|
|
การเคลื่อนไหวของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง |
|
|
- การเคลื่อนไหวของมนุษย์
- ในการเคลื่อนไหวของคนต้องอาศัยระบบต่างๆดังนี้
-ระบบโครงกระดูกมีลักษณะเป็นข้อต่อและเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ
-ระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งทำงานเป็นแบบแอนตาโกลิซึม
(antagonism)
-ระบบประสาท ช่วยส่งกระแสความรู้สึกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวตามทิศทางที่ต้องการ
ระบบโครงกระดูก กระดูกมีลักษณะเป็นข้อต่อและมีกล้ามเนื้อมายึดเกาะโดยอาศัยเอ็นช่วยยึดมี
2 ชนิด คือ
1. เอ็นที่ยึดกระดูกกับกระดูกเรียกว่า
ลิกาเมนต์ (ligament)
2. เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อเรียกว่า
เทนดอน (tendon)
- ระบบโครงกระดูกประกอบด้วย
ดังรูป
|
|
|
|
ภาพแสดงระบบกระดูกของมนุษย์ |
|
- 1.
กระดูกแกนกลาง (axial skeleton)
-
หมายถึง โครงกระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆของร่างกาย
ประกอบด้วย
-กระดูกกระโหลกศรีษะ
(skull)
-กระดูกสันหลัง (vertebrae)
-กระดูกหน้าอก (sternum)
- 2.
กระดูกระยางค์ (appendicular skeleton)
-
หมายถึง โครงกระดูกที่อยู่รอบนอกของกระดูกแกนกลาง
ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนขา และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขน
ขา โดยตรง มี 126 ชิ้น ได้แก่
-กระดูกสะบัก
-กระดูกไหปลาร้า
-กระดูกขา
-กระดูกแขน
ระบบโครงกระดูกมีความสำคัญ
คือ
1. เป็นโครงร่างค้ำจุน
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ
- 3. ป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ
- ข้อต่อ
-
เป็นตำแหน่งที่กระดูก 2 ชิ้นขึ้นมาเชื่อมต่อกัน
มี 2 ชนิด คือ
1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (movable joint)
เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้เป็นอิสระอาจเคลื่อนที่ได้รอบตัว
หรือเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย แล้วแต่ชนิดของมัน เช่น ข้อต่อของกระดูกข้อมือ
ข้อเท้า แขน ต้นขา เป็นต้น |
|
|
|
ภาพแสดงลักษณะของข้อต่อแต่ละชนิด
|
|
2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (immovable)
เช่น ข้อต่อของกระโหลกศรีษะ เรียกว่า suture เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้
แต่แข็งแรงมาก |
|
|
|
ภาพแสดงลักษณะของข้อต่อแต่ละชนิด |
|
|
|