ค้างคาวมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์จำพวกฟันแทะ
เช่น หนู กระแต มีการค้นพบซากฟอสซิลค้างคาวที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในยุค EOCENE
ซึ่งมีอายุประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
(Class Mammalia) โดยที่ส่วนมือและแขนเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เป็นปีก มีเนื้อเยื้อบางๆ
เชื่อมระหว่างนิ้วมือ แขน ขาและลำตัว มีเส้นเลือดกระจายไปทั่วเนื้อเยื่อเพื่อหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและระบายความร้อนจากร่างกาย
ค้างคาวในโลกนี้มีอยู่ทั้งหมดประมาณ
1,000 ชนิด ในประเทศไทยมีประมาณ 100 ชนิด เราสามารถแบ่งค้างคาวออกเป็น 2
พวกใหญ่ๆ (2 SUBORDER) คือ
1.
ค้างคาวกินผลไม้ (SUBORDER
MEGACHIROPTERA) เป็นพวกที่กินน้ำหวานดอกไม้ ละอองเกสรและผลไม้เป็นอาหาร
ในประเทศไทยมีค้างคาวชนิดนี้มากกว่า 15 ชนิด เช่น ค้างคาวแม่ไก่ ค้างคาวขอบหูขาว
ค้างคาวบัว ค้างคาวเล็บกุด และค้างคาวหน้ายาวใหญ่ เป็นต้น
2.
ค้างคาวกินแมลง (SUBORDER
MICROCHIROPTERA) ในประเทศไทยมีค้างคาวชนิดนี้ประมาณ 90 ชนิด
กินแมลงชนิดต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ค้างคาวปากย่น ค้างคาวผีเสื้อ ค้างคาวแวมไพร์แปลง
ค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ และค้างคาวกิตติ เป็นต้น
|
|
|
ค้างคาวกินแมลง
|
|
ค้างคาวกินผลไม้
|
ความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างค้างคาวกินแมลงกับค้างคาวกินผลไม้
1.
ดวงตาและจมูก
-
ดวงตาของค้างคาวกินแมลงมีขนาดเล็กส่วนดวงตาของของค้างคาวกินผลไม้มีขนาดใหญ่
-
จมูกของค้างคาวกินผลไม้มักมีร่องตรงคั่นแบ่งจมูกออกเป็นสันสองสันคู่กัน ที่ปลายจมูกมีขอบยื่นออกมาเพื่อกันไม่ให้น้ำหวานไหลเข้ารูจมูกส่วนจมูกของค้างคาวกินแมลงจะมีไว้สำหรับควบคุมระบบโซน่าเพื่อให้มีความแม่นยำในการจับแมลง
2.
นิ้วและเล็บ
-
ค้างคาวกินแมลงไม่มีนิ้วที่สองและเล็บเพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้
ส่วนค้างคาวกินผลไม้มีเล็บที่ปลายนิ้วทั้งสองใช้ช่วยในการปีนป่ายและเกาะต้นไม้
3.
ขาหลัง
-
ค้างคาวกินแมลงระหว่างขาหลังทั้งสองข้างมักมีเยื่อบางๆ
เชื่อมถึงกันเพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการโฉบจับแมลงและใช้เป็นถุงช่วยจับแมลงในขณะบิน
- ส่วนค้างคาวกินผลไม้ขาหลังมีเนื้อเยื่อช่วยในการบินเล็กน้อยทำให้ขาหลังเป็นอิสระสำหรับการปีนป่ายต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว
กลับหน้าหลัก
|