...ข้อมูลส่วนตัวของปลาหางนกยูง...

ชื่อไทย ปลาหางนกยูง
ชื่อสามัญ Guppy
ชื่อวิทยาศาสตร์ Poecilia reticulata
ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่มีแหล่งกำเนิด ในทวีปอเมริกา
แถวเวเนซูเอลา บลาซิลตอนเหนือ กัวนา
รูปร่างลักษณะ ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่สวยงามมากชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมเลี้ยงและรู้จักกันแพร่หลาย ประเทศไทยเคยสั่งนำเข้ามา เพื่อกำจัดยุงเมื่อหลายปีมาแล้ว สีสันของปลาหางนกยูง จัดได้ว่า เป็นอันดับหนึ่งลักษณะเด่นอยู่ที่แพนหาง ที่มีลวดลายสวยงามหลายๆ แบบ ปลาหางนกยูงเพศผู้มีแพนหาง ใหญ่และสีเข้มจัดกว่าตัวเมีย ปลาตัวเมียหางเล็ก สีซีด และท้องอูมอยู่ตลอดเวลา ปลาหางนกยูงออกลูกเป็นตัว ครั้งหนึ่งจำนวนไม่มากนัก แต่มีระยะการออกลูกที่สม่ำเสมอ
อุปนิสัย ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารง่ายและสะดวก นักเลี้ยงปลาที่ค่อนข้างไม่ เวลาดูแลเอาใจใส่ตู้ปลามากนัก น่าจะให้ความสนใจในปลาชนิดนี้ และเมื่อเลี้ยงไปไม่ นานนัก ก็จะออกลูกภายในตู้กระจกนั้นเอง

การเลี้ยงปลาหางนกยูง...

ปลาหางนกยูง เป็นปลาที่รู้จักกันดีและเลี้ยงกันมาแพร่หลายมานานแล้ว แม้แต่ทางยุโรปก็รู้จักนักเลี้ยงปลาตู้ก็ รู้จักปลาหางนกยูงมามากกว่า 50 ปีแล้ว ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่มีสีสันสวยงามราคาไม่แพง เลี้ยงง่าย แพร่พันธุ์ได้ง่าย และอาจกล่าวได้ว่า ในบรรดา ปลาเลี้ยงสวยงามที่เป็นปลาเขตร้อนนั้น ปลาหาง นกยูงมีจำนวนมากที่สุด..ครับ. เคยมีนักเลี้ยงปลาตู้ได้ทดลองเลี้ยงปลาหางนกยูงคู่หนึ่งด้วยการเลี้ยงเป็นอย่างดีและถูกวิธีตาม ธรรมชาติอย่างที่สุด ปรากฏว่า ภายในระยะเวลา 2 ปี ปลาหางนกยูงที่เลี้ยงไว้นั้น ออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ได้ถึง 3 ล้านตัว นี่คือเรื่องจริง ทั้งนี้เนื่องจาก ปลาหางนกยูงมีอัตราการแพร่พันธุ์ ที่สูงมาก แต่พ่อและแม่ปลามักจะกินลูกอ่อน หรือมิเช่นนั้นปลาที่เล็กก็ตกเป็นเหยื่อของปลาที่ใหญ่กว่า นอกจากนี้ปลาหางนกยูงยังมีศัตรูตามธรรมชาติ อีกหลายอย่างด้วย เช่น อุณหภูมิ อาหาร และโรค แต่ถ้าเราเลี้ยงดีๆ ปลาเค้าก็ไม่ตาย.

ปลาหางนกยูงบางสายพันธุ์ เมื่ออาหารที่กินเข้าไปเป็นพิษหรืออุณหถูมิของน้ำเปลี่ยนไป ก็จะพา กันตายโดยไม่มีทางช่วยเหลือเลย ปลาหางนกยูง ถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่ออกลูกได้มาก แต่ลูกปลาก็ตายเป็น ส่วนมากเช่นกัน ตามปรกติแม่ปลาหางนกยูงจะออกลูกทุกๆ 28 วัน และในลูกครอกหนึ่งๆ จะมีเพียง 2-3 ตัวเท่านั้น ที่สามารถถ่ายทอดลักษณะเด่นของพ่อแม่ปลาได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนตามสายพันธุ์
ปลาหางนกยูงตัวผู้จะมีครีบหางยาว สีสันสดสวยกว่าตัวเมีย แต่ตัวจะเล็กกว่า ตัวหนึ่งๆ จะมีสี ไม่ซ้ำกัน เมื่อว่ายอยุ่ในน้ำหางจะโบกไปมาเหมือนแพรสีสด จึงนิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกันเป็นฝูง และบาง คนก็เรียกปลาหางนกยูงว่า " ปลาสายรุ้ง "
ปลาหางนกยูงตัวผู้เมื่อพบปลาตัวเมีย จะว่ายน้ำไล่พร้อมกับกางครีบออกโบกพัดไปมา เพื่อให้ตัว เมียเห็นสีที่สวยงามของมัน ปลาหางนกยูงตัวเมียสีจะคล้ายคลึงกัน คือสีจะไม่สดเท่าตัวผู้ ตามปรกติ ตัว เมียจะสีจางๆ เป็นสีเงินแกมเขียว ลำตัวจะหนาและยาวกว่าตัวผู้ ตัวเมียที่โตเต็มที่จะยาวประมาณ 1 นิ้ว. ปลาหางนกยูงมีหลากหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์จะมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ รูปทรงของหางและสี ลวดลายบนลำตัว บางชนิดมีหางสามแฉก บางชนิดหางจะกลมเป็นรูปพัด หรือรูปสี่เหลี่ยม แตเอย่างไรก็ ตามเค้าก็คือปลาหางนกยูง การที่บางคนเชื่อว่า ปลาหางนกยูงพันธุ์ต่างๆ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลา หางดาบกับปลาหางนกยูงพื้นบ้านนั้นเป็นความเชื้อที่ไ่ม่ถูกต้อง ปลาทั้งสองชนิดไม่สามารถผสมกันได้..ครับ. โดยเฉลี่ยแล้วแม่ปลาหางตัวหนึ่งๆ จะออกลูก 10 - 15 ครอก แต่ตัวที่ทำสถิติยอดเยี่ยมเท่าที่เคยมี การบันทึกกันไว้ชั่วชีวิตของแม่ปลา สามารถออกลูกได้ถึง 126 ครอก
ลูกปลาหางนกยูงพอมีอายุได้ 8 เดือน ก็จะโตเต็มที่ พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้แล้วครับ
การที่จะสังเกตว่า แม่ปลาท้องแก่หรือไม่ ให้ดูที่ท้องของแม่ปลา ถ้ามีปานดำปรากฏขึ้นที่ท้อง และ ปานนี้จะยิ่งดำขึ้นทุกวัน นอกจากนเมื่อปลาท้องแก่ แม่ปลาจะว่ายน้ำช้ากว่าปรกติ ถ้าอยู่รวมกันเป็นฝูง ก็จะ ปลาตัอื่นรุมทำร้าย เพื่อกินลูกในท้อง จึงจำเป็นที่ต้องแยกแม่ปลาที่ท้องแก่ออกจากฝูง และเมื่อแม่ปลาออก ลูกหมดแล้ว ก็ต้องรีบย้ายแม่ปลาออกจากลูก เพื่อป้องกันมิให้แม่ปลากินลูกปลานั้นเอง ...ครับ.. แม่ปลาที่เพิ่งออกลูกเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ควรปล่อยลงไปรวมกันกับปลาในฝูง ควรเก็บแม่ปลาไว้เพื่อพัก ฟื้นก่อนสักพัก แล้วเมื่เห็นว่าแม่ปลาแข็งแรงดีแล้ว ค่อยนำปล่อยลงฝูงตามเดิม ที่ต้องทำดังนี้เนื่องจาก แม่ ปลาที่ออกลูกมาใหม่ๆ ถ้านำไปปล่อยในฝูงแล้ว ก็จะถูกปลาตัวผู้ไล่ แม่ปลาที่อ่อนเพลียมาจากการออกลูก แล้ว เมื่อโดนรบกวนมากๆ เข้าอีก ก็จะเหนื่อย อาจทำให้ถึงตายได้ครับ. มีการศึกษาเรื่องเพศของปลาหางนกยูงแล้วพบว่า ปลาหางนกยูงตัวผู้จะพยายามผสมพันธุ์กับปลา หางนกยูงตัวเมียที่เข้าฝูงมาใหม่ๆ เสมอ ลูกปลาหางนกยูง เมื่อออกจากท้องแม่ ก็สามารถหาอาหารกินเองได้ แต่อาหารของลูกปลาควรเป็น อาหารที่ละเอียดกว่าปลาตัวใหญ่ อาหารที่นับว่าเหมาะกับลูกปลาก็คือ " ไรน้ำ "

อาหารของปลาหางนกยูง คือ ผักกาดหอมหั่นฝอยจนละเอียด แต่ถ้าในบ่อหรือในตู้มีตะไคร่น้ำอยู่ แล้ว ปลาก็จะกินตะไคร่น้ำแทน นอกจากนี้ปลาหางนกยูงยังชอบกินปลาแห้งป่นละเอียด ไรน้ำ ลูกน้ำและ หนอนแดง ในอาหารไม่ควรให้อาหารอย่างเดียวเป็นประจำ ควรมีการเปลี่ยนอาหารอื่นบ้าง ซึ่งปลาหางนกยูง ก็เหมือนกับคนเรา เพราะคนเรากินอาหารซ้ำๆ ก็เป็นเหมือนกัน ใช่มั้ยครับ..??...อ้อ!!!...ลืมบอกไป การให้ อาหารปลาหางนกยูงนั้น ควรให้พอกับความต้องการของปลา ซึ่งก็คือ ควรให้แต่น้อยๆ พอเหมาะ และที่ สำคัญ อาหารที่ให้ปลาหางนกยูงกินนั้น ต้องให้กินหมดภายใน 10 นาที ส่วนอาหารที่เหลือให้ตักออก เนื่อง จากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ แล้วการให้อาหารครั้งต่อไปก็ลดปริมาณลงให้เหมาะสมกับจำนวนปลานะครับ...

ที่มา http://www.thai.net/arowana