งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา
ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม
และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน
ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี
โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1
ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
จัดให้มีขึ้นทุกปี |
|
จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่า ชาวอุบลราชธานี
ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่
พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี
ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ
บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2
ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก
โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน
จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน
มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน
แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน |
ข้อแนะนำในการท่องเที่ยว
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี
นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง
การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ
แล้ว
ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ
อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ
ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน
และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ
จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ
ทดลองและประลองฝีมีเชิงช่างโดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น
ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี
จึงสามารถชื่นชมและศึกษากิจกรรมของงาน
ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ
ๆ ได้แก่ |
|
2.
การเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ
การเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำของ
ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้
นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนแล้ว
ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์
ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง |
|
4.
กิจกรรมขบวนแห่เทียนพรรษา
จะจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ
08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช
ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ2-3 กม.
จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย
ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ
การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง
การเข้าชมขบวนแห่
่คณะกรรมการจัดงานจะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ
บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อัตราค่าบริการประมาณท่านละ200 บาท
ส่วนการเข้าชมขบวนตามจุดอื่นๆ
นั้นสามารถชมได้ตามอัธยาศัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ขบวนดังกล่าวปกติจะเสร็จสิ้นในช่วงบ่าย |
(ข้อมูลจาก
www.guideubon.com)
|