู่ในแนวเหนือใต้และใกล้เคียง มักมีแนวรอยเลื่อนอยู่ในแนวเหนือ-ใต้หรือใกล้เคียงกำกับอยู่
ส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนปกติ(normal fault) และมีลักษณะก่อตัวเป็นแอ่ง(basin) แบบกึ่งกราเบน(half
- graben basin ) และมีบางแอ่งอาจได้รับอิทธิพลจากแรงเฉือนจากรอยเลื่อนตามแนวระดับ(Strike
slip fault)
__ ปฏิบัติการในเหมืองถ่านหิน แบ่งภาระงานออกเป็น
2 ส่วนใหญ่ ๆคือ งานดินและงานถ่าน งานดินจะทำหน้าที่เปิดผิวดินจนถึงชั้นถ่านแล้วนำดินไปทิ้งยังบริเวณที่กำหนดไว้
ส่วนงานถ่านทำหน้าที่ขุดถ่านตลอดจนนำไปบดและส่งเข้าสู่โรงไฟฟ้า
Back