เซลล์เชื้อเพลิงมีหลายแบบขึ้นอยู่กับสารที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่นเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน ไฮโดรเจน-ไฮดราซีน โพรเพน-ออกซิเจน แต่เซลล์เชื้อเพลิงที่นิยมใช้คือเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน ซึ่งให้ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนทำปฏิกิริยากันแล้วได้น้ำและพลังงาน เขียนสมการแสดงได้ดังนี้
2H2(g) + O2(g) ------> 2H2O(l) + พลังงาน

เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน-ออกซิเจน
ประกอบด้วยแท่งคาร์บอนที่มีรูพรุน 2 แท่งทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าที่ผิวของแท่งคาร์บอนมีผงแพลทินัมหรือแพลเลเดียมผสมยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ขั้วไฟฟ้าทั้งสองจุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ซึ่งอาจเป็นสารละลาย NaOH หรือ KOH
ปฏิกิริยาทีเกิดขึ้น
ที่แอโนด O2 (g) + 2H2O (l) + 4e- ------> 4OH-(aq)
ที่แคโทด 2H2(g) + 4OH-(aq) -----> 4H2O(l) + 4e-(s)
ปฏิกิริยารวม O2 (g) + 2H2(g) -----> 2H2O(l)

เนื่องจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นมีการรับและการให้อิเล็กตรอน จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นด้วย เซลล์ประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในยานอวกาศ เพราะนอกจากจะได้พลังงานไฟฟ้าแล้วยังได้น้ำเป็นน้ำดื่ม สำหรับนักบินอวกาศด้วย

เซลล์เชื้อเพลิงโพรเพน-ออกซิเจน
ปฏิกิริยาทีเกิดขึ้น
ที่แอโนด 5O2 (g) + 20H+ (aq) + 20e- ------> 10H2O(l)
ที่แคโทด C3H8(g) + 6H2O(l) -----> 3CO2(g) + 20H+ (aq)+ 20e-(s)
ปฏิกิริยารวม 5O2 (g) + C3H8(g) -----> 3CO2(g) + 4H2O(l)

ปฏิกิริยาในเซลล์เชื้อเพลิงโพรเพน-ออกซิเจนนี้เสมือนกับปฏิกิริยาสันดาปของก๊าซโพรเพนเซลล์นี้อาจให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงประมาณ 2 เท่าของเครื่องยนต์สันดาปภายใน


แหล่งอ้างอิง: 1. เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชาเคมี ของโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน Brands's Summer Camp'95 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. หนังสือเรียนวิชาเคมี 3 ว 037 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ของกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2541