หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงสุดได้สะสมและพัฒนาความรู้
และใช้ความรู้เป็นพื้นฐานในการพัฒนา (สกศ. ความรู้เพื่อการพัฒนา, 2542) ดังนั้น
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงได้ให้ความสำคัญกับ "หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา"
ด้วยเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีจะเป็น "เครื่องมือ" และ "วิธีการเรียนรู้"
ที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาส "เข้าถึง" ความรู้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการ
ทั้งนี้ โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เป็นโครงการหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมโยงให้โรงเรียนต่างๆ
ในประเทศไทยได้เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน
ให้เยาวชนไทยได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ระหว่างโรงเรียน ครูกับครู
ครูกับนักเรียน ครูกับผู้ปกครอง นักเรียนด้วยกันเอง และจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า การขยายให้โรงเรียนได้เข้าสู่เครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
มีครูนักเรียนเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมากและอย่างง่ายดาย ปัญหาสำคัญคือ
เมื่อนักเรียนและครูเชื่อมโยงมายังเครือข่าย จะพบข้อมูลหรือเนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์ได้น้อย
นักเรียนและครูจึงเรียกดูข้อมูลจากต่างประเทศ ซึ่งข้อมูลมักเป็นเรื่องความสนุกเพลิดเพลิน
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาข้อมูลหรือเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทั้งวิชาการในชั้นเรียน
และวิชาการอื่นๆ จำเป็นต้องพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโครงการพัฒนาเนื้อหาความรู้เพื่อโรงเรียนไทย
(Digital Library) เพื่อจัดทำต้นแบบห้องสมุดดิจิทัลหรือห้องสมุดเสมือน (virtual
Library) ที่มีเนื้อหาสาระประกอบด้วยเอกสารข้อความที่เป็นความรู้ ภาพ เสียง
สไลด์ สื่อช่วยสอน วีดีโอ โดยเริ่มต้นที่ 7 หมวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคือ
คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมี สิ่งแวดล้อม และพื้นฐานวิศวกรรม
จำนวน 1,113 เรื่อง เผยแพร่ที่ URL http://school.net.th/library/
การสร้างข้อมูลหรือเนื้อหาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
และให้มีเนื้อหาครบถ้วนหลากหลาย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างโรงเรียนทั้งหมด
กล่าวคือ ผู้ที่มีข้อมูลหรือเนื้อหาก็คือ ครูอาจารย์ทั้งหมด และผู้ที่จะทำการสร้างเนื้อหาเหล่านี้ต้องมาจากครูอาจารย์
ด้วยเหตุนี้เอง หากขยายผลแบบทวีคูณ (multiply) ทุกโรงเรียนมีเนื้อหากันคนละนิดละหน่อย
"ครูอาจารย์สร้างคนละ 1 เรื่อง เพียงโรงเรียนละ 10 คน 100 โรงเรียนก็กลายเป็น
1,000 เรื่อง" และนำเนื้อหาเข้าไปรวมกันแบบ เสมือน (virtual) ไว้ที่
Digital Library กลายเป็นแหล่งความรู้มหาศาล ใช้เป็นเวทีให้เด็กนักเรียนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้ได้
ด้วยตระหนักถึงพลังความร่วมมือของครูที่จะสร้างเนื้อหาร่วมกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำโครงการอบรมครูสร้างเนื้อหาบนเครือข่ายด้วยเครื่องมืออย่างง่าย
Digital Library Toolkit ขึ้น เพื่อให้ครูที่ไม่มีความรู้พื้นฐานการสร้างเว็บเพจ
สามารถนำข้อมูลหรือเนื้อหาที่ตนเองมีอยู่ มาสร้างเป็นเนื้อหาที่สามารถเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
และรวมกันแบบเสมือนไว้ที่ Digital Library โดยจะคัดเลือกครูอาจารย์หลากหลายหมวดวิชาจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ที่มีข้อมูลหรือเนื้อหาของตนเองอยู่แล้ว และประสงค์ที่จะนำเนื้อหาของตนเองมาเผยแพร่แก่สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ให้สามารถใช้ Digital Library Toolkit ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างง่ายที่พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักความสะดวกรวดเร็ว
และง่ายต่อการสร้าง อีกทั้งมีการจัดเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ มีคำสำคัญ (keyword)
ให้สืบค้นได้ง่ายอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อพัฒนาข้อมูลหรือเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทั้งวิชาการในชั้นเรียน และวิชาการอื่นๆ
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ ให้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันบนเครือข่าย
ตลอดจนเป็นตัวอย่างการเรียนรู้แบบใหม่บนเครือข่าย
2.
เพื่อพัฒนาศักยภาพครูอาจารย์ทั่วประเทศ ให้สามารถสร้างผลงานทางวิชาการในรูปแบบที่สามารถเผยแพร่ในวงกว้างผ่านเครือข่ายได้
3.
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สร้างสิ่งแวดล้อมแก่นักเรียนที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง
ให้ได้มีเวทีแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือ ตลอดจนให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในกิจกรรมส่งเสริมให้ใฝ่รู้
และลดการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียกดูข้อมูลสนุกเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว
เป้าหมาย
ครูอาจารย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากหลากหลายหมวดวิชาประมาณ
200 คน สามารถพัฒนาเนื้อหาของตนเอง และนำมาเผยแพร่ให้สาธารณะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันบน
Digital Library ผ่านเครือข่าย SchoolNet ประมาณ 2,000 เรื่อง
เวลา รุ่นการอบรม
และจำนวนผู้เข้าอบรม
ระหว่าง
1 กุมภาพันธ์ 2545 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2545 การอบรมแบ่งเป็น 4 รุ่นๆ ละ 1
วัน ผู้เข้าอบรมรุ่นละ 50 คน รวมเป็น 200 คน
รุ่นที่
1 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2545 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน
รุ่นที่
2 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน
รุ่นที่
3 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน
รุ่นที่
4 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2545 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 50 คน
สถานที่การอบรม
ณ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ซอยเจริญกรุง 57 ถนนเจริญกรุง
เขตสาธร กรุงเทพฯ 10120 >>แผนที่แสดงที่ตั้ง<<
ต่างจังหวัด
>>ร่วมกับสถานศึกษาที่มีความพร้อม
และโครงการรวมพลังเพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะจัดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
โดยประมาณ จำนวน 6 รุ่น รวม 300 คน โดยจะกำหนดวันเวลาและสถานที่ ที่แน่นอนต่อไป
>>ต่างจังหวัด
ณ.สถานศึกษาที่มีความพร้อม และ/หรือ สถานที่จัดงานโครงการรวมพลังเพื่อปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งจะจัดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
กำหนดการอบรม
8.30
- 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00
- 9.30 น. พิธีเปิดและกล่าวต้อนรับ
9.30
- 10.15 น. รู้จักกับ
Digital Library และกิจกรรมสำหรับเยาวชน
โดย
เจ้าหน้าที่โครงการ SchoolNet ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
10.15
- 10.30 น. ----
รับประทานอาหารว่าง ----
10.30
- 11.15 น. ครูจัดทำเนื้อหาเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ประโยชน์อย่างไร
และแรงจูงใจในการจัดทำ
โดย
นายพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
11.15
- 12.00 น. อินเทอร์เน็ตคืออะไร
นำเนื้อหามาใช้ลักษณะใดบ้าง และเทคนิคค้นหาเนื้อหาที่ต้องการโดย
เจ้าหน้าที่โครงการ
SchoolNet ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
12.00
- 13.00 น. ----
รับประทานอาหารกลางวัน ----พร้อมชมวิดีโอตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ในวิชาต่างๆ
เช่น ชีววิทยา เคมี สปช
13.00
- 14.30 น. สร้างเนื้อหาบนเครือข่ายด้วย
Digital Library Toolkit โดยไม่มีความรู้พื้นฐานการสร้างเว็บเพจ
14.30
- 15.00 น. เทคนิคการ
scan ภาพที่จะใช้เผยแพร่บนเครือข่าย
15.00
- 15.15 น. ----
รับประทานอาหารว่าง ----
15.15
- 15.45 น. หารือถึงการพัฒนาเนื้อหาร่วมกันบนเครือข่าย
15.45
- 16.30 น. เชื่อมต่อเครือข่าย
SchoolNet ผ่านเลขหมาย 1509 ได้อย่างไร พร้อมรับบัญชี 1509
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
1.
ผู้เข้าอบรมจะต้องเป็นครูอาจารย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สอนวิชาใดก็ได้
เป็นครูสอนคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ได้
2.
ไม่ต้องมีความรู้พื้นฐานสร้างเว็บเพจ หรือใช้งานอินเทอร์เน็ตมาก่อน
3.
สามารถสามารถใช้ windows และใช้โปรแกรม Microsoft Word หรือ Notepad ได้
4.
จะต้องนำข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการสร้างสื่อการเรียนการสอนมาด้วย โดยพิมพ์บน
Microsoft Word หรือ Notepad หรือเขียนด้วยมือ 1-2 หน้ามาในวันอบรมด้วย
5.
จะต้องนำรูปที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหรือเนื้อหาที่จะสร้างสื่อการเรียนการสอนมาในวันอบรมด้วย
การสมัคร เตรียมตัวเข้ารับการอบรม
ส่งใบสมัครและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ โทรศัพท์ 0-2668-7123 ต่อ 2530,2532
โทรสาร 0-2668-7329 หรือ โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย โทรศัพท์
0-2247-8288 โทรสาร 0-2247-8055
1.
ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามคุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
2.
ส่งใบสมัคร พร้อมตัวอย่างข้อมูลหรือเนื้อหาอย่างน้อย 1 เรื่อง มาประกอบการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม
3.
ครูที่จะเข้ารับการอบรมจะต้องนำข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการสร้างสื่อการเรียนการสอนมาด้วย
โดยพิมพ์บนMicrosoft Word หรือ Notepad หรือเขียนด้วยมือ 1-2 หน้า มาในวันอบรมด้วย
4.
ครูที่จะเข้ารับการอบรมจะต้องนำรูปที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา มาในวันอบรมด้วย
ลักษณะของข้อมูลหรือเนื้อหาที่นำมา
พร้อมตัวอย่าง
ข้อมูลหรือเนื้อหาจะต้องมีลักษณะดังนี้
1.
เป็นข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ปรากฎในหนังสือที่จำหน่ายอยู่แล้ว
2. เป็นข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการสร้างเพิ่มเติมจากบทเรียนที่มอบหมายให้เด็กทำอยู่แล้วหรือเป็นข้อมูลหรือเนื้อหาที่ต้องการให้เด็กค้นคว้าเพิ่มเติม
หรือเป็นรายงานที่ดีเยี่ยมซึ่งมีการจัดทำไว้แล้ว
3.
เนื้อหาและรูปภาพที่นำมา จะต้องไม่มีปัญหาลิขสิทธิ์ กล่าวคือ
-
สำหรับเนื้อหา จะต้องเขียน/แต่ง/เรียบเรียงด้วยตนเอง
-
สำหรับรูปภาพ จะต้องเป็นภาพที่ถ่าย/วาดด้วยตนเอง
-
หากเนื้อหา-รูปภาพนำมาจากแหล่งอื่น จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และระบุที่มาของเนื้อหา-รูปภาพ
ตัวอย่างข้อมูลหรือเนื้อหา
"รามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ"
รามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนบทละคร จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อรวบรวมวรรณคดีเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไว้มิให้
สูญหาย ที่มาของเรื่อง นำมาจากวรรณคดีเก่าแก่ของอินเดียชื่อ "คัมภีร์รามายณะ"
เรื่องย่อ ไมยราพเจ้าเมืองบาดาล มีกล้องยาวิเศษพร้อมมนต์สะกด เมื่อเป่ายา
และร่ายมนต์ก็สามารถสะกดคนให้หลับหมดได้ ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระรามก่อนทำศึกกับพระราม
ไมยราพฝันเป็นลางว่า มีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์ โหรทำนายว่าพระญาติ(ไวยวิก)จะได้ขึ้นครองเมืองแทน
ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและมารดาคือนางพิรากวน(พี่สาวของไมยราพ)ไปขังไว้
ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบังพระอาทิตย์แล้วจับไปได้ พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้
เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้นพระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงพยายามหาทางป้องกันโดยเนรมิตกายให้ใหญ่อมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้
แต่ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรู้ความลับนี้ จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศกวัดแกว่งกล้องทิพย์ทำให้เกิดความสว่าง
พลลิงทั้งหลายที่อยู่ยามเข้าใจว่าเป็นเวลาเช้าแล้วก็พากันละเลยต่อหน้าที่
บ้างก็นอนหลับ บ้างก็หยอกล้อกันไมยราพจึงย่องเข้าไปเป่ายาสะกดไพร่พลในกองทัพของพระรามจนหลับใหลไปหมด
แล้วจึงแบกพระรามพาแทรกแผ่นดินไปยังเมืองบาดาล เมื่อถึงเมืองบาดาลไมยราพสั่งให้นำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็ก
และนำไปไว้ยังดงตาลท้ายเมืองบาดาล จัดทหารยักษ์จำนวนโกฏิหนึ่ง( ๑๐ ล้านตน)เฝ้าเอาไว้อย่างแน่นหนา
และสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น
ทางกองทัพของพระรามเมื่อทราบว่าพระรามถูกลักพาตัวไปให้หนุมานตามไปช่วยพระรามที่เมืองบาดาล
ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ หลายด่าน คือ ด่านกำแพงหินที่มียักษ์รักษานับพัน
ด่านช้างตกมัน ด่านภูเขากระทบกันเป็นเปลวไฟ ด่านยุงตัวโตเท่าแม่ไก่ และด่านมัจฉานุ(บุตรของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา)
หนุมานสามารถผ่านด่านต่างๆได้ และได้ขอให้มัจฉานุบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้
แต่มัจฉานุนึกถึงพระคุณของไมยราพที่ชุบเลี้ยงตนเป็นบุตรบุญธรรม จึงเลี่ยงบอกทางไปเมืองบาดาลให้หนุมานทราบเป็นความนัยให้หนุมานนึกเดาเอา
หนุมานจึงตามไปถึงเมืองบาดาลพบนางพิรากวนออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใยบัวติดสใบนางเข้าไป
หนุมานค้นหาพระรามจนพบแล้วร่ายมนต์สะกดยักษ์ที่อยู่เวรยามให้หลับหมดพาพระรามออกมาจากเมืองบาดาลและไปฝากเทวดาที่เขาสุรกานต์ให้ช่วยดูแลพระราม
ส่วนตนเองก็ย้อนกลับไปสู้กับไมยราพ และฆ่าไมยราพตายในที่สุด
โดย : นาง พร้อมพร ไตรศิวะกุล, โรงเรียนนารีนุกูล, วันที่ 26 พฤศจิกายน 2544
ประมวลภาพการอบรมครูสร้างเนื้อหา
|