การจูบกันของมดคืออะไร

มดเป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกับมนุษย์ มนุษย์สามารถสื่อสารกันด้วยคำพูด ลักษณะท่าทางต่างๆ แต่มดซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ มันสามารถสื่อสารกันได้อย่างไร ? สามารถเข้าใจกันได้อย่างไร ?

มดใช้ " สารเคมี " ( หรือที่เราเรียกว่า " ฟีโรโมน " ) ในการสื่อสาร ที่มีกลิ่นแตกต่างกันไปเป็นหลัก โดยอวัยวะส่วนที่สัมผัสและรับรู้กลิ่นนี้ได้ดีก็คือ " หนวด" นั่นเอง มีการเปรียบเทียบว่าหากผึ้งใช้การเต้นรำเพื่อบอกภาษาในการสื่อสาร มดก็จะใช้หนวดในการสื่อสารเฉกเช่นเดียวกัน เราคงคุ้นเคยที่เห็นมดเวลามันเจอกัน ก็มักจะใช้หนวดแตะกัน บางที่เราก็เรียกว่า มดจูบกันของมด แต่นั่นคือการสื่อสารกัน พฤติกรรมที่เราเห็นนั้นคือ มันกำลังถ่ายเทอาหารให้แก่กัน อาจเป็นตัวหนึ่งให้อีกตัวหนึ่งรับ หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน การจูบกันของมดมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. การเตือนภัย หรือบอกเหตุอันตราย
2. การดึงดูดความสนใจทั่วไป
3. การบอกตำแหน่งแหล่งอาหารและรัง
4. การช่วยเหลือตัวอ่อนเวลาลอกคราบ
5. การแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันอาหารเหลว
6. การแลกเปลี่ยนอาหารที่เป็นของแข็ง
7. อิทธิพลของกลุ่มที่มีทั้งการสนับสนุนและยับยั้งกิจกรรมที่ให้กระทำ
8. การยอมรับวรรณะของมดร่วมรัง และแบ่งแยกพวกมดที่บาดเจ็บหรือตาย
9. การกำหนดวรรณะโดยมีราชินี
10. การควบคุมการแข่งขันการสืบพันธุ์ของกลุ่ม
11. การกำหนดอาณาเขตของรังและตำแหน่งรัง
12. การสื่อสารเรื่องเพศ

เราคงคุ้นเคยที่เห็นมดเวลามันเจอกัน ก็มักจะใช้หนวดแตะกัน บางที่เราก็เรียกว่า มดจูบกัน แต่นั่นคือการสื่อสารกัน พฤติกรรมที่เราเห็นนั้นคือ มันกำลังถ่ายเทอาหารให้แก่กัน อาจเป็นตัวหนึ่งให้อีกตัวหนึ่งรับ หรือการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

สารเคมีเปรียบเหมือนกลิ่นประจำตัวที่ทำให้หมดสามารถแยกแยะตัวอื่นได้ว่า เป็นมดกลุ่มเดียวกันหรือมาจากต่างกลุ่มกัน บางทีเวลามันเจอมดต่างกลุ่มจากแดนไกลก็ใช่ว่าจะต้องบู๊กันเสมอไป มีผู้เชี่ยวชาญมดท่านหนึ่งเคยศึกษาและพบว่า มดในทะเลทรายอริโซนาชนิดหนึ่ง เมื่อมันพบมดต่างกลุ่มที่มาจากแดนไกล มันกลับไม่ค่อยรังเกียจเท่ากับเพื่อนมดบ้านของมันเอง เหตุผลคือเพราะมดต่างกลุ่มที่มีรังใกล้กับรังของมันนั้น มักจะเป็นคู่แข่งในเรื่องแย่งแหล่งอาหารกันนั่นเอง

กลิ่นของสารเคมียังช่วยให้มันแยกแยะชั้นวรรณะได้ คือทำให้มันรู้วาพี่น้องมันตัวไหนเป็นมดงาน ตัวไหนเป็นเพศผู้ หรือตัวไหนเป็นมดราชินี อีกทั้งยังรู้ด้วยว่าตัวอ่อนที่เป็นน้องของมันอยู่ในระยะไหนแล้ว เพราะถ้าใกล้ลอกคราบมันก็จะมาช่วยด้วย เพราะปกติในรังมืดนั้นก็มืดอยู่แล้ว แถมมดยังตาไม่ค่อยดีอีกต่างหาก การสัมผัสโดยรับรู้จากกลิ่น ทำให้เป็นการกำหนดพฤติกรรมของมันไปด้วยในตัว

เมื่อมดออกนอกรัง โลกใบใหญ่อันกว้างขวางของมันนั้น มันรับรู้ได้โดยใช้สารเคมีนี้ช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจสิ่งของรอบตัว หรือแหล่งอาหาร เมื่อมันพบแล้วมันก็ยังต้องพึ่งเส้นทางจากสารเคมีนั้นเองเพื่อใช้เป็นเส้นนำทางกลับรังไปบอกพรรคพวกและเดินเส้นทางเดิมโดยไม่หลงทางเพื่อไปลากอาหารกลับรัง เราอาจเรียกทางนี้ว่า " เส้นทางมด " ซึ่งเส้นทางของสารเคมีจากตัวมันนั่นเอง
อีกทังเมื่อรังของมันถูกคุกคามจากศตรูภายนอก ก็เป็นสารเคมีนี้อีกนั้นแหละที่มีบทบาท โดยราชินีจะเป็นผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยออกไปเพื่อให้ใดงานทั้งหลายมาปกป้องเธอและไข่
จะเห็นได้ว่า สารเคมีจากตัวมดนี้ มีบทบาทต่อวิถีชีวิตพวกมันมากทีเดียว

รูปภาพ
มดกำลังแบ่งปันน้ำหวานให้แก่กัน