สันธาน
คำสันธาน คือคำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ, ประโยคกับประโยค, ข้อความกับข้อความ, หรือเชื่อมความให้สละสลวย
ตัวอย่างเช่น
๑. เชื่อมคำกับคำ
๑) เขาพบครู และ นักเรียน
๒) บิดามารดา และ บุตรไปเที่ยว
๓) นายดำ กับ นายแดงเป็นเพื่อนกัน
๔) เขาเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ และ
ปลา
๒.
เชื่อมประโยคกับประโยค
๑) นักเรียนมาหาครู และ ผู้ปกครองก็มาด้วย
๒) เขาชอบแกงเผ็ด แต่ ฉันชอบแกงจืด
๓) เพราะ เขาขยัน เขา จึง
สอบไล่ได้
๔) เขามาทำงาน หรือ เขามาเล่น
๓.
เชื่อมข้อความกับข้อความ
๑) ชาวต่างชาติเขาเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียร ไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
เขาจนร่ำรวยจนจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้น
ขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิด
เพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินไทยไว้
๒) ขึ้นชื่อว่าทรัพย์ย่อมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา และมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
แต่
เราจะได้มา ต้องอาศัยความพยายาม เหตุฉะนั้น
ความพยายามจึงเป็นบ่อเกิดของการได้มาซึ่งทรัพย์
แท้จริง นักปราชญ์ท่านได้วางคติพจน์ไว้แต่โบราณแล้วว่า
มีความพยายามอยู่ที่ไหน ย่อมมีความสำเร็จอยู่ที่นั่น
๔. เชื่อมความให้สละสลวย
๑) เขา ก็
เป็นคนสำคัญเหมือนกัน
๒) อันว่า
ทรัพย์สมบัตินั้น เป็นแต่เพียงของนอกกาย ตายแล้ว
ก็ เอาไปไม่ได้
๓) อย่างไรก็ตาม
ฉันต้องไปกับท่านคนหนึ่งละ
ชนิดของสันธาน
สันธาน แบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ ๓ ชนิด คือ
๑) สันธานที่เชื่อมให้เป็นอเนกกรรถประโยค
๒) สันธานที่เชื่อมให้เป็นสังกรประโยค
๓) สันธานที่เชื่อมให้เนื้อความเด่น
๑. สันธานที่เชื่อมให้เป็นอเนกกรรถประโยค
แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด
๑. เชื่อมความที่คล้อยตามกัน เช่น
๑) พ่อและ แม่ทำงานเพื่อลูก
๒) เขาเช็ดตู้ และ จัดหนังสืออยู่ในห้อง
๓) พอ ฉันเขียนหนังสือแล้วฉัน
ก็นอน
๔) ถ้า เขามีความสุข ฉัน ก็
ยินดีด้วย
คำสันธานที่ใช้ : ก็, กับ, และ, จึง, เช่น, ว่า, ให้, คือ, ทั้ง, ครั้น ก็, ครั้น จึง, เมื่อ ก็, ทั้ง ก็, ทั้ง แล, ก็คือ, ก็ดี, ก็ได้, เท่ากับ ฯลฯ
๒. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน
๑) เขาอยากมีเงิน แต่ เขาไม่ทำงาน
๒) กว่า เขาจะไปถึง เขา ก็
หมดกำลัง
๓) ถึง เขาเป็นนักมวย ฉัน ก็ไม่กลัวเขา
คำสันธานที่ใช้ : แต่, แต่ว่า, แต่ทว่า, กว่า
ก็, ถึง
ก็ ฯลฯ
๓.
เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น
๑) เพราะ
เขาทำสวนครัว เขา จึง
ไม่อดผัก
๒) ใบไม่ร่วง เพราะฉะนั้น สนาม
จึงสกปรก
๓) เขามีไหวพริบ เขา จึง ปลอดภัย
คำสันธานที่ใช้ : เพราะ, ด้วย, จึง, ฉะนั้น, ฉะนี้, ค่าที่, ด้วยว่า, เหตุเพราะ,
เหตุว่า, ฉะนั้น
จึง, เพราะฉะนั้น, เหตุฉะนี้ ฯลฯ
๔. เชื่อมความที่เลือกเอา
เช่น
๑) เขานอน หรือ เขาทำงาน
๒) ท่านต้องทำงาน มิฉะนั้น ฉันจะบังคับท่าน
คำสันธาน : หรือ, ไม่ก็, ไม่เช่นนั้น, มิฉะนั้น, หรือมิฉะนั้น ฯลฯ
๒. สันธานที่เชื่อมให้เป็นสังกรประโยค
แบ่งออกเป็น ๖ ชนิด
๑.
เชื่อมความแสดงลักษณะอาการ เช่น
๑) เขาบอก ให้ ฉันเขียนหนังสือ
๒) เขาพูด ว่า นายดำเป็นทหาร
๓) เขาดุ ทั้ง ๆ
นายแดงนอนหลับ
๒. เชื่อมความแสดงประมาณ
เช่น
๑) เขาพากันมา ตลอดจน คนตัดหญ้าในสวนก็มา
๒) เขาพูดมาก จน คนเหล่านั้นกลับหมด
๓.
เชื่อมความแสดงเวลา
๑) เก็บอาหารไว้ จน หนึ่งปีผ่านไป
๒) เขานอน เมื่อ นาฬิกาตี ๑๑
ที
๔. เชื่อมความแสดงเหตุ
เช่น
๑) น้ำท่วม เพราะ ฝนตก
๒) ต้นไม้โค่น เพราะว่า คนตัด
๕.
เชื่อมความแสดงผล เช่น
๑) พ่อดุ จน ลูกร้องไห้
๒) ลมพัด จน หน้าต่างเปิด
๖. เชื่อมความแสดงเปรียบเทียบ
เช่น
๑) เขาเดินเร็ว เหมือน ม้าวิ่ง
๒) เขาพูดเร็ว ราวกับ แขกพูด
๓) เขาทำได้ดี กว่า นายแดงทำ
๔) เขาเดิน อย่าง ผู้ดีเดิน
๓.
สันธานที่เชื่อมให้เนื้อความเด่น แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
๑. เชื่อมความคนละตอนให้ประสานกัน เช่น
๑) แมว, หมู, และเป็ด เป็นเพื่อนกัน วันหนึ่งแมวกับหมูเป็นคนสร้างที่อาศัย ฝ่าย
เป็ดเห็นเช่นนั้นก็ไปช่วยด้วยความเต็ม
๒) คนดีย่อมมีศีลธรรม มีความขยันหมั่นเพียรเพื่อตั้งตนให้มีฐานะ คนชนิดนี้ควรแก่การสรรเสริญ
อนึ่ง คนที่ความกตัญญู ก็ควรแก่การสรรเสริญ
๒. เชื่อมความให้สละสลวย
๑) อัน ความดีนี้หนามีค่าล้น
ถึงยากจนความดีไม่หนีหาย
๒) อันว่า พราหมณ์เฒ่าเจ้าก็มุ่งหน้าไปหาพระเวสสันดร
๓) ทำไมกับ เรื่องสั้น ๆ เท่านี้
ถึงเรื่องยาวกว่านี้ฉันก็แต่งได้
๔) อย่างไรก็ตาม ฉันจะต้องช่วยเขาให้ได้
๕) อย่างไรก็ดี พรุ่งนี้ขอให้เธอมาหาฉัน
๖) ข้าพเจ้าเชื่อว่า เขา ก็ เป็นสุภาพบุรุษ
๗) ถึงกระนี้ก็ดี เขา ก็
ควรปรึกษาฉันก่อน
การใช้คำสันธาน
คำสันธาน จะเรียงไว้ข้างหน้าคำ,
ข้างหน้าประโยค, ข้างหลังคำ, ข้างหลังประโยค, หรือในระหว่างประโยคก็ได้, บางชนิดจะละไว้ในฐานเข้าใจก็ได้
ตัวอย่าง
หน้าคำ......... : ๑. ฉันเห็นนายดำ และ
นายแดง
............ .........๒. ท่านชอบข้าวสวย
หรือ ข้าวต้ม
หน้าประโยค. : ๑. อย่างไรก็ตาม
ผมจะมาก่อน ๘.๐๐ น. เสมอ
......................๒. อัน
ความดีนั้นใคร ๆ ก็ต้องการ
หลังคำ......... : ๑. คน ก็ตาม
สัตว์ ก็ตาม ต้องการอาหารทั้งนั้น
......................๒. เสื้อ ก็ดี
กางเกง ก็ดี เราควรเก็บให้เป็นที่
หลังประโยค. : ๑. เขาจะมา ก็ดี
เขาจะไม่มา ก็ดี นั่นเป็นเรื่องของเขา
......................๒. เขาจะเป็นใคร ก็ตาม
ฉันยินดีรับรองเขาทั้งนั้น
ระหว่างประโยค : ๑. เขาเดินมา แต่ฉันเดินไป
.........................๒. เขามาลำบาก
เพราะว่า ฝนตกหนัก
คร่อมคำ ..........: ๑. ถึง
เพื่อน ก็
อย่าไว้ใจ
.........................๒. ฉะนั้น
เขา จึง เป็นคนดี
คร่อมประโยค.. : ๑. ถึง
เขาจะมาวันนี้ ก็ ไม่พบฉัน
ละไว้ ...............: ๑. นายดำนายแดงนายขาวไม่มาโรงเรียน
.........................๒. เขาไม่สบายเขาเลยไม่มาหาฉัน
การใช้คำสันธานไม่ต้องประกอบด้วยระเบียบใด ๆ เช่นเดียวกับการใช้บุพบท
วิธีการกระจายสันธาน
การกระจายคำสันธานให้บอกแต่เพียงว่าเป็นคำสันธานเชื่อมคำ
กับคำ
,
เชื่อมประโยค
กับประโยค
, เชื่อมความ
กับความ
, หรือเชื่อมความที่สละสลวย
ตัวอย่าง
.............๑. นายดำ และ
นายแดงเป็นทหาร
และ .......: เป็นสันธานเชื่อมคำนายดำ
กับ นายแดง บอกความตามกัน
.............๒. นายมีเดินมา แต่
นายมาเดินไป
แต่ ........: เป็นสันธาน เชื่อมประโยค นายมีเดินมา
กับประโยค นายมา เดินไป บอกความขัดแย้งกัน
.............๓. เพราะ เขาเป็นคนใจดี คน จึง รักเขามาก
เพราะ
จึง : เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เขาเป็นคนใจดี
กับประโยค คน
รักเขามาก บอกความที่เป็นเหตุผลกัน
.............๔. นายแดงมีเงินมาก เขาให้นายดำผู้เป็นคนใช้ทำงานหนัก
แต่ให้นายดำรับประทานอาหารอย่างเลวๆฝ่ายนายดำเป็นคนดี มิได้ปริปากบ่นแม้แต่คำเดียว
แต่ .........: เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เขาให้นายดำผู้เป็นคนใช้ทำงานหนัก
กับประโยคให้นายดำรับประทานอาหารอย่างเลวๆ บอกคามขัดแย้งกัน
ฝ่าย........ : เป็นสันธาน เชื่อมความ นายแดงมีเงินมาก....
ให้นายดำรับประทานอาหารอย่างเลวๆกับความนายดำเป็นคนดีมิได้ปริปากบ่นแม้แต่คำเดียวบอกความคนละตอนให้ประสานกัน
.............๕. อย่างไรก็ตาม วันนี้ฉันต้องไปหาเขา
อย่างไรก็ตาม : เป็นสันธาน เชื่อมความให้สละสลวย