สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่จะสังเกตเมื่อดูอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือเครื่องแสดงผลและไม่ใช่เรื่องบังเอิญเสียด้วยที่การแสดง
ผลมีไว้เพื่อดึงดูดความสนใจ ถึงแม้ว่าอิล็กทรอนิกส์จะเจริญก้าวหน้าถึงขั้นรับรู้เสียงพูดแล้วก็ตามแต่คนส่วนใหญ่ยังสน
ใจกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางการมอง การแสดงผลมีตั้งแต่จอคอมพิวเตอร์ไปจนถึงหลอดไฟเตือนให้รู้ว่าเครื่อง
เปิดอยู่ถึงแม้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะทันสมัยน่าประทับใจ แต่เรายังคงเห็นสิ่งประดิษฐ์ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1897
นั่นคือหลอดรังสีแคโทดหรือซีอาร์ที (CRT) แม้จะพยายามหาทางเลือกใหม่ๆ เพื่อให้ได้หลอดที่เล็กและราคาถูกลงก็ตาม
แต่ซีอาร์ทีก็ยังคงให้ภาพที่ยอดเยี่ยมที่สุดเพราะให้รายละเอียดของภาพและความคมชัดมากกว่า ทั้งยังให้ภาพในมุมที่กว้าง
กว่าหลอดชนิดอื่นแต่ถ้าหากเราไม่ต้องการภาพที่คมชัดก็มีทางเลือกอื่น ๆ อีกมาก เช่นเครื่องแสดงผลด้วยผลึกเหลวหรือ
แอลซีดี (liquid crystal display, LCD) ที่ใช้กำลังไฟน้อย ไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี(light emitting diode, LED)
หรือเครื่องแสดงผลไฟฟ้าเชิงกลที่ทำเป็นป้ายขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจนหรือจะแสดงผลด้วยฟลูออเรสเซนซ์สุญญา
กาศซึ่งใช้หลักการ เดียวกันกับซีอาร์ทีที่ทำให้เกิดตัวเลขสีเขียวสว่างปรากฎที่เครื่องวิดีโอ
ผู้เขียน : รศ. ยุทธ อัครมาส
เรียบเรียงจาก : หนังสืออิเลกทรอนิกส์ หน้าที่ 44
ใหญ่กว่าของจริง
เรายังทำจอภาพจากหลอดรังสีแคโทด (ซีอาร์ที) ให้มีขนาดใหญ่มากไม่ได้แม้ว่าซีอาร์
ทีขนาดเล็กเมื่อใช้ร่วมกับเลนส์จะฉายภาพได้กว้างถึง2เมตร(6ฟุต6นิ้ว)และเครื่องฉาย
ภาพที่ใช้หลอดรูปโค้งที่ควบคุมด้วยซีอาร์ทีจะให้ภาพดีกว่าก็ตามหลอดคายประจุอย่าง
ที่ใช้กันตามป้ายโฆษณานั้นนำมาทำเป็นจอภาพขนาดมหึมาได้ ภาพที่แยกเป็นส่วนเล็กๆ
จะถูกส่งไปยังหลอดสีแดง เขียวและน้ำเงินนับพัน ๆ หลอด การแสดงผลแบบนี้เห็นกัน
จนชินตาในการแข่งขันกีฬานานาชาติช่วยให้ผู้ชมได้เห็นภาพอย่างใกล้ชิดภาพนี้เราจะ
เห็นนักวิ่งยืนเรียงแถว เตรียมตัวเริ่มออกวิ่งมาราทอนในการแข่งขันโอลิมปิกที่ลอสแอง
เจลิสเมื่อปี ค.ศ. 1984
หลอดโทรทัศน์สี
หลอดภาพโทรทัศน์นี้แท้จริงแล้วเป็นการนำหลอดรังสีแคโทด 3
หลอด ที่ทำให้เกิดสีแดงเขียวและน้ำเงินรวมไว้ในหลอดเดียวกัน
แม่สีทั้งสามผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้เกือบทุกสีหลอดภาพดังกล่าว
มีปืนยิงลำอิเล็กตรอนอยู่ที่ส่วนคอดและมีหน้ากากโลหะโปร่งบังอยู่
ใกล้จอภาพในตำแหน่งที่ทุกจุดบนจอภาพจะรับอิเล็กตรอนได้จาก
การยิงลลำแสงเพียงครั้งเดียวเท่านั้นทุกจุดที่รับอิเล็กตรอนจากลำ
แสงสี "แดง"ของจอภาพ ซึ่งเคลือบด้วยสารฟอสฟอร์นั้นจะเรือง
แสงสีแดงเมื่อถูกอิเล็กตรอนชน และจะเกิดขึ้นแบบเดียวกันในสีเขียว
และสีน้ำเงินผลคือได้เป็นภาพมีสีครบถ้วน ซึ่งเกิดขึ้นจากแถบของสี
แสงเพียง 3 สี
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม
สิ่งประดิษฐืไฟฟ้าเชิงกลเช่นเครื่องนี้อยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองอัมสเตอร์ดัมในประเทศ
เนเธอร์แลนด์ให้การแสดงผลที่ใหญ่และชัดเจน ข้อได้เปรียบอยู่ตรงที่มันจะใช้กำลังไฟเฉพาะ
ตอนที่เปลี่ยนข้อความเท่านั้นส่วนเวลาอื่นกลไกจะคงสภาพเดิมของข้อความสุดท้ายที่ส่งมา
แอลซีดี ทำงานอย่างไร

ผลึกเหลวเหมือนของเหลวธรรมดา แต่มีบางชนิดที่หักเหแสง
ได้เช่นเดียวกับแว่นกันแดดผลึกเหลวถูกกักอยู่ระหว่างแผ่นแก้วที่มีผิว
หน้าชนิดพิเศษโดยโมเลกุลของผลึกเหลววางแบนราบและจัดตัว
เป็นแนวบิดซึ่งช่วยนำทางให้แสงผ่านแผ่นตัวทำแสงโพลาไรส์2
แผ่นที่วางขวางกันอยู่แต่ความต่างศักย์ระหว่างแผนทำให้โมเลกุล
เหยียดตรงมันจะไม่เปิดทางให้แสงอีกต่อไปและส่วนแสดงผลเอง
ก็เปลี่ยนเป็นทึบแสง
นาฬิกาลองจินส์

นาฬิกาเรือนนี้ผลิตขึ้นมาเมื่อต้นทศวรรษ 1960 ขณะที่การแสดงผลเชิงตัวเลขยังมีค่อนข้างน้อยตัวเลขเกิดสขึ้นจากหลอด "นิกซี"
(Nixie)ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับหลอดไฟที่ใช้เป็นที่สังเกตเมื่อสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดอยู่วงจรควบคุมการเรียงลำดับต่อกับขั้ว
ไฟฟ้าภายในทำให้เกิดการปล่อยประจุสีส้มขึ้นรอบขั้วไฟฟ้าแสดงผลขั้วใดขั้วหนึ่งระหว่าง 0-9 จึงปรากฎรูปร่างแสดงตัวเลข
การสแกนตรวจร่างกาย

เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์และการแพทย์ขึ้นอยู่
กับเครื่องแสดงผลเชื่อมโยงมนุษย์กับเครื่องจักร เครื่องคอมพิวเตอร์อันทรง
อานุภาพในเครื่งอสแกนนี้ร่วมกับรังสีเอกซ์จำนวนมากแสดงผลออกมาเป็นภาพ
ที่มีรายละเอียดร่างกายของคนไข้แต่ถ้าภาพแสดงผลไม่เป็นภาพสีจะให้ประโยชน์
เมื่อถูกส่งไปถึงมือผู้ชำนาญการ
เครื่องแสดงผลชนิดพกพา

อุปกรณ์ชนิดพกพาที่แสดงผลด้วยผลึกเหลวเด่นจนไม่มีชนิดใดเทียบได้เพราะไม่
สิ้นเปลืองกำลังไฟเครื่องแสดงผลที่ยิ่งพัฒนามากขึ้นจะต้องมีทรานซิสเตอร์ควบเข้า
ในจอของมันเอง เพื่อคอยดูแลรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพนับพันๆ ส่วนการทำให้
แต่ละจุดบนจอเป็นภาพ ชัดเจนโดยส่วนที่เป็นสีแดง เขียวและน้ำเงินปรากฎครบทุก
สีได้นั้นจำเป็นต้องมีวงจรควบคุม