คำนาม
คำนาม คือ คำที่เรียกชื่อสิ่งต่างๆงมีชีวิต เช่น คน หมา แมว และไม่มีชีวิต เช่น ตะปู ปากกา บ้าน ทั้งเป็นชื่อทั่วไป เช่นที่กล่าวข้างต้นและเป็นชื่อเฉพาะ เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ บางทียังมีชื่อเฉพาะลงไปอีกเป็นชนิดย่อย เป็นกุหลาบหนู กล้วยไม้ดิน เพื่อให้เข้าใจแน่นอนว่าเป็นชนิดนั้นๆ ชื่อบางชื่อที่หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะหมายเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เช่น บันไดเลื่อน เก้าอี้ไฟฟ้า (ที่ใช้ประหารชีวิตคน) ก็อาจจะนับเป็นชื่อเฉพาะได้
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๑. สามานยนาม ได้แก่ คำนามที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป เช่น ดิน น้ำ จังหวัด ประเทศ โรงเรียน วัด เป็นต้น
๒.
วิสามานยนาม ได้แก่ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉพาะที่ตั้งขึ้นเพื่อมิให้ปะปนกับคำนามทั่วไป
เช่น เดือนมกราคม จังหวัดขอนแก่น ช้างเอราวัณ
โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย เป็นต้น
๓. สมุหนาม ได้แก่ คำนามที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆที่อยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ เช่น ฝูงผึ้ง โขลงช้าง หมู่ กอง คณะ เหล่า เป็นต้น
๔.
อาการนาม ได้แก่ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการต่างๆของคน สัตว์ และสิ่งของ
อาการนาม คือ คำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า ดังนี้
การ ใช้นำหน้าคำกริยาที่แสดงความเป็นไปในทางกายและวาจา
เช่น การกิน การนอน การอยู่ การเดิน เป็นต้น
ความ ใช้นำหน้าคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เช่น ความรัก ความคิด ความเจริญ ฯลฯ
และใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เพื่อบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความดี ความสวย ความรัก ฯลฯ
๕.
ลักษณะนาม ได้แก่ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนามนั้น เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร
และคำนามบอกลักษณะจะเขียนไว้หลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับเสมอ เช่น ปากกา ๑ ด้าม ช้าง
๑ เชือก แห ๑ ปาก
ในปัจจุบัน คำลักษณะนามอาจมีเพิ่มขึ้นมาอีกหลายคำ เพราะวิทยาการใหม่ๆ และศัพท์ใหม่ๆ
เกิดขึ้นมาก ส่วนใหญ่มักจะเป็นลักษณะนามที่ซ้ำชื่อ เช่น โครงการ ๑, โครงการ, แผนพัฒนา
,แผ่นที่ ๒
คำนามทำหน้าที่ในประโยคต่างๆ ได้ดังนี้
หน้าที่คำนาม
๑. เป็นผู้ทำกริยาหรือที่เรียกประธาน เช่น เสือมา
๒. เป็นผู้ถูกกระทำ เช่น เสือตะครุบ เหยื่อ
๓. ขยายผู้ทำ เช่น ครูใหญ่ ญาติ เธอลาออก
๔. ขยายผู้ถูก เช่น ฉันเห็นเด็กชุ่ม คนใช้เธอ
๕. เสริมความให้สมบูรณ์ เช่น เขายังเป็นเด็ก
๖. เป็นลักษณนามทั้งที่กำหนดไว้เฉพาะ เช่น หลัง สำหรับ
เรือนและนาฬิกา กับที่ใช้ตามนามที่มาข้างหน้า เพราะไม่มีลักษณะนามสำหรับคำนั้นๆ
เช่น ห้องหลายห้อง ปากปากเดียว
คำที่ทำหน้าที่ได้อย่างนามดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะเป็นคำนามที่กำหนดไว้ตั้งแต่เดิมแล้ว
ก็ยังอาจมีคำอื่นที่ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับนาม
คำที่ทำหน้าที่อย่างนาม มีดังนี้
๑. คำเดียว เช่น พ่อ แม่ หัวหน้า และยังมีคำบาลีสันสกฤต ที่ยืมมาใช้ เช่น เมตตากรุณา
กรรม บุญ บาป ฯลฯ
๒. คำซ้อน เช่น หน้าตา ท่าที รูปร่าง เลอะเทอะ
๓. คำประสม เช่น ไฟฟ้า รถยนต์ เรือบิน
๔. คำซ้ำ เช่น หนุ่มๆ สาวๆ เด็กๆ
๕. คำวิเศษณ์ เช่น ดี ชั่ว ช้า นาน ดังใช้ว่า ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ
๖. คำกริยา เช่น หาบดีกว่าคอน นอนดีกว่านั่ง
เพศ พจน์ การก คือ
การบอกว่าชื่อที่กล่าวนั้นเป็นหญิงหรือชาย ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต บอกว่ามีจำนวนหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
และบอกว่าคำนามนั้นๆ เกี่ยวข้องกับคำใดในฐานะใดในประโยค
เรื่องเช่นนี้ ถ้าจะถือว่าไม่สำคัญในภาษาไทยก็ได้ เพราะเวลาพูดไม่มีผู้ใดคำนึงถึง
ถึงกับจะกล่าวระบุลงไปให้ชัดเจน นอกเสียจากผู้ฟังจะสนใจถาม เช่น เพื่อนมาหา คำ
เพื่อน ไม่ได้บอกให้รู้เลยว่าเป็นหญิงหรือชายเป็นจำนวนเท่าไร่ ฉะนั้น ถ้าจะว่าภาษาไทยพูดง่ายสะดวก
ก็นับว่าสะดวกมาก แต่ถ้าจะว่าฟังยาก ก็นับว่ายากไม่น้อย ที่ผู้ฟังจะต้องคิดเอาเอง
แต่ถ้าผู้พูดต้องการจะแสดงเพศพจน์ให้รู้ด้วย ก็พอทำได้ ดังนี้ คือ
การสังเกตชนิดของคำนาม
การสังเกตคำนามว่าจะเป็นนามชนิดใด ต้องดูใจความในประโยคเป็นสำคัญ เพราะนามคำหนึ่งๆ
อาจจะเป็นได้หลายชนิด จะถือเป็นกฎตายตัวลงไปว่า นามอย่างนั้นจะต้องเป็นชนิดนั้นๆเสมอไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น การวินิจฉัยชนิดของคำนาม จำเป็นต้องอาศัยคำห้อมล้อมและใจความในประโยคจึงจะทราบได้แน่นอน
ตัวอย่าง
๑. คนในบ้านนี้เป็นนักดนตรี (คน เป็นสามานยนาม)
๒. เขามีบุตร ๒ คน (คน เป็นลักษณะนาม)
๓.คณะสงฆ์เดินทางไปปฏิบัติธรรม (คณะเป็นสมุหนาม)
๔. พระสงฆ์พม่าคณะหนึ่งเข้ามาในเมืองไทย (คณะเป็นลักษณะนาม)
๕. ต้นพะยอมขึ้นอยู่ในป่า (พะยอม เป็นสามานยนาม)
๖. นางสาวพะยอมเป็นพี่ของฉัน (พะยอม เป็นวิสามานยนาม)
การใช้คำนาม
การใช้คำนามประกอบด้วยระเบียบ ๕ อย่าง คือ :-
๑. บุรุษ
๒. ลิงค์
๓. พจน์
๔. การก
๕. ราชาศัพท์
เฉพาะสมุหนามไม่ต้องมีราชาศัพท์ มีแต่บุรุษ ลิงค์ พจน์ และการกเท่านั้น เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเหมือนนามชนิดอื่น คงใช้อย่างเดียวกันทั้งคนสามัญ พระภิกษุ ขุนนาง เจ้านาย และพระราชา แต่ถ้าเป็นนามชนิดอื่นต้องมีระเบียบครบทั้ง 5 ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้
บุรุษ
บุรุษ คือ คำที่แสดงถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพูดจากันในฐานเป็นผู้พูด,
ผู้ที่พูดด้วย และผู้ที่พูดถึง อาจเป็นคำนามหรือสรรพนามก็ได้ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงบุรุษของนามก่อน
บุรุษของนามแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑.
บุรุษที่ ๑ คือ คำที่กล่าวถึงผู้พูด เช่น
๑) "พ่อคิดถึงเขามาก"
๒) "แม่จะอยู่บ้านนะลูกนะ"
๓) "ทำไมน้องจึงไม่พูดกับพี่?"
๔) "น้องให้หนังสือเล่มหนึ่งค่ะ"
๕) "ลูกต้องขออภัยคุณพ่อนะครับ"
คำ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ที่พิมพ์ตัวเอียงนั้นเป็นคำที่กล่าวถึงผู้ที่พูดเอง จึงนับว่าเป็นบุรุษที่
๑
๒.บุรุษที่ ๒ คือ คำที่กล่าวถึงผู้ที่พูดด้วย
เช่น
๑) นายขาวถามพี่ว่า "พี่จะไปไหน?"
๒) นกพูดกับแนนว่า "แนนมานานแล้วเหรอ?"
๓) ครูถามนายแดงว่า "แดง, เข้าใจไหม?"
๔) พี่สาวบอกน้องชายว่า "หนูอย่ากวนพี่นะ"
๖) หลานถามตาว่า "ตารักหนูไหม?"
คำ พี่ แนน แดง หนู ตา ที่พิมพ์ตัวหนานั้นเป็นคำที่กล่าวถึงผู้ที่พูดด้วย จึงนับว่าเป็นบุรุษที่
๒
๓.บุรุษที่
๓ คือ คำที่กล่าวถึงผู้ที่พูดถึง เช่น
๑) นักเรียนเขียนหนังสือ
๒) เด็กขี่ม้า
๓) นายพิพัฒน์เป็นผู้พิพากษา
๔) แมวกินปลาในจาน
๕) ปากกาวางอยู่บนโต๊ะ
คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นบุรุที่ ๓ เพราะเป็นคำที่กล่าวถึงผู้ที่พูดถึง การสังเกตคำนามว่าเป็นบุรุษอะไร
ให้กำหนดหน้าที่เป็นสำคัญ ถ้าหมายถึง ผู้พูด ก็เป็นบุรุษที่ ๑ ถ้าหมายถึง ผู้ที่พูดด้วย
ก็เป็นบุรุษที่ ๒ ถ้าหมายถึง ผู้ที่พูดถึง เป็นบุรุษที่ ๓
ลิงค์
ลิงค์ คือ เพศของคำที่เป็นเพศชาย หรือเพศหญิงเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
๑.ปุงลิงค์ คือ
เพศของคำที่เป็นเพศชาย เช่น ปู่ ตา พ่อ พ่อตา ผัว ชาย ภิกษุ บุรุษ ราชา เชษฐา โอรส
เป็นต้น
๒.สตรีลิงค์
คือ เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ แม่ยาย เมีย หญิง ภิกษุณี สตรี ราชินี
ภคินี ธิดา กัญญา นารี พธู เป็นต้น
๓.อลิงค์ คือ
เพศของคำที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เป็นคำกล่าวคลุมๆ ซึ่งอาจจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้
เช่น คน ครู นักเรียน เสมียน สัตว์ นก หนู กรรมกร หมอ แพทย์ เด็ก ผู้ใหญ่ เป็นต้น
คำที่เป็นอลิงค์นี้ ถ้ามีคำอื่นที่แสดงเพศชายหรือเพศหญิงมาประกอบข้างหน้า หรือ
ข้างหลังก็อาจเป็นปุงลิงค์ หรือสตรีลิงค์ได้ตามชนิดของคำที่มาประกอบนั้น เช่น
คน เป็น อลิงค์
คน ผู้ชาย ,, ปุงลิงค์
คน ผู้หญิง ,, สตรีลิงค์
สมจิต ,, อลิงค์
นายสมใจ ,, ปุงลิงค์
นางสมใจ ,, สตรีลิงค์
คำกริยาบางคำก็บ่งให้รู้ลิงค์ได้ เช่น
นกเขาขัน (กริยา "ขัน" แสดงว่า นกเขา เป็นตัวผู้)
ไก่ไข่ (กริยา "ไข่" แสดงว่า ไข่ เป็นตัวเมีย)
คนคลอดบุตร (กริยา "คลอด" แสดงว่าคน เป็นผู้หญิง)
เพราะฉะนั้น :-
นกเขา จึงเป็น ปุงลิงค์
ไก่ ,, สตรีลิงค์
คน ,, สตรีลิงค์
ทั้งนี้โดยถือปรกติวิสัยว่าตามธรรมดานกเขาตัวผู้ถึงจะขัน, ไก่ตัวเมียเท่านั้นที่ไข่,
และคนที่คลอดบุตรได้ต้องเป็นผู้หญิง แต่สิ่งที่ผิดธรรมดาไม่นับอยู่ในเกณฑ์กำหนดทางหลักภาษา
เพราะเป็นการผิดปรกติวิสัย
๔.นปุงสกลิงค์
คือ เพศของคำที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง ได้แก่ คำนามที่กล่าวถึงสิ่งที่ไร้ปฏิสนธิวิญญาณทั้งสิ้น
เช่น ภูเขา ต้นไม้ ดิน อากาศ ลม น้ำ ไฟ บ้าน เรือน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
หมายเหตุ :
๑. นปุงสกลิงค์ ต่างกับอลิงค์
คืออลิงค์กล่าวถึงสิ่งที่ปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ แต่ไม่ได้กล่าวชัดลงไปว่าเป็นชายหรือหญิง
ส่วนนปุงสกลิงค์ กล่าวถึงสิ่งที่ไร้ปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งจะเป็นชายหรือหญิงไม่ได้
เพราะฉะนั้นคำว่า มะยมตัวผู้-มะยมตัวเมีย, เกลือตัวผู้-เกลือตัวเมีย, ตำลึงตัวผู้-ตำลึงตัวเมีย,
กระเบื้องตัวผู้-กระเบื้องตัวเมีย ฯลฯ นับว่าเป็นนปุงสกลิงค์ทั้งสิ้น ถึงแม้จะมีคำว่า
ตัวผู้ หรือ ตัวเมีย กำกับอยู่ด้วย ก็เป็นแต่เพียงคำเรียกร้องหมายรู้ถึงลักษณะของต้นหรือวัตถุเท่านั้น
หาได้แสดงถึงความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงไม่
๒. อวัยวะที่เป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม เป็นนปุงสกลิงค์ทั้งสิ้น
เพราะการกำหนดว่าเป็นชายหรือหญิงนั้น เรากำหนดโดยลักษะรวมไม่ใช่ลักษณะย่อย
๓. นามบางชนิด ก่อนที่จะวินิจฉัยลงไปว่าเป็นลิงค์ชนิดอะไร ต้องดูความหมายเสียก่อน
เช่นคำว่า พระอาทิตย์ พระจันทร์ นางธรณี แม่โพสพ ฯลฯ ถ้าหมายถึงโลก แผ่นดิน หรือพืช
ก็เป็นนปุงสกลิงค์ แต่ถ้าหายถึงเทพบุตรหรือเทพธิดา ดังที่ปรากฏในนิยายโบราณคดี
ก็เป็นปุงลิงค์หรือสตรีลิงค์ ได้ตามเนื้อเรื่องนั้นๆ
๔. ในภาษาบาลี-สันกฤต กำหนดลิงค์ตามรูปของศัพท์ แต่ในภาษาไทยกำหนดลิงค์ตามความหมายของคำ
ตัวอย่างเช่น :- ในบาลี-สันกฤต : โจร เป็นปุงลิงค์
, จันทร์ เป็นปุงลิงค์, จันทิมา (พระจันทร์) เป็นสตรีลิงค์, ทาร (เมีย) เป็นปุงลิงค์,
ภริยา (เมีย) เป็นสตรีลิงค์, ธรณี (แผ่นดิน) เป็นสตรีลิงค์
ในภาษาไทย : โจร เป็นอลิงค์, จันทร์ และจันทิมาถ้าหมายถึงเทพบุตรเป็นปุงลิงค์ หมายถึงโลก
เป็นนปุงสกลิงค์, ทหารและภริยา เป็นสตรีลิงค์, ธรณี เป็นนปุงสกลิงค์
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า คำบาลี-สันสกฤต ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย เรากำหนดลิงค์ตามหลักนิยมในภาษาของเรา
การเรียกชื่อลิงค์ของคำ อาจจะตรงกับภาษาเดิมหรืออาจะไม่ตรงกันก็ได้ เพราะเราถือความหมายของคำเป็นสำคัญ
พจน์
พจน์ คือ คำที่มีจำนวนมากหรือน้อย แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑.เอกพจน์
คือ คำที่มีจำนวนเพียงหนึ่ง เช่น พ่อ แม่ จมูก หัว ในประโยคต่อไปนี้ :
๑) พ่อ ของฉันมีลูกหลายคน
๒) แม่ ของสมหวังเป็นคนใจดี
๓) จมูก ของท่านสวยมาก
๔) นายจรัญเอาหัวชนเสา
ตามปรกติ บรรดาคำ วิสามานยนาม นับว่าเป็นเอกพจน์ทั้งสิ้น
๒.พหูพจน์
คือ คำที่มีจำนวนมาก นับตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป เช่น คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคต่อไปนี้
๑) นักเรียน เดินไปเป็นแถว
๒) ชาวนา สนทนากัน
๓) นักมวยชกกัน
๔) คนงาน โกย ทราย
๕) ประชาชน พากันเปล่งเสียงงไชโย !
๖) บรรดา คน ในบ้านนอนหลับหมด
๓.พจน์
คือ คำที่ไม่ปรากฏจำนวนว่ามากหรือน้อย เช่น คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคต่อไปนี้
๑) เด็กเรียนหนังสือ
๒) ทหารถืออาวุธ
๓) นกบินไปในอากาศ
๔) หมอ ถอน ฟัน ใน ปาก
๕) ชาวประมง จับปลา ใน ทะเล
ตามปรกติ คำนาม (นอกจากวิสามานยนาม) มีรูปเป็นอพจน์ทั้งสิ้น และมีรูปคงที่อยู่อย่างเดิม
ไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์ เพราะเครื่องหมายให้รู้พจน์ไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์
หรือเพิ่มพยางค์ที่ท้ายศัพท์ เหมือนในภาษาบาลี, สันสกฤตและอังกฤษ แต่หากต้องอาศัยคำวิเศษณ์ที่ประกอบข้างหน้าหรือข้างหลัง
หรือบางทีก็ต้องอาศัยคำกริยาหรือเนื้อความเป็นเครื่องหมายรู้เพราะฉะนั้น คำนามในภาษาไทยเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็จะต้อง
ก. ใช้คำวิเศษณ์ประกอบข้างหน้าหรือข้างหลัง
เช่น
หนึ่งคน เป็น เอกพจน์
สองคน ,, พหูพจน์
คนมาก ,, พหูพจน์
คนเดียว ,, เอกพจน์
ข. ใช้คำกริยาเป็นเครื่องแสดง
เช่น
นักเรียน พูดกัน เป็น พหูพจน์
คนงาน โกย ทราย เป็น พหูพจน์
กริยา พูด แสดงว่า นักเรียนต้องมีหลายคน, และ กริยา โกย แสดงว่า ทรายต้องมีหลายเม็ด
ค. ใช้เนื้อความเป็นเครื่องบ่ง
เช่น
นายเขียวเอา หัว ชนกำแพง
จมูก ของนายดำสวย
ในที่นี้ คำ หัว และ จมูก เป็นเอกพจน์ เพราะนายเขียวมีเพียงหัวเดียว และนายดำก็มีจมูกเป็นจมูกเดียว
หมายเหตุ :
๑. คำนามบางคำแสดงพหูพจน์อยู่ในตัวของมันเอง เช่น ประชาชน
มหาชน แต่ถ้ามีลักษณะแสดง หมวด หมู่ กลุ่ม กอง ประกอบอีกชั้นหนึ่ง ก็ให้กำหนดพจน์ตามจำนวนของ
หมวด หมู่ กลุ่ม กอง นั้น เช่น :
ประชาชน กลุ่มหนึ่ง เป็น เอกพจน์
ประชาชนสามกลุ่ม เป็น พหูพจน์
๒. ถ้าใช้ลักษณะนามที่แสดงเครื่องชั่ง เครื่องวัด เครื่องตัก
เครื่องตวง เครื่องใช้ หรือชนิดประกอบนามใด ให้กำหนดพจน์ของนามนั้นตามจำนวนของ
เครื่องชั่ง เครื่องวัด เครื่องตัก เครื่องตวง และชนิดทีประกอบ เช่น
ข้าวสาร ๑ กิโล เป็น เอกพจน์
ข้าวสาร ๒ กิโล ,, พหูพจน์
น้ำ ๑ ถ้วย ,, เอกพจน์
ทราย ๒ ถัง ,, พหูพจน์
ถั่ว ๑ กระสอบ ,, เอกพจน์
ถั่ว ๒ เมล็ด ,, พหูพจน์
ลมชนิดหนึ่ง ,, เอกพจน์
ลม ๒ ชนิด ,, พหูพจน์
๓. พจน์ของนาม เรามักรู้ได้จาก ประมาณวิเศษณ์ ที่ประกอบ แต่ถ้าไม่มีประมาณวิเศษณ์ประกอบ เราจะสังเกตได้จากเนื้อความหรือคำห้อมล้อม
๔. คำในภาษาที่มีวิธีเปลี่ยนรูปศัพท์ให้เป็นเอกพจน์ต่างๆ เช่น ภาษาบาลี, สันสกฤต และอังกฤษเป็นต้น เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ให้นำคำที่ยังมิได้เปลี่ยนรูปเป็นพจน์ต่างๆมาใช้ เช่น ทารก, ชน, สหาย, ฟุต, ไมล์ ฯลฯ และนับว่าเป็นอพจน์ ต้องใช้คำอื่นประกอบตามหลักไวยากรณ์ของไทย เช่น ทารก ๑ คน, ชนทั้งหลาย, สหายคนเดียว, หนึ่งฟุต, หนึ่งไมล์, สองฟุต, สามไมล์ ฯลฯ จะเปลี่ยนรูปเป็นทารโก-ทารกา, ชโน-ชนา, สหาโย-สหายา, ฟุต-ฟิต, ไมล์-ไมล์ส เช่นนี้ไม่ได้ คำในภาษาอื่นที่นำมาใช้ในภาษาไทย ต้องขึ้นอยู่กับไวยากรณ์ไทย เพราะเรานำแต่คำของเขามาใช้ หาได้นำไวยากรณ์ของเขามาใช้ด้วยไม่
การก
การก คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผู้ถูกทำ ผู้ถูกใช้หรือทำหน้าที่ขยายคำอื่นให้มีใจความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คำที่ทำหน้าที่เป็นการกได้มีอยู่ ๓ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาสภาวมาลา (แต่ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะคำนามก่อน)
กากรแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ
๑. กรรตุการก
คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ เช่น
๑) ครู สอนหนังสือ
๒) บ้านถูก ไฟ ไหม้
๓) เด็ก นั่งเก้าอี้
๔) ครู ให้นักเรียนทำการบ้าน
๕) สมพร เป็นเพื่อนของฉัน
๒. กรรมการก
คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถูกทำ เช่น
๑) นักเรียนเขียน เลข
๒) พ่อรัก ลูก
๓) เฟิร์น ถูกพ่อดุ
๔) ศิษย์ ถูกเฆี่ยน
๕) ความสามัคคีเป็นเหตุนำมาซึ่ง ความสุข
๖) คนสอพลอเห็นแก่ อามิษ
๓. การิตการก
คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถูกใช้ เช่น
๑) ผู้ใหญ่ให้ เด็ก ถูบ้าน
๒) ลูกจ้าง ถูกนายจ้างให้ทำงาน
๓) นักเรียน ถูกให้กวาดห้อง
๔. วิเศษณการก
คือ คำที่มีบุพบทนำหน้า และทำหน้าที่แต่งหรือขยายคำอื่นให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น
บุพบทนั้นจะละไว้ในฐานที่เข้าใจก็ได้ เช่น
๑) คุณพ่อของ ทองดี เป็นทนายความ
๒) เด็กใน ห้อง นี้มีกี่คน
๓) หญิงคนนั้นเดินออกมาจาก สวน
๔) มารดาทำงานเพื่อ ลูก
๕) บิดาอยู่ บ้าน แต่มารดาไป ตลาด
บุพบท ซึ่ง และ แก่ ใช้นำหน้ากรรมการกได้ เพราะฉะนั้น พึงสังเกตว่า คำที่มีบุพบทนำหน้าและมีวิเศษณการกนั้นจะต้องไม่ใช่ กรรม ของกริยา
๕.
วิกัติการก คือ คำนามและสรรพนามที่ทำหน้าที่ขยายการกอื่น หรือขยายวิกตรรถกริยาให้ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จะแสดงตัวอย่างนามวิกัติการกก่อน ส่วนสรรพนามวิกัติการกจะได้แสดงในตอนที่กล่าวถึง
เช่น
๑) นายสม บิดา ของนายศรีมีรถ สี่ คัน
๒) เด็กคนนี้ เขียน หนังสือสวย
๓) นายปิติ ทนายความ เห็นนายหนู บุรุษไปรษณีย์ เดินไป
๔) นายทองแดงเป็น ข้าราชการ
๕) เขาผู้นั้นคือ ผู้พิพากษา
การสังเกตการก
ต้องถือหน้าที่ของคำเป็นสำคัญ เช่น คำที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ
จะเรียงไว้ในที่ใดก็ตาม ต้องเป็นกรรตุการกทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น
๑. นักเรียน เลี้ยงเป็ด
๒. เป็ดถูก นักเรียน เลี้ยง
๓. เป็ดนี้ นักเรียน เลี้ยง
คำ นักเรียน ในประโยคทั้งสามนั้นเป็นกรรตุการก เพราะเหตุว่า ถึงแม้จะเรียงไว้ในที่ต่างกัน
แต่ก็คงทำหน้าที่เป็น ผู้ทำ ด้วยกัน
หมายเหตุ : การกของสรรพนามก็เช่นเดียวกับนาม แต่เปลี่ยนใช้สรรพนามแทนที่คำนามในตัวอย่างที่แสดงไว้เท่านั้น
แต่ต้องเลือกตัวอย่างที่จะใช้สรรพนามได้เหมาะสม
ราชาศัพท์ ( นาม
)
นอกจากสมุหนามแล้ว คำนามทุกชนิดต้องประกอบด้วยราชาศัพท์ คือ ต้องใช้ให้ถูกระเบียบตามชั้นของบุคคล
เพราะประเพณีของไทยจำแนกบุคคลออกเป็นชั้นๆ คำนามที่ใช้จึงต้องจำแนกออกเป็นคำสูงต่ำ
ตามชั้นของบุคคลด้วย
คำราชาศัทพ์ หมายถึง คำพิเศษช่วงหนึ่งซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับชั้นของบุคคล ไม่เฉพาะแต่พระราชาเท่านั้น
บุคคลที่ต้องใช้ราชาศัพท์จำแนกออกเป็น ๕ ชนิด
๑. พระราชา
๒. เจ้านาย หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป
๓. พระภิกษุสามเณร
๔. ขุนนางมียศ และบรรดาศักดิ์
๕. สุภาพชน หมายถึง คนทั่วไปนอกจาก ๔ ประเภทข้างต้น
คำนามที่ต้องเปลี่ยนใช้เป็นราชาศัพท์ ซึ่งมีรูปแปลกไปจากคำนามสามัญนั้น โดยมากเป็นคำนามที่ใช้เฉพาะกับพระราชาและเจ้านาย
ส่วนคำนามที่ใช้กับบุคคลประเภทอื่น มักใช้คำนามสามัญที่จัดอยู่ในประเภทคำสุภาพ
จึงไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงผิดกว่าคำธรรมดานัก
วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์
คำนามราชาศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเจ้านาย บางคำก็บัญญัติขึ้นใช้โดยเฉพาะ เช่น
เครื่อง, ตำหนัก, พลับพลาฯลฯ บางคำก็ใช้คำนามสามัญแต่มีคำอื่นประกอบข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
เพื่อให้แปลกกว่าคำธรรมดา เช่น พระหัตถ์, พระหฤทัย, ราชบุตร, ช้างต้น, ม้าต้น ฯลฯ
วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์ คือ
๑.ถ้าคำนามสามัญเป็นคำนามที่ใช้เกี่ยวกับพระราชาในฐานเป็นเครือญาติ,
ยวดยานพาหนะ, สถานที่ เป็นต้น ให้ใช้คำ ต้น,หลวง หรือพระที่นั่งประกอบข้างหลัง
เช่น ลูกหลวง หลานหลวง เรือหลวง ช้างหลวง ม้าหลวง สวนหลวง วังหลวง ศาลหลวง ช้างต้น
ม้าต้น เรือต้น เครื่องต้น เรือพระที่นั่ง รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง ช้างพระที่นั่ง
ฯลฯ
๒. ถ้าคำนามสามัญเป็นคำไทยที่ใช้เกี่ยวข้องกับเจ้านาย
ให้ใช้คำ ทรง หรือ ที่นั่ง ประกอบข้างหลัง เช่น เครื่องทรง เสื้อทรง ผ้าทรง ช้างทรง
ม้าทรง รถทรง เรือทรง ช้างที่นั่ง ม้าที่นั่ง รถที่นั่ง เรือที่นั่ง ฯลฯ
เฉพาะคำ รถ และ เรือ ถ้าใช้สำหรับฝ่ายใน ให้ใช้คำ พระประเทียบ ประกอบข้างหลัง เช่น
รถพระประเทียบ, เรือพระประเทียบ
หมายเหตุ : คำไทยบางคำใช้คำบาลีและสันสกฤตนำหน้าก็ได้
เช่น ราชวัง, พระราชกำหนด จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้าอีก
๓.
ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันกฤต แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือเจ้านาย
เป็นชื่อของอวัยวะ, กิริยาอาการและความเป็นไป, เครือญาติ, บริวาร, เครื่องใช้ เป็นต้น
ให้ใช้คำพระ นำหน้าบ้างก็ได้ เช่น :- พระกร พระเนตร พระเกศ พระหัตถ์ พระเมตตา พระอุตสาหะ
พระเคราะห์ พระชะตา พระอัยกา พระอัยกี พระอาจารย์ ฯลฯ
หมายเหตุ : คำไทยและคำเขมรบางคำ จะใช้คำ พระ นำหน้าบ้างก็ได้
เช่น พระฉาย พระสาง พระที่ พระแท่น พระเต้า พระอู่ พระยี่ภู่ พระขนม พระเขนย พระจุไร
พระขนง ฯลฯ
๔. ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาโดยเฉพาะ
หรือเกี่ยวกับพระราชินีและพระยุพราช เพื่อแสดงความสำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วในข้อ
๓ ให้ใช้คำ พระราช นำหน้า เช่น พระราชบิดา, พระราชมารดา, พระราชโอรส, พระราชยาน,
พระราชครู, พระราชอาสน์ ฯลฯ
หมายเหตุ : ตามปรกติ คำ พระราช ใช้นำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น
แต่บางทีก็ใช้นำหน้าคำไทยบางคำด้วย เช่น พระราชดำริ, พระกำหนด, พระอำนาจ, พระราชวัง
๕.
ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือพระพุทธเจ้า
เพื่อแสดงพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ เป็นคำนามที่แสดงความสำคัญยิ่งกว่าที่กล่าวมาแล้วในข้อ
๔ ให้ใช้คำ พระบรม นำหน้า เช่น พระบรมวงศานุวงศ์, พระบรมโกศ, พระบรมนามาภิไธย,
พระบรมเดชานุภาพ, พระบรมอัฐิ, พระบรมครู, พระบรมธาตุ ฯลฯ
หรือจะใช้คำ พระบรมราช นำหน้า ในเมื่อบ่งถึงพระราชาโดยเฉพาะ และใช้คำ พระบรมพุทธ
นำหน้า ในเมื่อบ่งถึงพระพุทธเจ้าก็ได้ เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมราชาภิเษก, พระบรมราโชวาท,
พระบรมราชูปถัมภ์, พระบรมพุทธโอวาท, พระบรมพุทธานุสาสนี
หมายเหตุ : เฉพาะคำ วัง ที่ต้องการจะแสดงพระเกียรติยศอันยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ
ท่านใช้คำ พระบรมมหาราช นำหน้า เช่น พระบรมมหาราชวัง
๖. ถ้าเป็นคำนาม ซึ่งเป็นชื่อที่ประทับของพระราชา และมีเศวตฉัตร ให้ใช้คำ พระที่นั่ง นำหน้า เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท, พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งสุริยามรินทร์, พระที่นั่งมังคลาภิเษก, พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท ฯลฯ
๗. คำนามสามัญที่ใช้ประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังนามราชาศัพท์ เพื่อบอกชนิดของรูปลักษณะของนามราชาศัพท์นั้น ให้ใช้คำธรรมดา ไม่ต้องทำให้เป็นราชาศัพท์อีก เช่น พาน พระศรี, หีบ พระศรี, ถาด พระสุธารส, พระโอรส เส้น, พระโอรส มวน, พระโอสถ กล้อง, ฉลองพระหัตถ์ ส้อม ฯลฯ
๘.คำนามที่กล่าวถึงเครือญาติถ้าเป็นคำไทย
ให้ใช้คำ พระเจ้า นำหน้า เช่น พระเจ้าปู่,พระเจ้าย่า,พระเจ้าตา, พระเจ้ายาย, พระเจ้าลุง,
พระเจ้าป้า, พระเจ้าอา, พระเจ้าหลาน
ถ้าเป็นคำบาลีหรือสันสกฤต ให้ใช้
ก. คำ พระ นำหน้า สำหรับเจ้านาย เช่น พระอัยกา, พระอัยยิกา,
พระชนก, พระชนนี, พระเชษฐา, พระอนุชา ฯลฯ
ข. คำ พระราช นำหน้า สำหรับพระราชา เช่น พระราชบิดา,
พระราชมารดา, พระราชชนนี, พระราชอนุชา
คำนามราชาศัพท์
ต่อไปนี้ คือ คำที่บัญญัติขึ้นสำหรับใช้เป็นนามราชาศัพท์ จะรวบรวมมากล่าวเฉพาะคำที่ควรรู้
และเพื่อสะดวกแก่การค้นหาได้เรียงนามสามัญไว้หน้า เรียงนามราชาศัพท์ไว้หลัง ตามลำดับตัวอักษร
ดังนี้
การกระจายคำนาม
การกระจายคำนามจะต้องบอก
๑. ชนิด คือ บอกให้รู้ว่าเป็นสามานยนาม
วิสามานยนาม ลักษณะนาม สมุหนาม
หรือ อาการนาม
๒. ความเกี่ยวข้อง
คือ บอกให้รู้ว่านามนั้นๆ ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำอะไร ในประโยคนั้นบ้าง
๓. บุรุษ คือ บอกให้รู้ว่า
คำนามที่ปรากฏอยู่ในที่นั้นๆเป็นบุรุษที่ ๑, ที่ ๒, หรือที่๓
๔. ลิงค์ คือ บอกให้รู้ว่านามนั้นๆ
เป็นปุงลิงค์, สตรีลิงค์, อลิงค์, หรือ นปุงสกลิงค์
๕. พจน์ คือ บอกให้รู้ว่านามนั้นๆ
เป็นเอกพจน์, พหูพจน์ หรือ อพจน์
๖. การก คือ บอกให้รู้ว่านามนั้นๆทำหน้าที่เป็นการกอะไร
เป็นกรรตุการก, กรรมการก, การิตการก, วิเศษณการก หรือ วิกัติการก
๗. ราชาศัพท์ คือ บอกให้รู้ว่านามนั้นเป็นราชาศัพท์สำหรับพระราชา
หรือ เจ้านายเป็นต้น แต่ถ้าไม่เป็นราชาศัพท์ก็ไม่ต้องบอก
ตัวอย่างการกระจายคำนาม
๑. เด็กนักเรียนคน หนึ่งนั่งอยู่ใน ห้อง นั้น
เด็ก เป็น สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, อลิงค์, เอกพจน์, กรรตุการก ของกริยา
นั่งอยู่
นักเรียน ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, อลิงค์, เอกพจน์, วิกัติการก ของ เด็ก
คน ,, ลักษณะนาม, บุรุษที่ ๓, อลิงค์, เอกพจน์, วิกัติการก ของ นัก เรียน
ห้อง ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, นปุงสกลิงค์, วิเศษณการกประกอบกริยา นั่งอยู่
๒. นายแดง ครู โรงเรียนให้ นักเรียน ทำ งาน ใน เวลา ว่าง
นาย เป็น สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์, กรรตุการก
ของกริยา ให้ - ทำ
แดง ,, วิสามานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์, วิกัติการก
ของ นาย
ครู ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์, วิกัติการก
ของ นายแดง
นักเรียน ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓ , อลิงค์, พจน์, การิตการก ของ
กริยา ให้ - ทำ
งาน ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, นปุงสกลิงค์, อพจน์, กรรมการก
ของกริยา ให้ - ทำ
เวลา ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, นปุงสกลิงค์, อพจน์,วิเศษณการก
ประกอบกริยา ให้ - ทำ
๓. หลวงพินิจอักษรการ เป็น กรรมการ
พิจารณา ร่างกฎหมาย เลือกตั้ง
หลวง เป็น สามมานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์,
กรรตุการก ของ กริยา เป็น เป็นราชาศัพท์สำหรับบอกตำแหน่ง
ขุนนางพินิจอักษรการ ,, วิสามานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์, วิกัติการก
ของ หลวง เป็นราชาศัพท์บอกราชทินนาม
กรรมการ ,, วิสามานยนาม, บุรุษที่ ๓, ปุงลิงค์, เอกพจน์, วิกัติ
การก ของกริยา เป็น
ร่าง ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, นปุงสกลิงค์, อพจน์,
กรรมการก ขยายกริยา พิจารณา
กฎหมาย ,, สามานยนาม, บุรุษที่ ๓, นปุงสกลิงค์, อพจน์,
วิเศษณการก ขยาย ร่าง บอกลักษณะเป็นเจ้าของ
การแสดงเพศ
๑. ใช้คำที่มีความหมายบอกเพศว่าเป็นหญิง หรือชายแจ่มแจ้งอยู่ในตัวแล้ว
ทั้งที่เป็นไปตามธรรมชาติและที่กำหนดได้ ตามหน้าที่ที่จำกัดเฉพาะเพศ
เพศชาย ได้แก่ พ่อ ปู่ ลุง ตา ชาย พระ เณร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ เขย หนุ่ม
เพศหญิง ได้แก่ แม่ ย่า ป้า สะใภ้ ยาย ชี หญิง สาว
๒.
ใช้คำแสดงเพศหญิงชายประกอบ คำ น้า อา ลูก หลาน เหลน ทวด ครู อาจารย์ นักเรียน เด็ก
ญาติ ฯลฯ เป็นคำรวมใช้หมายไดทั้งหญิงและชาย แต่ถ้าต้องการระบุให้แน่ว่าเป็นหญิงหรือชายก็ใช้คำ
หญิง ชาย บ่าว สาว เขย สะใภ้ หรือตัวผู้ ตัวเมีย สำหรับสัตว์ประสงค์เข้าข้างท้ายคำ
ในลักษณะคำปะสม เช่น น้าสาว ลูกสาว หลานเขย ลูกเขย ลูกสะใภ้ อาจารย์หญิง อาจารย์ชาย
เด็กหญิง เด็กชาย เจ้าบ่าว เจ้าสาว
บางทีก็ใช้ผู้หญิง ผู้ชาย เพื่อให้ฟังชัดเจนขึ้น เช่น ญาติผู้หญิง ญาติผู้ชาย คำที่มาประสมบอกเพศเมื่อใช้ลำพังก็มีเพศอยู่ในตัว
เป็นคำที่มีความหมายในภาษา เช่น หญิงมามากกว่าชาย ลูกหมามีตัวผู้สาม ตัวเมียสอง
ทั้งนี้นอกจาก บ่าว ที่ความหมายกลายไปหมายถึง ทาส เสียแล้วโดยไม่จำกัดเพศ คำที่สร้างใหม่ในปัจจุบันจำเป็นต้องใช้วิธีแสดงเพศแบบนี้อยู่มากเมื่อต้องการระบุเพศ
เช่น พนักงานหญิง พนักงานชาย แต่บางทีก็ระบุเพียงเพศใดเพศเดียว เพราะอีกเพศหนึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว
เช่น สมุหบัญชีโดยมากเป็นชาย หากมีที่เป็นหญิงจึงจะระบุไว้ว่า สมุห์บัญชี
คำ นาย นาง อาจแสดงเพศได้ แต่ใช้หน้าชื่อ แทนที่จะอยู่ข้างท้าย ที่ใช้หน้าคำบอกอาชีพหรือหน้าที่ก็มี
เช่น นายแพทย์ นางพยาบาล แต่เมื่อมีผู้หญิงเป็นแพทย์ ผู้ชายเป็นพยาบาล ก็เติม หญิง
ลงท้ายคำแพทย์และเติม บุรุษหน้าคำพยาบาล และคำ นายกับนางก็ต้องตัดออก
การแสดงพจน์
๑. ใช้คำบอกจำนวนหนึ่งหรือจำนวนมากกว่าหนึ่งอยู่ในตัว
คำบอกจำนวนหนึ่ง (เอกพจน์) ได้แก่ (คน) โสด (คน) เดียว หนึ่ง (อย่างหนึ่งในกลุ่ม)
คำบอกจำนวนมากกว่าหนึ่ง (พหูพจน์) ได้แก่ คู่ (จำนวนสองที่กำหนดไวเป็นชุด) กลุ่ม
หมู่ ฝูง พวก โขลง คำที่ใช้กับสัตว์โดยเฉพาะ คือ โขลงสำหรับช้าง ฝูง สำหรับทั่วไป
แต่บางทีก็มาใช้กับคนเป็น ฝูงคน ฝูงชน คำ ฝูง กลุ่ม ถ้าแยกออกจะเห็นว่า ต้องมีจำนวนมากกว่า
๒ ขึ้นไป คน คนเดินไปด้วยกัน ไม่เรียกว่าเดินเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งต้องมี ๓ คนขึ้นไป
๒. ใช้วีธีต่างๆบอกพหูพจน์ คือ
ก. ใช้คำขยาย มาก มากมาย หลายหรือคำบอกจำนวนนับ สอง
สาม ฯลฯ
ข. ใช้คำซ้ำ เช่น เด็กๆ หนุ่มๆ สาวๆ
การแสดงการก หรือ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างคำในประโยค เราไม่วิธีอื่นใดบอกให้รู้ได้
นอกจากเรียงลำดับคำให้ถูกต้องตามตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าวแล้ว แต่ด้วยเหตุที่คำนามที่เป็นประธานหรือกรรมอาจเปลี่ยนที่ไปได้
คือประธานไปอยู่หลังกรรมกรรมมาอยู่หน้ากริยาได้ถ้าต้องการเน้น ฉะนั้นต้องฟังให้ดีว่าคำที่ได้ยินเป็นประธานหรือรวมกันแน่
เช่น แมลงพวกนี้จับได้ในเวลากลางคืน