สิ่งมีชีวิตที่เรืองแสงได้
การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตนั้น ปรากฏในสัตว์กลุ่มสำคัญทุกกลุ่ม ทั้งที่อยู่น้ำทะเลและบนบก
ตั้งแต่พวกสัตว์เซลล์เดียว
ขึ้นมาจนถึงพวกฟองน้ำ แมงกะพรุน ปะการัง หนอนทะเลต่าง ๆ หอยปลาหมึก
แมลงหลายชนิด จนกระทั่งถึงปลา และปรากฏ ในสิ่งที่มีชีวิตชั้นต่ำ เช่น
พวกเห็ด ราและบัคเตรีต่าง ๆสิ่งมีชีวิตกลุ่มสำคัญ ๆ ที่ยังไม่มีรายงานว่า
มีผู้พบการเรืองแสง ได้แก่ พวกสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด (ยกเว้นพวกบัคเตรี)
และสัตว์พวกที่มีกระดูกสันหลัง
กลุ่มสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื่อยคลาน นกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สิ่งมีชีวิตที่เรืองแสงได้แต่ละชนิด จะแสดงลักษณะการเรืองแสงที่แตกต่างกันออกไป
เช่น สีของแสง ลวดลายของการเปล่งแสงที่ต่ำแหน่งต่าง ๆ ของลำตัว และจังหวะกับช่วงเวลาในการเปล่งแสง
เป็นต้น สัตว์บางชนิดเปลี่ยนสีของแงได้บางเวลา การเปล่งแสงมี
ประโยชน์ในการล่อเพศตรงข้ามเพื่อการสืบพันธ์ สัตว์บางชนิด ก็ใช้แสงเพื่อล่อเหยื่อ
ให้เข้ามาใกล้จจะได้จับกินเป็นอาหาร นอกจากสัตว์แล้ว พืชจำพวกเห็ดบางชนิดก็เรืองแสงได้เหมือนกัน
1. นอคติลูคา (noctiluca) จะเปล่งแสงสีแดงทำให้ผิวทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตพวกนี้
อาศัยอยู่จำนวนมากจะมีสีแดงเต็มไปหมด แต่พอตกกลางคืน ถ้าคลื่นมารบกวนมาก
นอคติลูคาก็เปล่งแสงสีน้ำเงิน ออกมาแทนสีแดง
2. โกนีออแลกซ์ (gonyaulax) สามารถผลิตแสงได้มากสุดก็ตอนกลางคืน น้อยที่สุดตอนกลางวันไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของมันเองคือในทะเล
หรือในสภาพห้องทดลองที่ห่างไกลจากทะเลหลายพนกิโล กำหนดการเปลี่ยนแสงดังกล่าวนี้จะเที่ยงตรงราวกับ
ว่ามันมี นาฬิกา ตั้งไว้ภายในเซลล์ นอกจากนี้ บัคเตรีซึ่งก็เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
จะผลิตแสงสีน้ำเงินหรือน้ำเงินเขียว และตราบใดที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ของมัน
แสงที่เรืองอยู่นั้นจะต่อเนื่องกันไม่มีการหยุด
สัตว์ทะเลที่เรืองแสงได้
1. แคมพานุลาเรีย เฟลกชูอสา (campanularia fleruosa ) จะเรืองแสงในเซลล์แกนในของลำตัว
ผ่านผิวชั้นใสมาก
2. เอควอเรีย เอควอร์ (aequorea aequore ) จะเรืองแสงที่เซลล์ที่กระจายอยู่ตามขอบร่ม
3. ไรน้ำทะเล ไซพิรดิน่า ฮิลเกนเดอร์พิอิ (cypridinae hilgendorfii)
คล้ายไรน้ำในน้ำจืด ทหารญี่ปุ่นจะนำมาใช้ในการอ่านแผนที่ ขณะที่มีการพรางไฟ
โดยนำมาตากให้แห้ง มีลักษณะเป็นผง เมื่อนำมาผสมกับน้ำจะได้ แสงสีน้ำเงิน
สว่างพอที่จะอ่านแผนที่ได้ โดยไม่ต้องกลัวถูกเครื่องบินค้นพบ
หนอนทะเลใกล้เคียงไส้เดือนดิน
ที่โด่งดังในหมู่เกาะตะวันตก เช่น โอดอนโตซิลลิสอีโนปลา (odontosy
llisenopla )จะเรืองแสงเป็นหมู่ประมาณ 2-3 หลังเดือนเพ็ญ พวกตัวเมียซึ่งมีไข่สุกและมีขนาดถึง3
เศษ 1 ส่วน 2 ซม. จะว่ายวนตามผิวน้ำเปล่งแสงสีเขียว เริ่มประมาณ 1
ชั่วโมง หลังจากตะวันตกดิน มีตัวผู้ซึ่งเปล่งแสงวาบ ๆ ตามมา และต่อมาก็จะมีการปล่อยเซลล์สืบพันธ์ท้งสองฝ่ายออกผสมพันธ์กันในน้ำ
แมลงที่เรืองแสงได้
หิ่งห้อย
หิ่งห้อยหลายชนิด เช่น โฟทูรัส ไพราคิส ( photuris pyralis) และ พี.
เพนซิลวานิคัส (p. Pennsylvanicus) เป็นแมลงที่พบทั่วไปทั้งในยุโรป
เอเชีย และอเมริกา มีการผลิตแสงสีเหลืองเขียวตรงปลายท้อง และมีการเปล่งแสงเป็นจังหวะ
ตัวผู้ในฝูงเดียวกันจะเปล่งแสงเป็นจังหวะพร้อมกัน หิ่งห้อยต่างชนิดจะมีจังหวะแตกต่างกัน
ส่วนตัวเมียปกติจะไม่เปล่งแสงก่อน แต่จะเปล่งแสงตอบต่อเมื่อได้รับแสงจากตัวผู้ชนิดเดียวกัน
เป็นการบอกทิศทางให้ตัวผู้บินตามมา แมลงปีกแข็งไพโรโฟรัส นอคติลูคัส
(pyrophorusnoctlucus) อีกชนิดหนึ่งซึ่งพบในอเมริกาเหนือและมีลักษณะภายนอกคล้ายกับหิ่งห้อย
แต่มีการเรืองแสงที่ต่ำแหน่งแตกต่างกันมาก คือ ที่จุด 2 จุด ตรงทรวงอกด้านบน
ในประเทศบราซิลมีหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของแมลงชนิดหนึ่ง มีลวดลายการเรืองแสงที่เหมาะสมกับชื่อของมัน
คือ มีจุดเรืองแสงสีแดงที่เรืองแสงต่อเนื่องกันตลอดเวลา 2 จุดตรงหัว
ส่วนตามลำตัวมีจุดเรืองแสง 11 คู่ เรียงตามยาวลำตัวปล้องละ 1 คู่ จุดเหล่านี้ปกติไม่เปล่งแสง
แต่หากถูกรบกวน หรือเมื่อเคลื่อนไหวจะเปล่งแสงสีเขียว จึงทำให้ได้สมญานามว่า
"หนอนรถไฟ"
สัตว์ทะเลชั้นสูงพวกที่มีกระดูกสันหลัง
การเรืองแสงจะปรากฏเฉพาะในพวกปลา โดยเฉพาะปลาน้ำลึก ซึ่งแต่ละชนิดมีลวดลายบริเวณเรืองแสงบนลำตัวต่างกัน
ในทะเลที่แสงแดดส่องไม่ถึงมันจะจำศัตรูหรือเพื่อนสนิดของมันได้ในที่มืดโดยทราบจากลวดลายการเรืองแสงบนลำตัว
ปลาบางชนิดมีอวัยวะเรืองแสงลักษณะคล้าคันเบ็ดที่ห้อยจากหัวลงมา เหนือบริเวณปาก
ปลายสายเบ็ดนี้มีแสงเรืองแสงล่อปลาขนาดเก หรือสัตว์ทะเลอื่น ๆ ให้เข้ามาใกล้
ปลาที่มีการเรืองแสงบริเวณต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนมากมิได้มีเซลล์ของตนเองในการผลิตแสงได้ดังสัตว์อื่นที่กล่าวข้างต้น
|