การเปรียบเทียบสูตรอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อเห็ดเผาะ
Comparition of Different Media for Growing Astrearus hygrometricus (Pers)
Morg.
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดเผาะในอาหารสูตรต่างๆคือ
PDA, PDAY, Vegetable Agar, Nestum Agar โดยทำการเปรียบเทียบทั้งในที่สว่างและที่มืดผลปรากฏว่า
PDA เป็นสูตรอาหารที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ดเผาะ รองลงมาได้แก่
PDAY และ Vegetable Argar โดยการเลี้ยงในที่มืดหรือสว่างนั้นไม่มีผลแตกต่างกันแต่อย่างใด
สำหรับอาหารสูตร Malt Agar และ Nestum Agar นั้นปรากฏว่าเส้นใยเห็ดเผาะไม่เจริญเติบเลย
คำนำ
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ
เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่งซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยจะพบในต้นฤดูฝนเท่านั้น เห็ดเผาะเป็นเห็ดที่มมีผู้นิยมรับประทานกันมากและมีราคาค่อนข้าแพงกว่าเห็ดธรรมชาติทั่วๆไป
ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถที่จะทำการเพาะขึ้นได้ มีผู้สนใจหลายท่านได้พยายามค้นคว้าหาวิธีเพาะโดยเลียนแบบธรรมชาติแต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ
การทดลองในครั้งนี้ก็เป็นเพียงการทดลองขั้นพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ โดยทำการทดลองศึกษาการเจริญเติบโตของเส้นใยในอาหารวุ้นชนิดต่างๆ
และศึกษาลักษณะของแห็ดลาปรากรเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการที่จะทำการเพาะเห็ดเผาะให้ประสบความสำเร็จต่อไป
เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ Astrearus hygrometricus (Pers) Morg. เป็นเห็ดที่จัดอยู่ในอันดับ
Lycoperdales วงศ์ Lycoperdaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Astrearus hygrometricus
เห็ดเผาะเป็นเห็ดที่รู้จักกันดีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในภาคเหนือเรียกเห็ดเผาะนี้ว่าเห็ดถอบ
โดยจะรับประทานเห็ดชนิดนี้ในขณะที่ยังอ่อนอยู่ เห็ดเผาะเป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ใต้ผิวดินเหมือนเห็ดโคน
และมักจะพบในป่าที่เรียกว่า ป่าแพะ หรือป่าไม่เต็ง-รัง และพลวง โดยจะออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนที่มีอากาศอบอ้าวอยู่หลายวันก่อนฝนตก
ในภาคเหนือจะพบมากในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ดอกเห็ดที่พบอยู่ตามธรรมชาตินั้นจะโผล่ออกมาให้เห็นเพียงเศษหนึ่งส่วนสาม
สำหรับผู้ที่ชำนาญในการหาเห็ดชนิดนี้สามารถที่จะเขี่ยคุ้ยจากดินที่กอบได้ พบว่าบางครั้งเห็ดก็จะงอกอยู่ใต้ก้อนหินหรือท่อนไม้ผุๆ
เมื่อพลิกก้อนหินออกจะพบเส้นใยสีน้ำตาลกระจายอยู่ด้วย และในบริเวณที่พบเห็ดเผาะนี้ก็มักจะพบว่าแก่หรือเห็ดเผาะค้างปี
ที่ไม่ถูกเก็บในปีก่อน โดยผิวหรือเปลือกด้านนอกของเห็ดจะแตกออกเป็นแฉกๆ คล้ายกลีบดอกไม้
ตรงกลางดอกเห็ดจะมีลักษณะเป็นก้อนกลม บนจุดยอดของก้อนจะพบว่ามีรูซึ่งเป็นรูที่ปลดปล่อยสปอร์เห็ดออกมา
เห็ดในระยะนี้ไม่ใช้รับประทานเพราะว่าจะเหนียวมาก
ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดเผาะ
เส้นใยเห็ดเผาะจะมีสีน้ำตาลอ่อนเมื่อเพาะเลี้ยงในอาหาร
PDA อาหารส่วนที่เส้นใยเจริญเติบโตอยู่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ คล้ายๆ
กับการใช้อาหาร PDA ในเห็ดหูหนู ในสภาพธรรมชาติในบริเวณที่พบดอกเห็ดก็พบว่าเส้นในมีสีนพ้ตาลอ่อนเมื่อเกาะกลุ่มกีนมากๆ
มองดูคล้ายรากฝอยของพวกหญ้า เมื่อนำไปตรวจเช็คด้วย กล้องจุลทรรนศ์ จะพบ Clamp
connection อย่างชัดเจน
ดอกเห็ดจะมีรูปร่างกลมแป้นไม่มีก่านดอก ผิวเรียบ เมื่ออ่อนอยู่จะมีสีขาว บางสายพันธุ์แม้ว่าจะแก่แล้วก็ยังมีสีขาว
บางสายพันธุ์จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน เมื่อถูกน้ำจะมีลักษณะอมน้ำและสีคล้ำขึ้น ขนาด
ของเห็ดจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีตั้งแต่ 1 3 เซนติเมตร
เห็ดเผาะมีเปลือก (peridium) 2 ชั้น ชั้นชอก (exoperidium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
2-3 ชั้น ผนึกติดกัน เนื้อเยื่อชั้นที่มีความหนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร เมื่อดอกเห็ดแก่ก็จะเหนี่ยวและแข็งขึ้น
ในที่สุดก็จะแตกออกเป็นแฉกๆประมาณ3-4แฉก โดยจะแตกเป็นรอยยาวลงไปจนเกือบถึงฐานของดอก
ทำให้ดูคล้ายกลีบดอกไม้ เผยให้เห็นเปลือกหุ้มดอกชั้นใน (endoperidium)ซึ่งจะแยกออกจากชั้นนอกเมื่อเห็ดแก่มีลักษณะเป็นก้อนกลม
สีน้ำตาลอ่อนตั้งอยู่กลางดอกเห็ด มีผิวเรียบ ภายในบรรจุสปอร์ของดอกเห็ดไว้เต็ม
เมื่อผิวชั้นนอกแยกออกด้านบนของผิวชั้นในก็จะเกิดรูซึ่งเกิดจากแรงอัดที่เกิดขึ้นภายในดอกเห็ดเพื่อปลดปล่อยสปอร์ออกมา
สปอร์ของเห็ดเผาะมีรูปร่างกลม สีน้ำตาล มีหนามหยาบๆอยู่โดยรอบ ขนาดประมาณ 6 -/-
6 ไมครอน ไม่มี collumella ไม่มีเส้นใยหรือก้านสปอร์ ซึ่งอาจจะสลายตัวไปก่อนที่ดอกเห็ดจะแก่
วิธีการวิจัย
การวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRDมี4 replication 5treatments
1. เตรียมอาหารวุ้นทั้ง 5 สูตร คือ
สูตรอาหาร PDA
มันฝรั่ง 200 กรัม
น้ำตาล Dextrose 20 กรัม
วุ้น 17 กรัม
น้ำกลั่น 1,000 ซีซี
สูตรอาหาร PDAY
มันฝรั่ง 200 กรัม
น้ำตาล Dextrose 20 กรัม
วุ้น 17 กรัม
Yeast extracted 5 กรัม
น้ำกลั่น 1,000 ซีซี
สูตรอาหาร Vegetable Agar
ผัก 8 ชนิด (คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง มะเขือเทศ
แครอท หัวผักกาด ชนิดละ 25 กรัม) 200 กรัม
น้ำตาล Dextrose 20 กรัม
วุ้น 17 กรัม
น้ำกลั่น 1000 ซีซี
สูตรอาหาร Malt Agar
Malt Agar 45 กรัม
น้ำกลั่น 1000 ซีซี
สูตรอาหาร Nestum Agar
Nestum 40 กรัม
น้ำตาล Dextrose 20 กรัม
วุ้น 17 กรัม
น้ำกลั่น 1000 ซีซี
2. บรรจุอาหารวุ้นลงในขวดแบนให้สูงจากก้นขวด 2 ซม. อุดจุกสำลีและปิดทับด้วยกระดาษ
นำไปนึ่งฆ่าเชื้อโดยใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว นาน 20 นาที แล้วนำไปทำ Slant
3. เขี่ยเชื้อเห็ดที่ทำ Stock ไว้จากการทำ spore culture โดยใช้ Cork borror
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. เจาะเอาเส้นใยเฉพาะวงนอกสุดนำไปวางไว้ในขวดที่ทำ
slant ในอาหารวุ้นชนิดต่างๆ
4. นำขวดอาหารที่ทำการเขี่ยเชื้อแล้วไปเก็บไว้ในห้องบ่มเชื้ออุณหภูมิปกติ ที่สว่าง
1 ชุด และที่มืด 1 ชุด
5. ทำการวัดผลการเจริญของเส้นใย
อุณหภูมิในห้องบ่มเชื้อเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 70 % เวลาและสถานที่
ได้ทำการทดลองเมื่อเดือน มิถุนายม กันยายน 2526 ณ. ห้องปฏิบัติการโรคพืชสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง
อุปกรณ์
1. เชื้อเห็ดเผาะ
2. ขวดแบนขนาด 375 ซีซี
3. cork borror
4. อาหารวุ้น 5 สูตร
ผลการทดลองและวิจารณ์
จากการวัดอัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดเผาะ
โดยวัดการเจริญของโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อทั้ง 5 สูตร หลังจากทำการปลูกเชื้อ
30 วัน ผลปรากฏว่าอาหารสูตร PDA เป็นสูตรอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดเผาะดีที่สุด
โดยเส้นใยของเห็ดเผาะสามารถเจริญเติบโตให้โคโลนีของเชื้อรามีค่าเฉลี่ยของเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด
เมื่อเทียบกับอาหารสูตรอื่นๆ และความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น
99% (P= 0.01) รองลงมาได้แก่ PDAY และ Vegetable Agar
จากการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดเผาะในที่มืดพบว่าใน PDA นั้น ไม่มีความแตกต่างกัน
PDAY และ Vegetable Agar นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญย่างและเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะในที่สว่างหรือที่มืด
PDAY และ Vegetable Agar ไม่มีความแตกต่างกันเลย