คำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้า

      ไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อชีวิตอย่างแยกไม่ออก แต่ในขณะเดียวกันก็มีอันตราย ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจและรู้พื้นฐานทางด้านความปลอดภัยในการใช้เพราะ ความประมาทเพียงเล็กน้อยอาจนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างคาดไม่ถึงได้ โดยควรทำการศึกษาและสังเกตุอุปกรณ์ดังต่อไปนี้อย่างสม่ำเสมอ
1.สายไฟฟ้า                         2.  เตารีดไฟฟ้า
3.หลอดไฟฟ้า                      4.โทรทัศน์
5. สวิตช์ไฟฟ้า                      6.ตู้เย็น,ตู้แช่
7.สวิตช์และเต้ารับไฟฟ้า        8.เครื่องซักผ้า
    9..โคมไฟสนาม

สายไฟฟ้า
           สายไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคารจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้ชนิดของสายไฟฟ้าที่ถูกต้อง ไม่นำสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านไฟใช้ภายนอกบ้านเพราะอุปกรณ์เหล่ารี้ไม่สามารถทนต่อ สภาพแวดล้อมภายนอกได้ดีจะเกิดชำรุดเสียหายและเกิดอันตรายได้ง่าย
ในการเดินสายไฟหรือลากลากสายไฟไปใช้งานภายนอกอาคารเป็นการชั่วคราวหรือถาวร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้าต้องเป็นชนิดกันน้ำและทนต่อแสงแดดแล้ว วงจรไฟฟ้านั้นต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วยจึงจะปลอดภัย
หัดสังเกตุสี กลิ่น และอุณหภูมิของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ามีการผิดปกติหรือไม่ เช่น สายไฟหรือปลั๊กร้อนแสดง ว่าขั้วต่อหลวมหรือมีการใช้ไฟเกินกำลัง
           ห้ามยื่นแขนหรือวัสดุออกนอกหน้าต่างเข้าไปใกล้บริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน รวมทั้งห้ามฉีด ราดหรือเทน้ำใดๆ เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงโดยเด็ดขาย

หลอดไฟฟ้า
         ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีมาตราฐานรัรอง ส่วนประกอบที่เป็นพลาสติก เช่น ขาหลอดต้องเป็นชนิดที่ติดไฟยาก ขณะเปลี่ยน หลอดไฟฟ้าจะต้องตรวจที่ขาหลอด หากขาหลอดถ่างออก เมื่อใส่หลอดแล้วหลวมหรือมีรอยไหม้จะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที
สวิตช์ไฟฟ้า
         ห้าม เปิด-ปิด สวิตช์ไฟฟ้าในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงหนือทินเน่อร์ผสมสี

สวิตช์และเต้ารับไฟฟ้า
         ควรติดตั้งเต้ารับชนิดมีขั้วสายดิน เช่น เต้ารับแบบเป็นหลุมไว้ภายในบ้าน เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีจุดต่อสายดิน หรือมีเครื่องหมายสายดิน กำกับอยู่ และควรติดตั้งสวิตช์และเต้ารับในตำแหน่งที่ปลอดภัย เช่น สูงพ้นมือเด็กเล็ก หรือ ห่างจากสภาพที่อาจเกิดอันตรายหรือน้ำท่วมถึงได้ และวงจรไฟฟ้าที่มีน้ำท่วมถึงควรแยกออกต่างหากให้สามารถปลดออก ได้ทันที
สวิตช์หรือคัตเอาท์
         ขณะที่ปลดเมนสวิตช์หรือคัตเอ้าท์เพื่อซ่อมแซม ให้เขียนป้ายเตือนว่า "ห้ามสับไฟ ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน" แขวนไว้ที่ เมนสวิตช์ทุกครั้ง
เตารีดไฟฟ้า
         ก่อนที่จะเสียบปลั๊กไฟฟ้า ควรคลี่สายเต้าเสียบ (ปลั๊ก) ให้ตรงดีก่อนเพราะถ้าสายบิดเป็นเกลียวหรือขดงอในขณะที่ ลากถูสายไปมา สายจะบีบรัดตัวเอง ทำให้เปลือกสายแตกชำรุดได้ง่าย สายทองแดงจะทะลุออกมาเป็นอันตรายได้
โทรทัศน์
         ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง และห่างจากแนวสายไฟแรงสูง กะระยะว่าหากเสาอากาศล้ม หรือหักลงมา จะต้องไม่ถูกกับสายไฟฟ้าแรงสูง
ตู้เย็น ตู้แช่
         ควรจะต่อสายที่โครงโลหะกลับไปที่แผงสวิตช์แล้วต่อลงดิน โดยผ่านเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีขั้วสายดิน หลอดไฟภายในตู้เย็น ตู้แช่ที่ขาดและยังไม่ได้เปลี่ยน ไม่ควรเอาหลอดออกเหลือแต่กระจุ๊บไฟว่างเปล่าเพราะจะเป็นอันตรายได้หากนิ้วมือไป สัมผัสส่วนของกระจุ๊บไฟที่มีไฟฟ้าไหลอยู่
เครื่องซักผ้า
         เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่กับน้ำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเต้าเสียบ-เต้ารับ ควรเป็นชนิดที่มีขั้วสายดินและจุดต่อลงดิน ควรต่อลงดินที่แผงสวิตช์ เพื่อความปลอดภับของผู้ใช้งาน และถ้าเครื่องเปียกน้ำควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
โคมไฟสนาม
         สายไฟฟ้าที่ใช้จะต้องเป็นสายสำหรับเดินภายนอกอาคาร และต้องหมั่นดูแลตรวจสอบสภาพเปลือกสายให้ดีอยู่เสมอ ตัวเสาโคมควรต่อสายกลับไปที่แผงสวิตช์แล้วต่อลงดิน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน เมื่อมีการรั่วเกิดขึ้น เพราะเด็กๆ อาจไปสัมผัสทำให้ได้รับอันตรายได้

สิ่งพึงระวัง

ห้องน้ำ
          
ไม่ควรติดตั้งสวิตช์ เต้ารับไว้ภายในห้องน้ำ หรือนำอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ภายในห้องน้ำ ยกเว้นหลอดแสงสว่างที่ติดตั้งไว้กับ เพดานสูงที่ผู้ใช้สามารถสัมผัสได้โดยง่าย หลอดไฟฟ้าในห้องน้ำก่อนจะเปลี่ยน ปลดสวิตช์ตัดตอนออกก่อนทุกครั้ง
ฝนตก-ฟ้าคะนอง
         ในขณะที่มีฝนตก-ฟ้าคะนอง พยายามหลีกเลี่ยงจากการยืนใต้ต้นไม้ ใกล้เสาไฟฟ้า หรืออยู่ในแนวสายไฟฟ้าแรงสูง
ตัวเปียก
         เมื่อร่างกายเปียกชื้น กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านร่างกายได้สะดวก ดังนั้นหากร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะอุปกรณ์ไฟฟ้า มิฉะนั้นอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดเป็นอันตรายได้
การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
         อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำไว้ไม่เรียบร้อยย่อมมีอันตราย เช่น การขันสกรู ข้อต่อสายไม่แน่นใช้ตัวต่อสายและติดตั้งที่ไม่ได้ มาตรฐาน เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานจุดต่อนั้นจะหลวม ทำให้เกิดประกายไฟที่จุดต่อนั้น และเกิดไฟไหม้ได้
ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกวิธี
          เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ห้ามใช้เต้าเสียบที่มีสภาพชำรุด และต้องไม่ใช้ปลายสายเปลือยเสียบในเต้ารับ หรือไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดจากเต้ารับเดียวกัน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นอิเลคโทรนิคส์ ควรเว้นช่องว่างให้มี การระบายอากาศได้สะดวก
หลีกเลี่ยงการเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้า
           ไม่ใช้ไม้หรือโลหะใดๆ ไปเขี่ยว่าวที่ติดอยู่กับสาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
ไม่ใช้สายป่านที่เป็นโลหะอันเป็นสื่อไฟฟ้าแทนสายป่านชักว่าว
ไม่ใช้ป่านคมชักว่าว เพราะป่านคมจะบาดสายไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นว่าวได้
อย่าทำลายระบบไฟฟ้าในที่สาธารณะ
           อย่าเข้าใกล้สิ่งสาธารณะที่มีไฟฟ้าบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงเป็นอันขาด อย่าจับต้องสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เห็นว่า อยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ฝาปิดกล่องฟิวส์ที่โคนเสาไฟฟ้าสาธารณะ ระบบสายดิน แผงสวิตช์ท่อร้อยสายไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้า เป็นต้น

คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยจากการใช้ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย

          คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยจากการใช้ไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยได้รับทราบคำแนะนำและข้อปฏิบัติต่างในการใช้งานไฟฟ้าให้ปลอดภัย

 

คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันอัคคีภัย

คำแนะนำเกี่ยวกับสายไฟฟ้า
          คำแนะนำเกี่ยวกับเลือกและการใช้สายไฟฟ้า ควรทำตามคำแนะนำดังนี้
     เลือกใช้สายไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานจากสำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม      กระทรวงอุตสาหกรรม (มีตรา มอก.) และเดินสายไฟฟ้าโดยช่างไฟฟ้าที่ประสบการณ์สูง
     เลือกใช้สายไฟฟ้าที่เหมาะสมกับขนาดการใช้ไฟฟ้า และวิธีการเดินสายไฟฟ้าเช่นเดินลอยบนลูกถ้วย      เดินสายไฟฟ้าโดยใช้เข็มขัดรัดสาย เดินสายไฟฟ้าในท่อโลหะ หรืออโลหะ เป็นต้น หากมีสภาพเปลือกนอกของสายไฟฟ้าชำรุด ให้เปลี่ยนสายใหม่แทนสายไฟฟ้าที่ชำรุด
     หลีกเลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้า ในการเดินสายไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น หากมีความจำเป็นต้องต่อสายไฟฟ้า ก็ต้องเลือกอุปกรณ์ การต่อสายไฟฟ้าให้ถูกต้อง และหมั่นตรวจสอบจุดต่อสายไฟฟ้าอยู่เป็นประจำปีละ 1-2 ครั้ง
     หลีกเลี่ยงการใช้สายไฟฟ้าเต็มพิกัด ขนาดกระแสไฟฟ้าของสายไฟฟ้า
     ตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ ปีละ 1-2 ครั้งโดยช่างไฟฟ้าที่มีประสบการณ์
     ควรวางแผนการตรวจสอบ เพื่อเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่ ในกรณีที่พบว่าเปลือกสายมีสภาพผิดปกติ เช่น แตกลายงา รอยไหม้ ชำรุดหรือหลอมตัวเนื่องจากความร้อน
     หากมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ให้เหมาะสมหากไม่เพียงพอก็ให้เปลี่ยนสายไฟ ที่มีขนาดเหมาะสม กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก่อนการใช้งานทุกครั้ง
     หากตรวจพบว่าสายไฟฟ้าหรือจุดต่อสายขณะใช้งานอยู่ร้อนผิดปกติขอให้เร่งตรวจสอบหาสาเหตุดังกล่าวเช่น อาจเกิดจากมีการใช้ ไฟฟ้าเกินกับขนาดกระแสพิกัดของสายไฟฟ้า หรือจุดต่อสายหลวมจนทำให้เกิดความร้อน เป็นต้น

คำแนะนำเกี่ยวเครื่องใช้ไฟฟ้า

คำแนะนำเกี่ยวกับเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรทำตามคำแนะนำดังนี้

     เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการอนุญาติแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม (มีตรา มอก.) หรือมาตรฐานอื่นที่สากลยอมรับ
     เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยคำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่ายึดราคาถูกที่สุดเป็นเกณฑ์ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
     ตรวจเต้าเสียบที่ประกอบมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับเต้ารับที่ติดตั้งไว้ หากพบว่าเต้าเสียบหลวมก็ให้ พิจารณาเปลี่ยนเต้าเสียบหรือเต้ารับใหม่ ให้เหมาะสมจนเกิดความแน่นเพียงพอเมื่อมีการใช้งาน
     ในการตรวจสอบเต้าเสียบและสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เป็นประจำก่อนการใช้งาน หากเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะใช้งานมีเสียงผิดปกติหรือเกิดความร้อนมากให้หยุดการใช้งาน และส่งให้ช่างไฟฟ้าที่มีประสบการณ์      ซ่อมแซมให้ดีก่อนนำกลับไปใช้งาน ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธีก่อนการใช้งาน
     เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่เกิดความร้อนอยู่เป็นประจำ ควรจัดหาวัสดุที่ไม่ติดไฟเช่น กระเบื้อง หินอ่อน เป็นต้น      ทำเป็นพื้นรองเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะใช้งานทุกครั้ง
     ดวงโคมธรรมดาหรือหลอดอินแคนเดสเซนต์ ควรอยู่ห่างจากวัสดุที่จะเป็นเชื้อเพลิงได้
     ดวงโคมฟลูออเรสเซนต์ควรตรวจสอบขารับหลอดและบัลลาสต์อยูเป็นประจำเพราะอาจเกิดความร้อน จนทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
     หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดใกล้สถานที่เก็บวัตถุไวไฟ
     หลีกเลี่ยงการใช้เต้ารับชนิดหลายช่องทำเป็นเต้าเสียบ
     เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟที่เต้ารับ ก่อนเสียบเต้าเสียบให้ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ก่อน

คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันอัคคีภัย

     เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องต้มน้ำร้อนไฟฟ้า ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ ควรจัดให้ มีสวิตช์ตัดตอนอัตโนมัติป้องกันกระแสเกินที่เหมาะสมควบคุมการใช้งานไว้ด้วย
     หากมีน้ำเข้าไปในเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยสาเหตุใดก็ตาม ให้งดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทันที
จุดต่อสายไฟฟ้าหรือตลับต่อสายไฟฟ้าที่เป็นพลาสติก ขอให้ติดตั้งห่างจากสถานที่เก็บวัตถุไวไฟหรือวัสดุใช้งานอื่นๆ ที่เป็นเชื้อเพลิงเช่น ผ้าม่านเป็นต้น และจุดต่อสายไฟฟ้าต้องพันด้วยผ้าเทปพันสายไฟ
สวิตช์ปิด-เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและเต้ารับจะต้องมีสภาพไม่ชำรุดและมีการยึดติดแน่นอยู่กับที่ หากพบว่ามีความร้อน เกิดขึ้นในขณะที่มีการใช้ไฟฟ้า ให้ตรวจสอบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนทันที
หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าให้มีสภาพปกติทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน และเมื่อเลิก ใช้งานแล้วควรถอดเต้าเสียบออกจากเต้ารับทุกครั้ง