คำกริยา
คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของนามและสรรพนาม หรือแสดงการกระทำของประธานแบ่งออกเป็น
๕ ชนิด คือ
๑.
สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะให้ความสมบูรณ์ครบถ้วน ตามกระแสความ
เช่น
๑) ทหาร ถือ ปืน
๒) คนครัว หุง ข้าว
๓) กสิกร ไถ นา
๔) ชาวป่า ตัด ต้นไม้
๕) พ่อค้า ขาย ของ
จะเห็นได้ว่า คำกริยาในประโยคทั้ง ๕ นั้น ถ้าไม่มีคำ ปืน ข้าว นา ต้นไม้ ของ มาเป็นกรรมรับข้างหลัง
จะไม่ได้ความครบบริบูรณ์
๒.
อกรรมกริยา คือ กริยาที่มีความหมายครบถ้วนในตัวเอง โดยไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความเต็มตามกระแส
เช่น
๑) นักเรียน เดิน ที่ถนน
๒) นก บิน ในอากาศ
๓) เด็ก นั่ง บนเตียง
๔) ครู ยืน ในห้อง
๕) ต้นไม้ โค่น ข้างถนน
หมายเหตุ : สกรรมกริยา จะต้องมีกรรมมารับ จึงจะได้ความสมบูรณ์ ส่วนอกรรมกริยา มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว
แต่ถ้าต้องการให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องมีคำหรือวลีมาขยาย
๓. วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ไม่สำเร็จความหมายในตัวเอง และจะใช้เป็นกริยาของประธานตามลำพังตัวเองก็ไม่ได้ จะต้องมีคำนามหรือ สรรพนามหรือคำวิเศษณ์มาขยาย จึงจะได้ความ กริยาพวกนี้ได้แก่คำว่า เป็น เหมือน เท่า คล้าย คือ เสมือน ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ราวกับ เพียงดัง เปรียบเหมือน อุปมาเหมือน ตัวอย่างเช่น
ก.ใช้คำนามขยาย ๑) นายสะอาด เป็น ครู
๒) รูปร่างของลูกเสือ เหมือน รูปร่างของลูกแมว
๓) ทุเรียน เท่า ขนน
๔) ม้า คล้าย ลา
๕) ตะขาบ คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง
๖) เขา เสมือน นักโทษที่ฆ่าคน
๗) วาจา ดุจ ดอกไม้ที่หวานหอม
๘) รูปร่าง ราวกับ ยักษ์
๙) เขา อุปมาเหมือน สุนัขบ้า
๑๐) คำพูด เปรียบเสมือน เข็ม
๑๑) เศวตฉัตร เพียงดัง ฉัตรแก้วในเมืองสวรรค์
ข.
ใช้คำสรรพนามขยาย ๑) ถ้าเธอ เป็น ฉัน เธอจะรู้สึกอย่างไร ?
๒) เขา เหมือน เธอมากกว่า เหมือน ฉัน
๓) ลูก คล้าย พ่อ
๔) ผู้นั้นแหละ คือ เขาล่ะ
๕) เขา ราวกับ ฉัน
ค. ใช้คำวิเศษณ์ขยาย ๑) เขาพูดอะไร
เป็น จริงไปหมด
๒) ทำได้เช่นนี้ เป็น ดีแน่
๓) มาดี เป็น ดี มาร้าย เป็น ร้าย
๔) ถ้าฉัน เป็น ใหญ่ เป็น โต ฉันจะไม่ลืมท่าน
๕) ถ้าฉันกินได้เช่นนี้ทุกวัน เป็น อ้วนแน่
หมายเหตุ : ๑. คำวิกตรรถกริยา (นอกจากคำ คือ) ถ้าใช้เชื่อมประโยคนับเป็นคำสันธานชนิดเปรียบเทียบ
เช่น
๑) เขาพูด เสมือน เด็กอ่อนสอนพูด
๒) เขาทำงาน เหมือน นายจ้าง
๓) เขาพูดเร็ว ราวกับ แขก
๔) เขาทำงาน ประดุจ เครื่องจักร
๕) เขาเดินเก่ง คล้าย สิงโต
๒. คำวิกตรรถกริยา
เป็น บางทีใช้เป็นคำขยายกริยาข้างหน้าได้อย่างคำวิเศษณ์ เช่น : -
๑) ฉันแปลภาษาอังกฤษ เป็น ภาษาไทย
๒) เขาหัด เป็น ครู
๓) เขาทำงาน เป็น บ้า เป็น หลัง
๔) เขาทำงาน เป็น เขื่อง
๕) เขาหัด เป็น คนขับรถยนต์
๓. คำ เป็น ที่ใช้เป็นคำชนิดกริยาชนิดอื่นหรือ
เป็นคำวิเศษณ์โดยตรงก็มี เช่น :-
ก. เป็นคำกริยา ๑) ทำไมเขาจึง เป็น ขึ้นมาได้ ในเมื่อเขาได้ตายไปสิบสองชั่วโมงแล้ว
๒) เขาไม่ เป็นงานอะไรเสียเลย
ข. เป็นคำวิเศษณ์ ๑) ปลา เป็น ว่ายน้ำได้ ปลาตายว่ายน้ำไม่ได้
๒) เขาพูด เป็น แต่ฉันพูดไม่ เป็น
๔. กริยานุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาชนิดอื่นให้แสดงความหมายออกมา
เป็น กาล มาลา หรือ วาจก ต่างๆ เพราะคำกริยาในภาษาไทยมีรูปคงที่ ไม่เปลี่ยนรูปไปตามกาล
มาลา หรือ วาจก เหมือนภาษาที่มีวิภัตติ ปัจจัย เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาอังกฤษ
เป็นต้น การที่จะรู้ว่าเป็น กาล มาลา หรือ วาจก อะไร นอกจากสังเกตความหมายของรูปประโยคแล้ว
จำเป็นต้องอาศัยคำกริยานุเคราะห์ เป็นเครื่องช่วยด้วย ตัวอย่าง เช่น
ช่วยบอกกาล เช่น ๑) เขา กำลัง ทำงาน (ปัจจุบัน)
๒) เขา ได้ ทำงาน (อดีต)
๓) เขา จะ ทำงาน (อนาคต)
ช่วยบอกมาลา เช่น ๑) เขา คง มาที่ (ศักดิมาลา)
๒) ท่าน จง เชื่อฉัน (อาณัติมาลา)
๓) ชะรอย เขาจะฝันไป (ปริกัลปมาลา)
ค. ช่วยบอกวาจก เช่น ๑) นักโทษ ถูก ผู้คุมจับ (กรรมวาจก)
๒) นักเรียน ถูก ครู ให้ ทำงาน (การิตวาจก)
๓) บิดา ให้ บุตร เขียนหนังสือ (กรรตุวาจก)
คำกริยานุเคราะห์มีอยู่มากชนิดด้วยกัน
จะจำแนกออกเป็นชนิดตามที่ทำหน้าที่ที่บอกกาล มาลา และวาจก ดังต่อไปนี้
ชนิดบอกกาล
๑. บอกอนุตกาล ได้แก่ ย่อม
๒. บอกปัจจุบันกาล ได้แก่ อยู่, ยัง, ยัง อยู่, กำลัง, กำลัง อยู่ เป็นต้น
๓. บอกอดีตกาล ได้แก่คำ ได้, เคย
๔. บอกอนาคตกาล ได้แก่คำ จะ , จัก
๕. บอกกาลสมบูรณ์ ได้แก่คำ แล้ว, เสร็จ
ชนิดบอกมาลา
๑. บอกปริกัลปมาลา ได้แก่คำ ชะรอย , รอย , เห็นจะ , ทีจะ , ท่าจะ
๒. บอกศักดิมาลา ได้แก่คำ คง , คงจะ , ต้อง
๓. บอกอาณัติมาลา ได้แก่คำ จง , จงอย่า , ของจง , ขออย่า , อย่า , อย่าเพิ่ง
, อย่าเพ่อ ,ซิ , นะ , เถอะ , เถิด , เทอญ
ชนิดบอกวาจก
๑. บอกกรรตุวาจก ได้แก่คำ ให้
๒. บอกกรรมวาจก ได้แก่คำ ถูก, ถูก ให้ , ถูกให้
๓. บอกการิตวาจก ได้แก่คำ ถูก, ถูก ให้, ถูกให้