หลักการใช้สี

ทฤษฎีสี

สี คือ ลักษณะความเข้มของแสงที่กระทบมาสู่สายตา เป็นสิ่งที่ดลบันดาลให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ตามอิทธิพลของสี     แม่สีวัตถุธาตุ  มีอยู่ 3 สี คือ น้ำเงิน แดง เหลือง


                   
ขั้นที่ 1

1.        สีน้ำเงิน

2.       สีแดง                     นำทั้ง 3 สีนี้มาผสมกันได้สีกลาง

3.        สีเหลือง      

    ขั้นที่ 2   เป็นการนำสีแท้ 2 สีมาผสมในปริมาณเท่าๆ กัน

+ =
น้ำเงิน +  แดง
= ม่วง

+ =
น้ำเงิน + เหลือง  = เขียว

+ =
แดง + เหลือง = ส้ม

                    ขั้นที่ 3  เป็นการน้ำสีขั้นที่ 2 มาผสมกับแม่สี

+ =
เหลือง+ เขียว 
= เขียวอ่อน

+  =
น้ำเงิน + เขียว = เขียวแก่

+ =
น้ำเงิน + ม่วง  = ม่วงน้ำเงิน

+ =
แดง   + ม่วง   = ม่วงแดง

+ =
แดง  + ส้ม
   = แดงส้ม

+ =
เหลือง + ส้ม = ส้มเหลือง

                    วรรณะร้อน  ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย เหลือง เหลืองส้ม แดงส้ม แดง ม่วงแดง

                     วรรณะเย็น   ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย เขียวอ่อน เขียว เขียวแก่ น้ำเงินม่วงน้ำเงิน

สีเหลืองและสีม่วง จัดได้ทั้งวรรณะร้อนและเย็น

สีคู่ของแม่สี  คือสีในวงล้อสีที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นสีที่ตัดกัน

น้ำเงิน ส้ม
เหลือง ม่วง
เขียวอ่อน ม่วงแดง
แดง เขียว
ส้มเหลือง ม่วงน้ำเงิน
เขียวน้ำเงิน แดงส้ม

         กลุ่มสีที่มีส่วนผสมของแม่สีเป็นหลัก และให้ความรู้สึกคล้ายๆ กัน แบ่งออกเป็น 3 สกุล คือ

สกุลสีแดง ประกอบด้วยสี 7 สี คือ ส้มเลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง ม่วง และม่วงน้ำเงิน

สกุลสีเหลือง ประกอบด้วยสี 7 สี คือ ส้มแดง ส้ม ส้มเหลือง เหลือง เขียวเหลือง เขียว และเขียวน้ำเงิน

สกุลสีน้ำเงิน ประกอบด้วยสี 7 สี คือ เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง และม่วงแดง

Tint หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีขาว ทำให้ผลงานดูนุ่มนวล อ่อนหวานสบายตา

Tone หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีเทา ทำให้ความเข้มของสีลดลง ให้ความรู้สึกที่สงบ ราบเรียบ

Shade หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีดำ ทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง ทำให้รู้สึกขรึม ลึกลับ

กลุ่มสีจาง คือสีที่มีความสดใสน้อย เช่น สีเขียวอ่อน เหมาะกับงานที่ต้องการความนุ่มนวล อ่อนหวาน น่ารัก มักเป็นที่นิยมของกลุ่มเด็ก วัยรุ่น สตรี

กลุ่มสีเจิดจ้า คือสีที่มีความสดใส เหมาะกับงานที่ต้องการให้เด่นสะดุดตา

กลุ่มสีสงบ คือสีที่ลดความสดใสลงทำให้รู้สึกเบา อ่อน สงบ เงียบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีสว่าง (สีแท้ผสมสีเทา ทำให้รู้สึกสงบ ราบเรียบ เบาแต่สว่าง), กลุ่มสีหม่น (สีแท้ผสมสีดำ ให้ความรู้สึกเป็นพิธีการใช้ได้ทุกโอกาส)

กลุ่มสีเข้มลึก เป็นสีที่มีน้ำหนักเข้ม ให้ความรู้สึกหนักแน่น จริงจัง เช่น สีเขียวหัวเป็ด แดงปูน เหลืองทอง เป็นต้น เหมาะกับลวดลายที่เป็นสีเดียวหรืองานที่เน้นลายมากกว่าภาพ เช่น ลายบ้านเชียง

-ใช้สีที่มีความสดใสที่สุดเป็นจุดศูนย์กลาง แล้วใช้สีหม่นล้อมรอบลวดลายที่ไม่จุดเน้น สีหม่นจะช่วยขับสีที่มีความเด่นอยู่แล้วให้เด่นยิ่งขึ้น

-ใช้สีตรงกันข้าม สีดำ สีทอง หรือสีเข้มตัดเส้น หรืออาจเน้นสีขาวแทนได้ จะทำให้ผลงานดูสดใสขึ้น

-ใช้กลุ่มสีที่ลักษณะแตกต่างกันระหว่างรูปกับพื้น เช่น กลุ่มสีเจิดจ้ารวมกับกลุ่มสีสงบ

หมายถึง การใช้สีใดสีหนึ่งในผลงานแล้วเพิ่มหรือลดค่าของสีให้เกิดค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ หรืออาจใช้แม่สีเป็นสีหลักในการระบายสีและมีสีอื่นประกอบด้วยไม่เกิน 5 สี สีเอกรงค์จะไม่มีการตัดกัน มีส่วนทำให้งานที่ออกมามีความกลมกลืนกันสวยงาม

 

การเขียนสีลงบนเครื่องปั้นดินเผา

      สีที่สามารถเขียนลงบนเครื่องปั้นดินเผาได้นั้นมีหลายชนิด เช่น สีโปสเตอร์ สีน้ำ สีฝุ่น สีน้ำมันอะครีลิค แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สีน้ำมันอะครีลิค และสีน้ำเพราะเขียนได้รวดเร็ว สามารถทำเป็นอุตสาหกรรมได้
        การเขียนสีลงบนเครื่องปั้นดินเผานั้นควรคำนึงถึงสีของพื้นหลังและการเขียนสีเบื้องหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับภาพและลวดลายที่เราจะเขียน ซึ่งปัจจุบันแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
               

    ซึ่งนิยมเขียนด้วยสีน้ำ จากนั้นพอกด้วยโคลน ขัดด้วยกระดาษทราย แล้วก็ลงน้ำยาเคลือบเงา ซึ่งมีต้นฉบับการทำอยู่ที่ด่านเกวียน (โคราช)

 

    นิยมเขียนด้วยสีน้ำมันอะครีลิค เพราะเป็นสีที่มีคุณสมบัติมันวาว และมีสีสันสดใส ใช้สีที่มีคุณสมบัติแห้งช้าในการรองพื้น แล้วจึงใช้สีที่มีคุณสมบัติแห้งเร็วในการปัดแต่งสีให้ดูคล้ายผิวเคลือบเซรามิค ตกแต่งตามลวดลายต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นลายที่อยู่ในเครื่องปั้นดินเผาอยู่แล้ว แหล่งที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามนั้นมาจากโดราช  แถวใกล้เคียงนั้นมีลวดลายไม่ค่อยงดงามมากนัก