เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอท เซลล์เงิน เป็นต้น เซลล์ไฟฟาประเภทนี้เมื่อสร้างเสร็จสามารถนำมาใช้ได้เลย

ถ่านไฟฉายหรือเซลล์แห้ง
ปฏิกิริยาที่เกิด
1. Anode (Oxidation) Zn --> Zn2+ + 2e-
2. Cathode (Reduction) 2MnO2 + 2NH4 + + 2e- ---> Mn2O3 + H2O + 2NH3
ปฏิกิริยารวม (Redox) โดย (1) + (2) ทำให้ e- หมดไป
Zn + 2MnO2 + 2NH4 + ---> Zn2+ + Mn2O3 + H2O + 2NH3
Zn2+ รวมกับ NH2 เกิดสารประกอบเชิงซ้อน [Zn(NH3)4]2+ และ [Zn(NH3)2(H2O)]2+] เพื่อรักษาความเข้มข้นของ Zn2+ & NH3 เซลล์ชนิดนี้มีแรงเคลื่อนประมาณ 1.5 Volts

เซลล์อัลคาไลน์ มีส่วนประกอบและหลักการเหมือนกับถ่านไฟฉายแต่ใช้ด่าง KOH เป็นอิเล็กโทรไลต์แทน NH4Cl
ปฏิกิริยาที่เกิด
1. Anode (Oxidation) Zn + 2OH- --> ZnO + H2O + 2e-
2. Cathode (Reduction) 2MnO2 + H2O + + 2e- ---> Mn2O3 + 2OH-
ปฏิกิริยารวม (Redox) โดย (1) + (2) ทำให้ e- หมดไป
Zn + 2MnO2 ---> ZnO + Mn2O3
เซลล์อัลคาไลน์มีศักย์ไฟฟ้าเท่ากับเซลล์แห้งแต่ใช้ได้นานกว่า เพราะน้ำและไฮดรอกไวด์ (OH-) ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาหมุนเวียนกลับไปเป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยาได้อีก จึงทำให้ศักย์คงที่ตลอดการใช้งานและใช้ได้นานกว่า

เซลล์ปรอท มีหลักการเหมือนกับเซลล์อัลคาไลน์ แต่ใช้เมอร์คิวรี (II) ออกไซด์ ( HgO) แทนแมงกานีส (IV) ออกไซด์ (MnO2)
ปฏิกิริยาที่เกิด
1. Anode (Oxidation) Zn + 2OH- --> ZnO + H2O + 2e-
2. Cathode (Reduction) HgO + H2O + + 2e- ---> Hg + 2OH-
ปฏิกิริยารวม (Redox) โดย (1) + (2) ทำให้ e- หมดไป
Zn + HgO ---> ZnO + Hg
เซลล์ปรอทให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.3 Volts ให้กระแสไฟฟ้าต่ำ แต่มีข้อดีที่สามารถให้ศักย์ไฟฟ้าเกือบคงที่ตลอดอายุการใช้งาน นิยมใช้กันมากในเครื่องฟังเสียงสำหรับคนหูพิการ

เซลล์เงิน มีส่วนประกอบเช่นเดียบกับเซลล์ปรอท แต่ใช้ซิลเวอร์ออกไวด์ ( Ag2O) แทนเมอร์คิวรี (II) ออกไซด์ ( HgO)
ปฏิกิริยาที่เกิด
1. Anode (Oxidation) Zn + 2OH- --> ZnO + H2O + 2e-
2. Cathode (Reduction) Ag2O + H2O + + 2e- ---> 2Ag + 2OH-
ปฏิกิริยารวม (Redox) โดย (1) + (2) ทำให้ e- หมดไป
Zn + Ag2O ---> ZnO + 2Ag
เซลล์เงินให้ศักย์ไฟฟ้าประมาณ 1.5 Volts มีขนาดเล็กและมีอายุการใช้งานได้นานมากแต่มีราคาแพง จึงใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา


แหล่งอ้างอิง: 1. เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชาเคมี ของโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน Brands's Summer Camp'95 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. หนังสือเรียนวิชาเคมี 3 ว 037 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ของกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2541