ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
                                
  กล่องข้อความ:         ปัญหามลภาวะทางอากาศในทุกวันนี้อยู่ในระดับที่อันตราย  ทราบจาก
 ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศของหน่วยงานรัฐ    ได้ระบุถึงปริมาณฝุ่น     ละอองแขวนลอย และสารเคมีในอากาศ  ในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง 
และแหล่งของโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีควันไฟ  เขม่า ฝุ่นละออง  ตลอดจนก๊าซพิษต่างๆ ออกมามากโดยขาดการป้องกัน เช่น การใช้เครื่องกรองอากาศก่อนปล่อยควันออกจากโรงงาน เป็นต้น    
 
                                       
   

 
             สารพิษ
 

                   
                         แหล่งที่มา
 


1. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์   (SO2)

การเผาไหม้ถ่านหิน  น้ำมัน โรงงานกลั่นน้ำมัน 
โรงงานถลุงโลหะและทำกระดาษ  โรงงานไฟฟ้า
ที่ใช้ทำถ่านหิน
 


2. อนุภาคฝุ่นละออง


โรงงานต่างๆ เช่น โรงงานน้ำมันพืช โรงงานทำแป้ง
โรงงานย่อยหิน การก่อสร้าง ฯลฯ
 


3. ไนโตรเจนไดออกไซด์  (NO2)


โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ 
ควันเสียจากรถยนต์
 


4. คาร์บอนมอนอกไซด์  (CO)


การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนน้อย
 


5.
ไฟโตเคมิคัลออกซิแดนท์


เกิดจากปฏิกิริยาในบรรยากาศโดยแสงอาทิตย์
เป็นตัวกระตุ้นให้ 
HC , NO2 และ O
ทำปฏิกิริยากัน  ได้สารชนิดใหม่เช่นโอโซน(O2)
 และ PANs (peroxyacyl  nitrates
)
 


6. ตะกั่ว  (Pb)


ละอองตะกั่วได้จากการใช้น้ำมันที่มีตะกั่วผสม
กับรถยนต์   การบัดกรีหรือการเชื่อมโลหะ  ได้จาก
สีที่มีตะกั่วผสม  และโรงงานถลุงตะกั่ว
 


7. ปรอท  (Hg)


โรงงานกระดาษ  สารเคมี  สีทาบ้าน  ยากันเชื้อรา
ยาฆ่าแมลง

  กล่องข้อความ: ผลกระทบของสารมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ
       

 1. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์   (SO2)  
ผลเฉียบพลัน เกิดอาการระคายเคืองของท่อทางเดินหายใจทำให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว และขับ
ของเหลวออกมาสะสมในเอเยื่อ  ก่อให้เกิดอาการบวมน้ำในเนื้อเยื่อ  ทำให้ท่อลมหดตัวอย่างรุนแรง 
หายใจขัด  เกิดอาการหอบหืด  คล้ายโรคภูมิแพ้   ซึ่งทำให้ทางเดินอากาศสู่ปอดตีบแคบขึ้น   หายใจ
ไม่สะดวก อากาศระบายออกจากปอดได้ไม่สมบูรณ์ เกิดการสะสมของเชื้อโรคในปอด และเกิดการ
ติดเชื้อได้ง่าย
 
2. อนุภาคฝุ่นละออง

ผลต่อสุขภาพมากหรือน้อย ขึ้นกับชนิดและขนาดของอนุภาคของสารมลพิษ  โดยทั่วไป
ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อท่อทางเดินหายใจ   มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน หรือ ระบบต่างๆ ในร่างกาย

3. ไนโตรเจนไดออกไซด์  (NO2)       

มีผลทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของระบบหายใจแตก  และเกิดอาการบวมน้ำ (edema)   สภาพ
ความเป็นกรดของสารจากการที่เยื่อหุ้มเซลล์ถูกทำลาย ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอด
   
ทำให้ทำงานได้น้อยลง  หัวใจข้างขวาซึ่งมีหน้าที่รับและสูบฉีดเลือดเสียไปปอด ต้องทำงานมากขึ้น

 

4. คาร์บอนมอนอกไซด์  (CO)      

  ผลเฉียบพลันทำให้ขาดออกซิเจน (asphyxiation) เนื่องจาก CO จะแย่งที่ของ O2
จะไปจับกับฮีโมโกลบินในเลือดแทน  ทำให้หัวใจและสมองถูกทำลายเพราะขาด
O2 มีผลให้การ
มองเห็นเสื่อมลง  อีกทั้งยังมีผลระยะยาวคือ มีเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด  เนื่องจาก
ร่างกายจำต้องปรับตัวเพื่อให้ได้รับ
O2 ที่เพียงพอ  เป็นสาเหตุให้เลือดข้น  ไหลเวียนยาก  ก่อให้
เกิดอาการอ่อนเพลีย  กล้ามเนื้อและประสาทอ่อนล้า  ปวดศีรษะ

 

5. ไฟโตเคมิคัลออกซิแดนท์         

 ส่งผลให้ปอดทำงานน้อยลง และทำให้หัวใจด้านขวาซึ่งทำหน้าที่รับเลือดเสียและส่งไป
ฟอกยังปอด ต้องทำงานมากขึ้น  และยังมีโอกาสเสี่ยงเป็น
รคถุงลมโป่งพอง (emphysema)
มีการสะสมเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในปอด  การล้มเหลวของหัวใจข้างขวา ทำให้เนื้อเยื่อของระบบหายใจ
และปอดหมดสภาพการทำงานเร็วขึ้น

 
6. ละอองตะกั่ว 

ทำให้คอแห้งปวดแสบปวดร้อนในท้อง คลื่นไส้และอาเจียนอาจมีอาการท้องร่วง และมีอาการ
ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นตะคริวโดยเฉพาะที่ขา  ถ้าเด็กได้รับสารพิษนี้เข้าร่างกาย จะทำให้โลหิตจาง
 อ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร  ท้องผูก และทำลายระบบประสาท มีอาการร่วมคือ  หงุดหงิด นอนไม่หลับ 
สติปัญญาเสื่อมลง  มีผลต่อการควบคุมของระบบประสาทต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวมาก
  เช่น  มือและเท้า