ส่วนประกอบและอวัยวะภายนอก

ส่วนประกอบที่สำคัญและอวัยวะภายนอกที่สำคัญของมด มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายลักษณะที่สามารถแบ่งย่อยออกจากแมลงกลุ่มอื่นได้ เช่น มดจะมีปล้องเล็กๆ 1 ปล้อง ( petiole ) หรือ 2 ปล้อง ( Petiole กับ post petiole ) ระหว่างส่วนอกกับส่วนท้อง ซึ่งจะไม่พบในแมลงกลุ่มอื่น มีหนวดแบบหัดข้อศอก ปล้องแรกเป็นฐานหนวดมีความยาวมากกว่าปล้องที่เหลือคือ funiculus เวลาที่มีกิจกรรมส่วนของฐานหนวดจะตั้งตรงและอยู่ใกล้ส่วนหัว funiculus จะยื่นออกไปข้างหน้า ลำตัวแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่นๆ คือ ส่วนหัว ส่วนอก ปละส่วนท้อง แต่ละส่วนเป็นที่อยู่ของอวัยวะภายนอกที่สำคัญในการใช้จำแนกกลุ่มต่างๆของมด ดังต่อไปนี้
1 ส่วนหัว ( head )เป็นที่อยู่ของอวัยวะภายนอกที่สำคัญหลายชิ้นส่วน ซึ่งได้แก่
1.1ตารวม ( compound eye ) คือตาที่ประกอบด้วยหน่วยของตาเล็กๆ คือ ommatidium มารวมกันเป็นตารวมขนาดใหญ่ ด้านบนของ ommatidia ปิดด้วยเลนส์แก้งตารูปหกเหลี่ยม ซึ่งมักนูนออกทางด้านนอกเรียกว่า facet ใต้เลนส์แก้วมีลักษณะป็นกรวย เรียกว่า crystaline cone ทำหน้าที่รวมแสงไปยังจอรับภาพ ตารวมทำหน้าที่รับแสงในช่วงคลื่นต่างๆ ทำให้มองเห็นภาพในลักษณะต่างๆ ซึ่งอาจมีหรือไม่มีในมดบางชนิด ปกติมดที่อาศัยใต้ดินจพไม่มีตารวม
1.2 ตาเดี่ยว ( simple eye ) ปกติมีสามตารวมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ระหว่างตารวม เป็นตาที่ใช้ในการรับรู้ความเข้มข้นของแสงและปกติมักมีในมดเพศเมีย ( queen ) และเพศผู้ ( king )
1.3 หนวด ( antenna ) เป็นแบบหักข้อศอก ( geniculate ) จำนวน 4-12 ปล้อง ประกอบด้วยฐานหนวด scape เป็นปล้องที่ยาวที่สุด และปล้องที่เหลือถักจาก space อาจยาวหรือสั้นขึ้นอยู่กับกลุ่มของมด
1.4 frontal carina เป็นสันนูนจากด้านหน้าเหนือบริเวณปากไปทางด้านหลัง ทั้ง 2 ข้างของส่วนหัว
1.5 ริมฝีปากบน ( clypeus ) เป็นแผ่นแบนเหนือปากขึ้นไป อาจจะแคบหรือกว้างแตกต่างไปตามสกุลของมด
1.6 เขี้ยว ( mandible ) เป็นอวัยวะของส่วนปากที่ใช้ในการกัดและฉีกอาการ มี 1 คู่ ซึ่งในมดบางชนิดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดจำแนก เช่น สกุล Myrmoteras มี mandible ยาวมากกว่าความยาวส่วนหัวและสามารถกางได้ประมาณ 280 องศา อาจสั้นหรือยาว
1.7 scape of antennal เป็นร่องตื้นหรือลึกจากฐานหนวดไปทางด้านหลังของส่วนหัว
2 ส่วนอก ( thorax ) ส่วนอกของมดแบ่งเป็น 3 ปล้อง คือ อกปล้องที่ 1 ( pronotum ) อกปล้องที่ 2 ( mesonotum ) และ อกปล้องที่ 3 ( metanotum ) แต่ละปล้องอาจมีหรือไม่มีหนามแหลม ( spine ) นอกจานี้เป็นที่อยู่ของส่วนขาและปีก ปีกจะพบในมดเพศเมีย ( queen ) และเพศผู้ ( king ) อกแต่ละปล้องอาจมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่แตกต่างกันไปตามชนิดของมด ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งในการจัดจำแนกมดออกเป็นกลุ่มๆ
3 ส่วนท้อง ( abdomen ) ส่วนท้องของมดประกอบด้วย 7 ปล้อง โดยปล้องที่ 1 เชื่อมติดกับส่วนอกและปล้องที่ 3 เรียกว่า propodeum มีรูปร่างแตกต่างกันไป อาจมีหรือไม่มีหนามแหลม ( spine ) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญที่สุดของมดที่จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสกุลของมด ปล้องที่ 2 คอดกิ่วหรือไม่ก็ได้ เรียกว่า petiloe ปล้องที่ 3 อาจคอดกิ่วหรือไม่ก็ได้ ถ้าคอดกิ่วเรียกว่า post petiole ถ้าไม่เรียกคอดกิ่วเรียกว่า ส่วนท้องปล้องแรก ( first gaster ) ปล้องที่ 4 ถึงปล้องที่ 7 จะต่อกันเป็นทรงกลม ทรงรีหรือรูปไข่ waist นอกจากนี้ปบายสุดของส่วนท้องอาจมีหรือไม่มีเข็มพิษ ( sting ) ส่วนท้อง ( gaster ) แต่ละปล้องแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านบนเรียก tergite และด้านล่าง hypipygium ต่อกันทำให้ปลายส่วนท้องเป็นช่องปิด เป็นที่อยู่ของเข็มพิษ ( sting ) หรือต่อมผลิตกรดฟอร์มิกอาจมีหรือไม่มีเข็มพิษ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งในการจัดจำแนกกลุ่มของมด

รูปภาพ
ส่วนประกอบและอวัยวะภายนอกส่วนประกอบและอวัยวะภายนอกส่วนประกอบและอวัยวะภายนอกส่วนประกอบและอวัยวะภายนอก