พ.ศ. 2523 บริษัทสากลเคหะ มีโอกาสจัดการแข่งขันเทนนิสชายระดับโลกขึ้นเป็นครั้งแรกในรายการบางกอกเทนนิสคลาสสิค แต่ก็โดน อุปสรรคจากภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2526 ถึงกับต้องยกเลิกการแข่งขันในปีนั้น และก็ไม่สามารถจัดได้อีกเลยในปีต่อๆมา ในระยะ ต่อมาวงการเทนนิสไทยก็จัดรายการแข่งขันอาชีพเล็กๆในระดับแซตเทิลไลท์ทั้งชายและหญิง ทำให้นักเทนนิสไทยมีโอกาสไต่เต้าขึ้นสู่ทำเนียบ นักเทนนิสระดับโลก
ต่อมาก็เป็นยุคของธนากร ศรีชาพันธ์ และวรพล ทองคำชู โดยใน พ.ศ.2528 ธนากรเป็นนักเทนนิสเยาวชนไทยคนแรกที่ผ่านเข้ารอบแรก ของการแข่งขันเทนนิสจูเนียร์วิลเบิลดัน และสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศชายคู่ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพฯ โดยลงแข่งคู่กับวรพล ทองคำชู ธนากรสร้างผลงานที่ภาคภูมิใจมอบแก่ชายไทย เมื่อสามารถพลิกร็อคเอาชนะมืออันดับที่ 192 ของโลก คริส ไบเล่ย์ จากอังกฤษ ซึ่งเป็นมือวาง อันดับ 7 ในการแข่งขันสิงห์ไทยแลนด์โอเพ่น พ.ศ.2533 ที่พัทยา และสามารถพิชิตเหรียญทองประเภททีมชายในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 16 ที่ ประเทศ ฟิลิปปินส์ พ.ศ.2532 ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 16นี้ วรพลยังสามารถครองเหรียญทองในประเภทชายเดี่ยวได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจ ธนากรคู่กับศกลวรรณ ค้าเจริญ ก็ยังสามารถครองแชมป์ในประเภทคู่ผสมได้อีกเช่นกัน เมื่อครั้งการแข่งขันเดวิส คัพ ระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ใน พ.ศ.2531 ที่กรุงเทพฯ วรพลยังสามารถพลิกล็อกเอาชนะ แคลลี่ อีเวอร์เด็น มืออันดับ 53 ของโลกในขณะนั้น วรพลมีอันดับเยาวชนโลกที่ 9 ใน พ.ศ.2528 มีอันดับในทำเนียบนักเทนนิสอาชีพชาย(ATP)อันดับโลกที่ 620 แต่ก็ไม่มีผู้สนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อเดินทางสู่สายเทนนิสอาชีพ
ใน พ.ศ.2533 ยุคเฟื่องของนราธร ศรีชาพันธ์ โดยเป็นนักเทนนิสเยาวชนชายไทยคนแรกที่สามารถเข้ารอบ 8 คนสุดท้าย ในการแข่งขัน จูเนียร์วิมเบิลดัน ซึ่งส่งผลให้มีอันดับอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกใน พ.ศ.2536 นราธรเข้าทำการแข่งขันเทนนิสแซตเทิลไลท์ เซอร์กิตในระดับอาชีพ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยได้คะแนนสะสมคอมพิวเตอร์ และจัดอยู่ในทำเนียบนักเทนนิสอาชีพชาย(ATP)อันดับที่ 729 แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ นราธร ตัดสินใจเรียนต่อเพื่อปริญญาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะตัดสินใจอีกครั้งว่าจะเดินทางสู่เส้นทางสายเทนนิสอาชีพหรือไม่
นราธรโดนซัดเบ้าตา เดวิสคัพอูซเบกิสถานไล่ไทย 1-2
การแข่งขันเทนนิสชิงแชมป์โลก เดวิสคัพ 2003 โซนเอเชีย/โอเชียเนีย กรุ๊ป 1 รอบสอง ระหว่าง ไทย กับ อูซเบกิสถาน ในอินดอร์คอร์ต เมืองทาชเคนท์ ประเทศอูซเบกิสถาน เมื่อวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่สองของการแข่งขัน และเป็นการแข่งขันประเภทคู่ หลังจากวันแรก ที่ผ่านมา ทีมไทยโดย ภราดร ศรีชาพันธุ์ และ ดนัย อุดมโชค สามารถเผด็จสองแมตช์แรกให้ไทยขึ้นนำ 2-0 ในการแข่งขันประเภทคู่ ทีมไทยนำเอา นราธร ศรีชาพันธุ์ ลงคู่กับ อรรถพล ฤทธิวัฒนะพงศ์ ในขณะที่อูซเบกิสถานนำเอาสองผู้เล่นเดี่ยววันแรกลงแข่งขันคือ วาดิม กุตเซนโก้ และ โอเลก โอโกโรดอฟปรากฏว่า หลังจากเล่นไปได้แค่เกมที่สาม ในขณะที่อรรถพลถูกสวนลูกเสิร์ฟลงเท้า ทำให้ต้องงัดฮาล์ฟวอลเล่ย์ และลูกลอยโด่งไปเข้า จังหวะโฟร์แฮนด์วอลเล่ย์หน้าเน็ตของโอโกโรดอฟพอดี ซึ่งโอโกโรดอฟวอลเล่ย์เต็มแรง ลูกพุ่งเข้าโดนหางคิ้วใกล้เบ้าตาของนราธรอย่างจัง จนทรุด ล้มลงไป และการแข่งขันต้องชะงักลงเพื่อปฐมพยาบาลนราธร จนกระทั่งลงแข่งขันต่อ โดยสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งในที่สุด นายชนะชัย ศรีชาพันธุ์ ผู้ทำหน้าที่เป็นกัปตันทีม ก็ต้องยอมขอแพ้ผ่าน ขณะที่คู่อูซเบกิสถานเป็นฝ่ายนำ 4-1 ในเซ็ตแรก ทำให้อูซเบกิสถานไล่ไทยขึ้นมา 1-2 แมตช์ พันเอก พิษณุ อรรถกรศิริโพธิ์ เปิดเผยว่า จำเป็นต้องยุติการแข่งขัน เนื่องจากนราธรมองเห็นภาพซ้อน เพราะถูกลูกเทนนิสกระทบอย่างแรงบริเวณ ใกล้ เบ้าตา และมั่นใจว่าทีมไทยจะเผด็จศึกได้แน่นอน ในวันสุดท้ายของการแข่งขันในประเภทเดี่ยวชนมือในเดือนเมษายน พ.ศ.2537 แทมมารีน ธนสุกาญจน์ นักเทนนิสสาวไทยคนแรกที่สามารถชนะมืออันดับ 53 ของโลก แมรีแอนน์ เวอร์เดิ้ล ชาวอเมริกัน ในการแข่งขันเทนนิสวอลโว่ชิงเงินรางวัล2.5ล้านบาทที่พัทยา ทำให้อันดับคอมพิวเตอร์นัดเทนนิสโลกหญิง(WTA)ของเธอเลื่อนมาอยู่ที่ 275 ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของนักเทนนอสหญิงไทยที่สามารเอาชนะมืออันดับ 100 คนแรกของโลกได้สำเร็จ และเป็นนักเทนนิสไทยที่มีอันดับสูงที่สุดในประวัติการณ์ อยู่ในอันดับที่ 156 ในเดือนมิถุนายน 2538 เธอได้รับการสนับสนุนจากคุณสันติ ภิรมย์ภัคดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และคุณศุภพร มาพึ่งพงศ์ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมกีฬาและกิจกรรมพิเศษโดยมี นาวาตรีจำเริญ และคุณกมลรัตน์ วิมลนิตย์ ผู้จัดการทีมเทนนิสสิงห์ เป็นผู้ควบคุมดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ มีโค้ชเทนนิสอาชีพระดับนานาชาติคือ นายเจริญชัย ใจขาน และอดีตนัดเทนนิสทีมชาติไทย นายนพปฎล ศรีเจริญ เป็นผู้ช่วยโค้ช ได้ร่วมมือกันฝึกฝนแทมมารีนอย่างจริงจังที่สนามเทนนิสกรมพลศึกษา และก่อนที่เธอจะสามารถเอาชนะแมรีแอนน์ เวอร์เดิ้ลนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2536 เธอยังสามารถคว้าแชมป์หญิงเดี่ยวแซตเทิลไลท์ชิงเงินรางวัล 2 แสน 5 หมื่นบาทที่ประเทศฟิลิปปินส์มาครองได้อย่างภาคภูมิใจ และในเดือนเดียวกันนี้เธอยังสามารถเอาชนะมือเยาวชนอันดับ 4 ของโลก กูกิ มาโดก้า ได้อย่างง่ายดาย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วก่อนที่แทมมารีนจะลาออกจากทีมสิงห์นั้นความสามารถของเธออยู่ในระดับที่จะต่อสู้กับนักเทนนิสอันดับโลกที่ 100 กว่าได้อย่างสูสีมีอยู่ 3 คน คือโรมาน่า เท็ดจาสุกุมา,เรเน่ สตัปป์ และทีมชาตินิวซีแลนด์อีก 1 คนเธอยังเคยชนะมืออันดับ 52 ของโลกคือ ลอร่า โกลาร์ช่า เพียงแค่อาศัยระยะเวลาในการแข่งเพื่อสะสมแต้ม อันดับของแทมมารีนก็น่าจะอยู่ในอันดับ 100 คนแรกของโลกได้ แทมมารีนยังสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการเทนนิสไทยอีกครั้งเมื่อเธอครองตำแหน่งรองชนะเลิศหญิงเดี่ยวเยาวชนวิมเบิลดัน พ.ศ. 2538 นักเทนนิสหญิงอีกคนคือ สุวิมล ดวงจันทร์ เคยทำอันดับสูงสุดของเธอไว้ในปี พ.ศ.2536 อันดับที่ 350 ของโลก
สาเหตุหนึ่งที่นักเทนนิสไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรในอดีต เนื่องจากไม่มีโค้ชที่มีประสบการณ์เพียงพอคอยแนะนำ พร้อมทุ่มเท การ ฝึกสอน อย่างจริงจัง จริงใจและถ่ายทอดให้อยู่เป็นประจำ ตัวนักเทนนิสไทยเองก็ไม่เคยจริงจังและทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี ในอดีตเคยมี โค้ชชาวต่างชาติเข้ามาให้การอบรมทั้งในกลุ่มนักเทนนิสและผู้ฝึกสอนแต่ก็มาอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นแล้วก็เดินทางกลับประเทศไป ใน ประวัติศาสตร์นักเทนนิสไทยยังไม่เคยมีโค้ชคนใดสามารถฝึกฝนนักเทนนิสเพื่อเดินทางสู่อาชีพอย่างจริงจังได้สำเร็จ จนกระทั่งวันที่ 1 มีนาคม 2535 นายเจริญชัย ใจขาน ได้เริ่มเป็นโค้ชเทนนิสอาชีพประจำบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ภายในระยะเวลาอันสั้นก็สามารถสร้างลูกศิษย์หลายคน ที่มี ผลงานทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาประเทศได้อย่างน่าพอใจและภาคภูมิใจในระดับหนึ่ง ปัจจุบันมีโค้ชเทนนิสต่างชาติเข้ามาสอนเทนนิส อยู่ ในประเทศไทย ถึงสองสถาบัน คือ ปีเตอร์ เบอร์วอช อินเตอร์เนชั่นแนลและนิค บูลลิเทียรี่ แต่ก็ยังไม่มีผลงานการสร้างนักเทนนิสไทย สู่ระดับอาชีพ อย่างจริงจัง
ประวัติภราดร ศรีชาพันธ์ | |
ประมวลภาพภราดร ศรีชาพันธ์ | |
เสียงสัมภาษณ์ ภราดร และทีมไทย ชุด Davis Cup 2003 | |
ภาพผลงานการแข่งขันเทนนิส ภราดร ศรีชาพันธ์ |
ภราดรนำทีมเดวิสคัพไทยเข้าสู่รอบเพลย์ออฟเวิลด์กรุ๊ป
ทีมไทย เอาชนะ อูซเบกิสถาน ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ในการแข่งขันเทนนิสชิงแชมป์โลก เดวิสคัพ 2003 โซนเอเชีย/โอเชียเนีย กรุ๊ป 1 รอบสอง ที่เมืองทาชเคนท์ ประเทศอูซเบกิสถาน โดยในวันที่สามซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการแข่งขัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2546 และเป็นการแข่งขัน ประเภท เดี่ยวเยาวชนมือ 2 แมตช์นั้น ปรากฏว่า ในคู่แรกระหว่างเดี่ยวมือ 1 ของทั้งสองทีม ภราดร ศรีชาพันธุ์ มือ 1 ทีมไทย อันดับ 12 ของโลก โชว์ฟอร์ม ยอดเยี่ยม ถล่ม วาดิม กุตเซนโก มือ 1 อูซเบกิสถาน อย่างยับเยิน 6-3,6-3,6-3 จากชัยชนะในแมตช์นี้ ทำให้ทีมไทยชนะอูซเบกิสถานอย่างเด็ดขาดทันที เพราะทำได้ก่อนแล้ว 3 แมตช์ ได้เข้าสู่รอบเพลย์ออฟเวิลด์กรุ๊ป ติดต่อกันเป็นปีที่สองและในการแข่งขันแมตช์สุดท้ายที่ไม่มีความหมายต่อผลแพ้ชนะ ของ ทั้งสองทีมนั้น ดนัย อุดมโชค เอาชนะ มูราด อิโนยาตอฟ ดาวรุ่งดวงใหม่ของอูซเบกิสถาน ซึ่งลงแข่งขันแทน โอเลก โอโกโรดอฟ สองเซ็ตรวด 6-4,6-3 ทำให้ทีมไทยชนะอูซเบกิสถาน 4-1