เสียงดัง...การป้องกันย่อมดีกว่า

เป็นอวัยวะที่สำคัญ มีไว้สำหรับฟังเสียง ถ้าไม่ถนอนดูแลรักษาไว้ จะทำให้หูตึง หูหนวกได้ การทำงานในที่มีเสียงดังมาก ๆ นานวันเข้าเซลล์ขนซึ่งอยู่ในอวัยวะรูปหอยโข่งในหูชั้นใน ถูกทำลายและตายไปทีละน้อย มีผลให้หูอื้อ หูตึง เมื่อเซลล์ขนตายแล้ว จะไม่สามารถรักษาหรือซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม ทำให้เกิดหูหนวกได้


รูป ก. ภาพแสดงเซลล์ขน

รูป ข. ภาพแสดงเซลล์ขนถูกทำลาย

การทำงานในที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ เป็นเวลาติดต่อกันมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน นานนับปีจะมีผลต่อมนุษย์ดังนี้
1. ผลเสียทางกายภาพ ผลเสียโดยตรงต่อประสาทหู ก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร จนกลายเป็นความพิการได้
2. ผลเสียทางจิตใจ เกิดความเครียดเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีผลทำให้เกิดโรคกระเพาะ ความดันโลหิตสูง
3. ผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน เสียงที่ดังมาก ๆ จะรบกวนการทำงาน ทำให้เสียสมาธิเป็นเหตุ ให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

ใช้สอดเข้าไปในช่องหู โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับหูที่จะใส่ อ้อมผ่านหลังศีรษะดึงใบหูขึ้นไปด้านหลัง อีกมือจับปลั๊กอุดหู สอดเข้าช่องหูจนกระชับ ลึกพอสมควร ระยะแรกอาจรู้สึกรำคาญ จึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาการใส่ ครั้งแรกใส่นาน 10-30 นาทีแล้วค่อย เพิ่มมากขึ้นตามตาราง หลัง 5 วันยังรู้สึกไม่สบาย ให้เปลี่ยนแบบใหม่

วันที่ ระยะเวลาในการใส่ปลั๊กอุดหู
ช่วงเช้า ช่วงบ่าย
1
2
3
4
5
30 นาที
1 ชั่วโมง
2 ชั่วโมง
3 ชั่วโมง
4 ชั่วโมง
1 ชั่วโมง
1 ชั่วโมง
2 ชั่วโมง
3 ชั่วโมง
4 ชั่วโมง


ที่มา : รวบรวมจาก กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร