ทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่อง ครกกระเดื่อง เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์เรื่อง คาน
คาน เป็นเครื่องกล ที่ช่วยให้เราทำงานง่ายมากขึ้น เป็นเครื่องผ่อนแรงขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดแบบหนึ่ง คานงัดไม่จำเป็นจะต้องมีลักษณะเป็นคานตรงแบบกระดานกระดกในสนามเด็กเล่นเสมอไป หลักสำคัญคือ คานงัดจะต้องประกอบด้วยแขนรับแรงสองข้างยื่นออกไปจากจุดค้ำ แขนข้างสั้นรับแรงต้านทานและแขนข้างยาวรับแรงพยายามอาร์คีมีดีส นักปราชญ์กรีกโบราณกล่าวไว้ว่า ถ้าฉันมีจุดค้ำและคานงัดที่ต้องการได้ละก็ ฉันจะงัดโลกให้ลอยขึ้น คำกล่าวนี้แสดงว่า เขามีความเข้าใจในหลักเกณฑ์ของคานงัดดีเพียงใด แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำได้ก็ตาม ตัวอย่าง เครื่องชั่งชนิดแขนเดียวก็คือ เครื่องมือที่ใช้หลักเกณฑ์ของคานงัดนั่นเอง ถ้าแขนข้างยาวของคันชั่งซึ่งแบ่งออกเป็นช่องเท่า ๆ กันมีความยาวเป็น 10 เท่า ของแขนข้างสั้น ใช้ตุ้มน้ำหนักเพียง 10 กิโลกรัม แขวนที่ปลายแขนข้างสั้นไว้ได้พอดี โดยคานจะอยู่นิ่งไม่ตีปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง ในลักษณะที่เรียกว่า สมดุล แต่ถ้าเลื่อนน้ำหนักบนคันชั่งไปแขวนไว้ที่กึ่งแขนข้างยาวคือช่องที่ 5 จากจุดค้ำคันชั่งก็ชั่งสิ่งของได้เพียง 50 กิโลกรัม จากตัวอย่างนี้ เราได้หลักเกณฑ์ว่าผลคูณของน้ำหนักและระยะทางจากจุดค้ำในแต่ละข้าง มีค่าเท่ากันในขณะเมื่อคานนั้นสมดุล ผลคูณของแรง และ ระยะตั้งฉากจากแรงไปยังจุดค้ำเรียกว่า โมเมนต์ ถ้าเราจะเรียก R เป็นแรงต้านทานและ P เป็นแรงพยายามซึ่งมีระยะจากจุดค้ำเป็น a และ b ตามลำดับ ก็อาจแสดงกฎเกณฑ์ของคานงัดเป็นสูตรคณิตศาสตร์ได้ดังนี้
R x a = P x b
ตามหลักสูตรนี้มีค่าอยู่สี่จำนวน ถ้าหากรู้ค่าสามค่าในจำนวนนี้ก็อาจหาค่าที่เหลือได้ เช่น ให้ R เป็นน้ำหนักข้าวสารหนึ่งกระสอบหนัก 100 กิโลกรัม แขวนห่างจากจุดค้ำ = 10 เซนติเมตร และแขนของแรงพยายามยาว b = 200 เซนติเมตร ดังนั้น
100 x 10 = P x 200
ค่าของแรงพยายาม P = ( 100 x 10 ) / 200 = 5 กิโลกรัม
เราได้หลักเกณฑ์จากตัวอย่างนี้ว่า การใช้คานงัดผ่อนแรง จะต้องให้จุดค้ำอยู่ใกล้กับแรงต้านทานและอยู่ห่างจากแรงพยายามมาก ๆ ถ้าลองมองหาเครื่องใช้ในบ้านดูว่ามีอะไรที่ใช้หลักคานงัดบ้าง คีมตัดลวด ค้อนถอนตะปูและครกกระเดื่อง ซึ่งใช้สำหรับตำข้าวในชนบท ครกกระเดื่องสำหรับเด็กฝึกเล่นก็คือเครื่องผ่อนแรงแบบคานงัดทั้งนั้น
ในบางจังหวัดที่ยังไม่มีน้ำประปาใช้ ต้องใช้น้ำจากบ่อลึก ๆ เราจะเห็นชาวบ้านใช้คันช่อสำหรับตักน้ำจากบ่อ ปลายข้างหนึ่งของคันช่อแขวนถังน้ำอีกปลายข้างหนึ่งใช้ของหนัก ๆ เช่น ท่อนไม้ถ่วงไว้ น้ำหนักนี้เรียกว่า น้ำหนักถ่วงดุล คันช่อก็คือคานงัดซึ่งช่วยผ่อนแรงเวลาคนสาวถังน้ำขึ้นจากบ่อหลักการเดียวกันนี้ใช้กับการปิดเปิดสะพานช่องกระดก เช่น สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ และสะพานกรุงเทพฯ ซึ่งมีช่วงที่เปิดปิดให้เรือใหญ่ผ่านเข้าออกในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ น้ำหนักถ่วงดุลของสะพานใช้แท่งคอนกรีตและเหล็ก โมเมนต์ของน้ำหนักถ่วงดุลมีค่าน้อยกว่าโมเมนต์ของช่วงสะพานเปิดเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงต้องการแรงเพิ่มจากมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยหมุนเฟืองอีกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเปิดปิดช่วงสะพานซึ่งมีน้ำหนักข้างละร่วมสองร้อยต้นได้โดยง่าย
โมเมนต์
โมเมนต์ ( M ) = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึง แนวแรง หน่วยเป็นนิวตัน เมตร ( N-m )
M = F x L
โมเมนต์ของแรงคู่ควบ เมื่อมีแรงคู่ควบกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเกิดการหมุน ดังนั้นโมเมนต์แรงคู่ควบ หาจาก แรง 1 แรง ระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรง
การได้เปรียบเชิงกล ( MA ) คือ อัตราส่วนของแรงที่ได้จากเครื่องกล กับแรงที่ให้กับเครื่องกล
MA =
F0 = แรงที่ได้จากเครื่องกล
F1 = แรงที่ให้กับเครื่องกล
ประโยชน์ที่จะได้รับคือ
1. ให้เด็กได้ฝึกการกำมือ
2. ฝึกการประสานงานของมือและตา
3. ฝึกการเหยียดข้อสะโพก ข้อเข่า รวมทั้งเป็นการออกกำลังของมือแขน ขา
4. ฝึกการใช้ข้อเท้าเพื่อกันข้อติด
5. ฝึกการยืนทรงตัว
6. ฝึกการถ่ายเทน้ำหนักของขาทั้ง 2 ข้าง
7. ฝึกการเรียนรู้ซ้าย ขวา หนัก เบา และ ช้า เร็ว
8.ช่วยในการสีข้าวของคนโบราณ และยังช่วยในการประหยัดไฟฟ้าได้ด้วย