ความเป็นอยู่ของมด

มดเป็นแมลงสังคม เช่นเดียวกับปลวก มีกลุ่ม ( colony ) ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ แต่ละกลุ่มประกอบด้วย ราชินีทำหน้าที่วางไข่ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และมดงานเต็มวัยซึ่งมีจำนวนมาก มีหน้าที่ในการสร้างและรักษาป้องกันรัง หาอาหาร ดูแลตัวอ่อน และราชินี

มดงานทั้งหมดเป็นเพศเมียแต่เป็นหมันและไม่สามารถวางไข่ได้ ราชินีเพศผู้ที่มีปีกจะพบรังเป็นบางช่วงเมื่ออกมานอกรังแล้วจะทิ้งรังไปผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ โดยทั่วไปราชินีจะคล้ายกับมดงาน ต่างกันที่ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่า บางชนิดเริ่มวางไข่เป็นมดงาน หรือมีลักษณะกลางๆ ระหว่างมดงาน กับราชินี ( ergatoid queen ) โดยทั่วไปเพศผู้คล้ายต่อมากกว่ามด มดในรังหนึ่งๆ จะมีขนาดเท่าๆกันหรือแตกต่างกันก็ได้ ถ้ามดงานทั้งหมดมีขนาดเท่ากันเรียกว่า monomorphic ในบางกลุ่มความแตกต่างของขนาดมีมาก ถ้าความแตกต่างของมดงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่เป็นอย่างต่อเนื่องคือมีหลายขนาดเรียกมดงานนี้ว่า polymorphic แต่ถ้ามดงานมีเพียง 2 ขนาดที่แตกต่างกันเรียก dimorphic มดงานขนาดเล็ก ( minor workers ) มักจะมีหัวและกรามเล็กว่ามดงานขนาดใหญ่ ( major workers ) มดงานเป็นมดที่พบเห็นได้ง่ายทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อออกไปหาอาหาร ตามพื้นดินใต้ก้อนหิน หรือวัสดุอื่นบนพื้นดิน มดงานบางส่วนเท่านั้นที่ออกมาหาอาหารนอกรัง มดมีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน มดงานที่แตกต่างกันจะปฏิบัติงานต่างกันภายในรัง และบางกลุ่มก็มีหน้าที่เฉพาะ ขึ้นอยู่กับอายุของมด เช่น มดงานที่ออกมาใหม่ๆ จะอยู่ภายในรังดูแลไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ มดงานที่อายุมากขึ้นก็เปลี่ยนไปสร้างทางเดินและรัง และสุดท้ายก็จะออกจากรังไปหาอาหาร dimorphic และ polymorphic ขนาดของมดงานจะมีอิทธิพลกับกิจกรรมที่ทำ เช่น major worker จะพบบริเวณในรังหรือใกล้รัง ขณะที่ minor workers พบได้กำลังหาอาหารไกลจากรังออกไป

โดยทั่วไปมดแต่ละรังเริ่มจาก ราชินีบินออกไปจากรังเดิม พร้อมด้วยราชินีตัวอื่นๆ และเพศผู้ตัวอื่นๆ จากรังเดียวกันและรังอื่นๆ ในพื้นที่นั้น ราชินีจะทำการผสมพันธุ์ มักจะเกิดขึ้นบนต้นไม้สูง พุ่มไม้ใหญ่ หรือยอดเนิน ซึ่งเป็นที่พบกันของราชินีและเพศผู้จำนวนมากจากหลายๆรัง ราชินีจะผสมพันธุ์กับเพศผู้ 1 หรือ 2 - 3 ตัว ขณะที่ยังบินอยู่ในอากาศ แต่เป็นช่วงสั้นๆ แล้วจะตกลงสู่พื้น หาที่เหมาะสมสำหรับสร้างรังต่อไปซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ตั้งแต่ยอดไม้ถึงใต้ดิน ในช่วงนี้ราชินีจะกัดปีกออก จะห่อหุ้มตัวเองใน chamber เล็กๆ และวางไข่กลุ่มเล็กๆ

ราชินียังคงอยู่ในรังกับตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตป้อนอาหารให้กับตัวอ่อนด้วยไข่ที่ไม่ได้รับการผสม ซึ่งราชินีออกไข่มาสำหรับเป็นอาหารของตัวอ่อนโดยเฉพาะ มดงานรุ่นแรกมีขนาดเล็กกว่ามดงานรุ่นต่อมา เนื่องจากราชินีให้อาหารในปริมาณจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับมดงานที่หาหอาหารได้มากกว่า มดงานรุ่นแรกที่เป็นตัวเต็มวัยจะออกจากรังเริ่มหาอาหาร จับเหยื่อกลับมาให้ราชินีและตัวอ่อนที่มากขึ้น เมื่อ colony ใหม่ขึ้นมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดงานรุ่นใหม่ก็จะดูแล ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และหาอาหารมากขึ้น ช่วงนี้ราชินีก็จะลดการวางไข่ และมดงานจะทำงานทั้งหมดภายในรัง

ราชินียังคงมีความจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในกลุ่มนั้น โดยราชินีจะใช้สารเคมีที่ผลิตขึ้นมาในการสื่อสารควบคุมกิจกรรมของมดงานทั้งหมดภายในรัง อย่างไรก็ตามยังมีมดอีกหลายชนิดที่มีรูปแบบการสร้างรังแตกต่างไปจากที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น การผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นเหนือหรือในรัง หรือราชินีหลายๆตัวช่วยกันสร้างรังแล้วอาศัยอยู่ด้วยกันหรือทำการต่อสู้กันเองเพื่อที่จะได้ตัดสินว่าราชินีตัวไหนที่จะอยู่ภายในรังต่อไป ตัวที่เหลือก็จะถูกบังคับให้ออกไปจากรังหรือถูกฆ่าให้ตายไป ในบางชนิด colonyใหม่จะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อราชินีใหม่พร้อมด้วยมดงานจำนวนหนึ่ง ออกจารังไปสร้างรังใหม่ไกลจากเดิม ราชินีอาจออกไปหาอาหารนอกรังก่อนที่มดงานรุ่นแรกจะออกมา แต่ยังคงทำหน้าที่ควบคุมดูแลรังและบริวารมดงานที่ มาจากรังใหญ่ด้วย ในบางชนิด ตัวอ่อนจะถูกนำออกมานอกรังใหญ่เป็นกลุ่มเล็กๆ โดยมดงานมาไว้ใกล้ๆแหล่งอาหารซึ่งรายละเอียดในการสร้างรังของมด แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไปเมื่อ colony เจริญเติบโตเต็มที่ ราชินีและเพศผู้ก็จะถูกผลิตขึ้นเพื่อสร้างมดรุ่นใหม่ต่อไป

มีปัจจัยหลายอย่างที่จะกำหนดการเป็นราชินีใหม่เพื่อผลิตรุ่นต้อไป ประกอบด้วยเวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดและปริมาณการวางไข่ฟีโรโมนหรือฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยราชินีและอายุของราชินี การผลิตฮอร์โมนเพศผู้ถูกควบคุมโดยกลไกง่ายๆ ราชินีและมดงานซึ่งเป็นเพศเมียจะมีโครโมโซมเป็น diploid 2 แบบที่แตกต่างเพศผู้จะมีโครโมโซมเป็น haploid แบบเดียว ด้วยเหตุนี้ไข่ที่ได้รบการผสมจะเป็นเพศเมียขณะที่ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะพัฒนาไปเป็นเพศผู้ เมื่อปัจจัยหลายอย่างมารวมกันจะเป็นตัวควบคุม colony ที่จะผลิตราชินีและเพศผู้ขึ้นมาแล้ะขึ้นอยู่กับความสัมพันธุ์ของจำนวนแต่ละชนิดด้วย ตัวอ่อนของราชินีชนิดใหม่และเพศผู้จะคล้ายกันกับตัวอ่อนมดงาน แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่า เมื่ออกมาแรกๆก็จะยังคงอยู่ในรังคอยจนสภาพแวดล้อมจะเป็นตัวกระตุ้นให้ออกไปจากรัง

รูปภาพ
วงจรชีวิตมด