เครื่องแก้ว ที่ใช้ในการทดลองจำเป็นจะต้องล้างให้สะอาดเสมอ มิฉะนั้นจะทำให้ผลการทดลองผิดพลาสหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ หลักทั่ว ๆ ไปของการล้างเครื่องแก้วที่ใช้ในการทดลองมีดังนี้
1. ต้องทำความสะอาดเครื่องแก้วนั้นทันทีหลังจากนำไปใช้งานแล้ว เพื่อให้เครื่องแก้ว แห้งก่อนที่จะนำไปใช้งานในครั้งต่อไป หากเครื่องแก้วสกปรกจำเป็นจะต้องล้างก่อนการทดลอง ทำให้เสียเวลา เพราะไม่สามารถจะล้างได้อย่างทันทีทันใดได้
2. การทำความสะอาดเครื่องแก้ว ต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่อง แก้วที่มีลักษณะเป็นก้านยาว เช่น ขวดวัดปริมาตร ปิเปตต์ บิวเรตต์ ฯล
3. ตามปกติการล้างเครื่องแก้วมักจะใช้สบู่หรือสารซักฟอกหรือสารละลายทำความ สะอาด ดังนั้นจึงต้องล้างสบู่ สารซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดออกให้หมดเพราะหากมีเหลือตกค้างอยู่ อาจไปรบกวนปฏิกิริยาเคมีได้

4. การล้างเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป ปกติจะล้างด้วยแปรงโดยใช้สบู่ สาร ซักฟอกหรือสารละลายทำความสะอาดดังได้กล่าวแล้ว แล้วแต่กรณี ต่อจากนั้นก็ล้างด้วยน้ำสะอาด และในขั้นสุดท้ายต้องล้างด้วยน้ำกลั่นอีก 1-2 ครั้ง ถ้าเครื่องแก้วนั้นสะอาดจะสังเกตเห็นน้ำที่พื้นผิวเครื่องแก้วเปียกสม่ำเสมอเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าเครื่องแก้วยังไม่สะอาด จะสังเกตเห็นเป็นหยดน้ำมาเกาะข้างเครื่องแก้วนั้น
5. การใช้แปลงล้างเครื่องแก้วต้องระมัดระวังให้มาก เพราะก้านแปรงเป็นโลหะอาจทำให้ เครื่องแก้วนั้นแตกได้ แปรงล้างเครื่องแก้วมีหลายชนิด หลายขนาด จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของเครื่องแก้วนั้น ๆ ด้วย

ข้อควรระวัง
การล้างเครื่องแก้วโดยใช้แปรงถู อย่าถูแรงเกินไป เนื่องจากก้านแปรงเป็นโลหะเมื่อไปกระทบกับแก้วอาจทำให้แตกและเกิดอันตรายได้

คัดลอกจาก : หนังสือเทคนิคทางเคมี โดยรองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศรีไพโรจน์ สำนักพิมพ์ประกายพรึก 2538 หน้า 45-46