รังมด

รังมดก็เปรียบเหมือนบ้าน เป็นที่อยู่ของมดทุกตัวรวมทั้งไข่และตัวอ่อน เป็นที่ที่ปลอดภัยจากศัตรู เราอาจพบรังมดได้ตามที่ต่างๆ กันไป แล้วแต่ชนิดของมด มดบางชนิดสร้างรังง่ายๆ อยู่ใต้ขอนไม้ผุ ใต้ก้อนหิน หรือวัสดุต่างๆ ตามพื้นดิน บางชนิดสร้างรังอยู่บนต้นไม้ ตามกิ่งก้านต่างๆ โดยนำใบไม้มาห่อเป็นรัง และบางชนิดสร้างรังอย่างวิจิตรอยู่ใต้พื้นดินลึกเป็นเมตรๆ ส่วนบริเวณทางเข้าของรังมดเป็นทางเข้าแคบๆ เพียงรูเดียว แต่อาจมีมูลดินล้อมริบ ตั้งแต่มูลดินต่ำวงแคบๆ ไปจนถึงมูลดินสูงแผ่ขยายกว้างออกไปเป็นเมตรๆ ( มูลดินเหล่านี้มดขุดขึ้นมาจากใต้ดินจากการสร้างรังเป็นห้องต่างๆ ดังนั้นจึงพออนุมานได้ว่า รังมดที่มีมูลดินมาก รังของมันก็จะใหญ่และมีหลายห้อง ) และมดบางชนิดไม่มีรังที่แท้จริง โดยจะพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ บนพื้นดิน ในซากพืชหรือระหว่างรากพืชมดพวกนี้จะเคลื่อนย้ายรังบ่อยมาก ซึ่งเราสามารถพบได้ตามบริเวณที่เหมาะสมได้กว้างขว้าง

รังมด Messor aciculatus ( มดชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปในญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี จีน มองโกเลีย ) ที่พบในญี่ปุ่นซึ่งถือว่าเป็นรังมดที่มีความลึกที่สุดในโลกคือลึกถึง 4 เมตร ทำให้บรรดาตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตโดยอย่างสุขสบาย แม้ฤดูกาลจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เพราะดังที่กล่าวแล้วอุณหภูมิจะมีผลต่อกิจกรรมและความเป็นอยู่ของมดอย่างมาก ภายในรังที่ลึกเช่นนี้อุณหภูมิแทบจะคงที่ตลอดทั้งปี

มดงานที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกันสร้างห้องใต้ดินขยายรังแตกแขนงไปเรื่อยทางด้านข้างเพื่อเป็นการรองรับประชากรมดที่มากขึ้น
มดถือเป็นสถาปนิกตัวยงเช่นกัน เพราะห้องต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นได้รับการจัดสรรให้ใช้ประโยชน์อย่างลงตัว คือ ใช้เป็นที่อยู่ของตัวอ่อน ส่วนหนึ่งใช้เป็นห้องเก็บอาหาร ส่วนหนึ่งใช้เป็นห้องเก็บขยะที่เหลือจากการกิน และใช้เป็นห้องมดราชินี สำหรับห้องที่มดตัวอ่อนอยู่ หากห้องใดมีอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม มดงานจะจัดการคาบตัวอ่อนย้ายห้องทันทีเพื่อไว้ในห้องที่อุณหภูมิที่เหมาะสมกว่าแทน และการที่มีหลายห้องเช่นนี้ก็เป็นผลดีในแง่ของการถ่ายเทอากาศ ทำให้ไม่อับชื้นหรืออุดอู้เกินไป

รังมด
รังมดที่ลึกที่สุดในโลกลึก 4 เมตร

รังมด Messor aciculatus ( มดชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปในญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี จีน มองโกเลีย ) ที่พบในญี่ปุ่นซึ่งถือว่าเป็นรังมดที่มีความลึกที่สุดในโลกคือลึกถึง 4 เมตร ทำให้บรรดาตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตโดยอย่างสุขสบาย แม้ฤดูกาลจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม เพราะดังที่กล่าวแล้วอุณหภูมิจะมีผลต่อกิจกรรมและความเป็นอยู่ของมดอย่างมาก ภายในรังที่ลึกเช่นนี้อุณหภูมิแทบจะคงที่ตลอดทั้งปี

มดงานที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกันสร้างห้องใต้ดินขยายรังแตกแขนงไปเรื่อยทางด้านข้างเพื่อเป็นการรองรับประชากรมดที่มากขึ้น
มดถือเป็นสถาปนิกตัวยงเช่นกัน เพราะห้องต่างๆ ที่สร้างขึ้นนั้นได้รับการจัดสรรให้ใช้ประโยชน์อย่างลงตัว คือ ใช้เป็นที่อยู่ของตัวอ่อน ส่วนหนึ่งใช้เป็นห้องเก็บอาหาร ส่วนหนึ่งใช้เป็นห้องเก็บขยะที่เหลือจากการกิน และใช้เป็นห้องมดราชินี สำหรับห้องที่มดตัวอ่อนอยู่ หากห้องใดมีอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม มดงานจะจัดการคาบตัวอ่อนย้ายห้องทันทีเพื่อไว้ในห้องที่อุณหภูมิที่เหมาะสมกว่าแทน และการที่มีหลายห้องเช่นนี้ก็เป็นผลดีในแง่ของการถ่ายเทอากาศ ทำให้ไม่อับชื้นหรืออุดอู้เกินไป