ปี พ.ศ. 2518 กีฬาเทนนิสมีความคึกคักแพร่หลายเป็นอย่างมากได้มีการสร้างสนามเทนนิสและจัดการแข่งขันขึ้นมากมาย พอต้นปี พ.ศ. 2519 ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยได้เริ่มมีการส่งนักเทนนิสเยาวชนไปแข่งขันในต่างประเทศ โดยเปิดทำการคัดเลือกตัวเยาวชนไปแข่งขัน ที่ ประเทศฮ่องกงซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของนักเทนนิสเยาวชน ซึ่งทำให้เยาวชนสนใจเล่นกีฬาเทนนิสกันอย่างแพร่หลาย และได้มีการ จัดตั้ง ศูนย์ฝึกเทนนิสขึ้นที่กรมพลศึกษาอีกด้วย
ปี พ.ศ. 2520 สหพันธ์ลอนเทนนิสนานาชาติได้ตัดคำว่า"ลอน"ออกไปคงไว้แค่"เทนนิส"แต่ทางลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ใน พระบรม ราชูปถัมภ์ได้มีมติจากที่ประชุมให้คงชื่อเดิมเฉพาะภาษาไทยเอาไว้เพื่อเป็นเกยรติและระลึกถึงผู้ให้กำเนิดลอนเทนนิสสมาคมแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หลังจากปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา ได้มีทั่งภาครัฐและเอกชนได้เริ่มเข้ามาให้การสนับสนุนความช่วยเหลือ แก่ วงการ เทนนิสมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดการแข่งขันก็ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบออกไปเป็นการแข่งขันที่ต้องมีการใช้เงินรางวัลและ ได้เริ่มจัด การ แข่งขันระดับนานาชาติ ทั้งประเภททั่วไปและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น จนในปัจจุบันได้เริ่มมีการสนับสนุนให้นักเทนนิสได้เข้าแข่งขัน ในระดับอาชีพ อีกด้วย
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันหลังจากที่ชาวไทยได้เริ่มรู้จักกีฬาเทนนิสกันแล้ว เรามีนักเทนนิสที่มีฝีมือดีๆรุ่นใหม่เกิดขึ้นอยู่เสมอ และที่เป็นดาว ดวงเด่นมากจนไม่มีใครในวงการที่จะไม่รู้จัก เขาคนนั้นคือ พ.อ.ต. สมภาร จำปีศรี (ยศปัจจุบัน) ผู้ซึ่งเป็นนักเทนนิสที่มีฝีมือดีจนสามารถ เอาชนะ ในการแข่งขันรายการต่างๆมากมาย ซึ่งจะยกมาไว้แต่เฉพาะที่สำคัญๆ คือ
ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว เทนนิสชิงแชมป์ประเทศไทยถึง 10 สมัย ในช่วงปี พ.ศ. 2509-2519 โดยเว้นในปี พ.ศ. 2518 ชนะเลิศเหรียญทอง ในกีฬาแหลมทองถึง 3 ครั้ง คือ กีฬาแหลมทองครั้งที่ 3 ปี พ.ศ.2508ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ.2514 และครั้งที่ 7 ปี พ.ศ.2516 ชนะเลิศชายเดี่ยว การแข่งขัน เทนนิสเบียร์สิงห์โอเพ่นในระดับนานาชาติครั้งที่ 1 ที่สมาคมชาวซอยสวัสดี โดยชนะปีเตอร์ เบอร์วอช ผู้เคยมีอันดับโลกสูงสุดอยู่ที่อันดับ 57 หลังจาก ยุคของ พ.ต.อ.สมภาร แล้วแชมป์ประเทศไทยก็ได้ผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆและวงการเทนนิสก็ยังพัฒนาตัวเองต่อไปจนมาถึงปี พ.ศ. 2521 ก็ได้กลาย เป็น ยุคเฟื่องของนักเทนนิสเยาวชนมีนักเยาวชนดีเด่นเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่เด่นที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินสองนักเทนนิสคู่ขวัญ สมบัติ เอี่ยมมงคล กับ พนมกรซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นขวัญใจและกำลังใจสำคัญของทีมชาติไทยในการไปคว้าเหรียญทองกีฬาซีเกมส์อีกด้วย
สมบัติและพนมกรเมื่อได้เริ่มฉายแววออกมาก็ได้รับการสนับสนุนจากคุณสันติ ภิรมย์ภัคดี กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด และคุณชาตา บุญส่ง โดยส่งเสริมค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้ทั้งสองคนเดินทางไปฝึกเทนนิสที่ออสเตรเลียและเดินทาง ไปแข่งขันทั่วโลก อีกด้วย และทั้งสองก็ได้สร้างผลงานให้กับตัวเองและวงการเทนนิสไทยอีกมากมาย พวกเขาเป็นนักเทนนิสเยาวชนไทย คนแรกที่ได้เข้าร่วม การแข่งขัน เทนนิสจูเนียร์วิลเบิลดัน และอยู่ในทำเนียบ 15 อันดับแรกของนักเทนนิสโลกใน พ.ศ.2523 สมบัติเคยทำอันดับเทนนิสอาชีพอยู่ที่ อันดับ 415 ของโลกในราว พ.ศ.2526 ถือว่าเป็นอันดับสูงสุดในประวัติศาสตร์นักเทนนิสชายไทย
ทางด้านนักเทนนิสหญิงไทยที่เด่นดัง เป็นนักเทนนิสสาวมือซ้ายที่มีฝีมือเฉียบขาดมากคือ สุธาสินี ศิริกายะ บุตรสาวของ พลเรือตรี วินัส ศิริกายะ ผู้เคยเป็นนายกลอนเทนนิสสมาคม สุธาสินีได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองด้ายการชนะเลิศในการแข่งขันรายการต่างๆมากมาย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ชนะเลิศได้เหรียญทองเทนนิสประเภทคู่ผสมในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 ที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2521 ซึ่งเป็น เหรียญทอง ประวัติศาสตร์ของวงการเทนนิสไทย เพราะตั้งแต่เริ่มมีการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบัน ทีมไทยยังไม่เคยได้ เหรียญทอง จากกีฬาเทนนิสเลยซักเหรียญเดียวแต่เธอก็สามารถทำเหรียญทองได้โดยจับคู่กับจารึก เฮงรัศมี ผู้ซึ่งมีฝีมือยอดเยี่ยมในการเล่น ประเภทคู่เป็นอย่างมากคนหนึ่งในประเทศไทยทีเดียว และเธอก็ยังชนะเลิศในการแข่งขันเทนนิสในรายการต่างๆทั้งในและนอกประเทศอีกมากมาย ผลงานในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ในครั้งที่ 10 พ.ศ.2529 ที่ประเทศเกาหลี ไทยเราสามารถครองเหรียญทองแดงในประเภททีมชายเป็นครั้งแรก โดยมี วรพล,ธนากร,สมบัติและวิทยา สำเร็จในครั้งที่ 11 พ.ศ. 2533 ที่ประเทศจีน วิทยา สำเร็จและอรวรรณ ธรรมเป็นศรี ได้ครองเหรียญทองแดง ในประเภทคู่ผสมเป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกัน