เมื่อพูดถึงพลาสติก คงไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จัก โลกของเราในปัจจุบันนี้เกี่ยวข้องกับพลาสติกอย่างมาก ตั้งแต่ ศีรษะจดปลายเท้า ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันจนถึงเครื่องยนต์กลไกพลาสติกที่จะกล่าวถึงในที่นี้แน่นอนที่สุดมันต้อง ไม่ใช่พลาสติก ที่< wbr>จะกล่าวถึงในที่นี้แน่นอนที่สุดมันต้องไม่ใช่ พลาสติกที่เรา ๆ ท่าน ๆ พบเห็นอยู่ทั่วไป และที่ สำคัญมันแตกต่างจากพลาสติกอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเปลี่ยนแปลงสมบัติของมันได้ เมื่อถูกกระตุ้นจากพัลส์ ทางไฟฟ้า (electric pulse) พลาสติกตัวที่ว่านี้ขณะนี้กำลังได้รับการพัฒนาอยู่ในประเทศเยอรมันตะวันตก พลาสติกนี้สามารถใช้ทำเพลต (Plate หรือแม่พิมพ์) สำหรับเครื่องพิมพ์ ภาพบนเพลตสามารถเปลี่ยนแปลง ด้วยไฟฟ้าในขณะที่เครื่องพิมพ์กำลังทำงาน ในปัจจุบันนี้เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงรูปภาพหรือข้อความบนเพลต ใหม่ทั้งเพลต และต้องหยุดเครื่องพิมพ์เพื่อเปลี่ยนเพล
การเปลี่ยนเพลตบนเครื่องพิมพ์ที่มีหมึกพิมพ์อยู่เต็มสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง โดย การใช้เเพลตแบบใหม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาพหรือข้อความบนหน้านั้นได้ ในทันทีทันใด โดยตรงจาก ห้องคอมพิวเตอร์ในสำนักงานบรรณาธิการ
Gerhard Kossmehl และคณะได้ทำการพัฒนาพลาสติกตัวนี้ที่ Free University of Berlin พลาสติกนี้มีชื่อว่า พอลิไทโอฟีน (polythiophene) ซึ่งสามารถเปลี่ยนจากสภาพน้ำไม่เกาะติด (hydrophobic) เป็นสภาพที่น้ำ เกาะติดได้ (hydrophillic) และสามารถเปลี่ยนกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อได้รับการกระตุ้นจากพัลส์ไฟฟ้า

ในปัจจุบันเพลตสำหรับเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซตที่ใช้กระดาษม้วนใหญ่ เช่น เครื่องพิมพ์หนังสือ จะประกอบ ด้วยแผ่นโลหะที่เคลือบด้วยชั้นสารเคมี สารเคมีกันน้ำจะเคลือบบริเวณที่เป็นภาพ หรือตัวหนังสือซึ่งจะต้องถูก หมึกพิมพ์ และสารเคมีซับน้ำ หรือทำให้น้ำเกาะจะเคลือบบริเวณที่ต้องการให้เป็นที่ว่า เพลตจะผลิตโดย กระบวนการเคมีทางแสงและถูกอบจนผิวหน้าแข็ง

ในการพิมพ์ เพลตจะยึดติดแน่นกับลูกกลิ้งซึ่งหมุนด้วยความเร็วรอบสูง ขณะที่หมุนผิวหน้าของเพลตผ่านหน่วย dampening (ชุดลูกกลิ้งน้ำ) ซึ่งอิ่มน้ำ จากนั้นก็จะผ่านหน่วยจ่ายหมึกพิมพ์ (ชุดลูกกลิ้งหมึก) ซึ่งจะเคลือบ บริเวณที่ไม่มีน้ำเกาะด้วยหมึกพิมพ์และปล่อยให้บริเวณที่เปียกน้ำหรือมีน้ำเกาะอยู่สะอาดดังเดิม เมื่อเพลต หมุนมาสัมผัสกับลูกกลิ้ง Blanket ลูกกลิ้ง Blanker จะรับภาพหมึกที่สมบูรณ์จากเพลต และพิมพ์ภาพลงบน แถบกระดาษที่ต่อเนื่อง (กระดาษม้วนใหญ่) ซึ่งจะถูกตัดและพับในภายหลัง
ในระบบใหม่ เพลตจะแทนด้วยแผ่นพอลิไทโอมีน ซึ่งม้วนเป็นรูปทรงกระบอกเรียกว่า พาหะนำภาพ (image carrier) นอกจากจะสามารถเปลี่ยนจากสภาพน้ำไม่เกาะติดเป็นสภาพที่น้ำเกาะติดแล้ว เพลตนี้ยังสามารถนำ ไฟฟ้าได้ด้วย ภายในทรงกระบอกนี้มี ขั้วไฟฟ้า (electrode) เรียงกันเป็นเมตริก (matrix) ซึ่งสอดคล้องกับ จุดเล็ก ๆ ที่ทำให้เกิดภาพพิมพ์ สำหรับการพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงสุดเหล่านี้จะมีขนาดเล็กมาก เล็กกว่า 1/10 มิลลิเมตร ขั้วไฟฟ้าแต่ละขั้วจะควบคุมจุด 1 จุดบนภาพโดยการเปลี่ยนแปลงพลาสติกที่อ

โดยปกติการเปลี่ยนพลาสติกจากสภาวะหนึ่งไปเป็นอีกสภาวะหนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้าวงจรจะต้องถูกตั้งผ่านพลาสติก เพื่อให้นำกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อผู้พิมพ์ต้องการจะเปลี่ยนภาพบนเพลต เขาก็จะตั้งวงจรนี้โดยนำหน่วยที่แยกอยู่ ต่างหากเรียกว่า ขั้วไฟฟ้าทรงกระบอก (electrode cylinder) (ดูรูป 3) เข้ามาใกล้กับทรงกระบอกของพิลิไท โอฟีนที่กำลังหมุน
ขั้วไฟฟ้าทรงกระบอกนี้จะดึงเอาสารละลายอิเล็กโทรเลต์ หรือของเหลวนำไฟฟ้าเข้าไปในชองว่างระหว่างทรง กระบอกทั้งสอง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านจากขั้วไฟฟ้าที่เรียงกันเป็นเมตริกอยู่ด้านหลังพาหะนำ ภาพผ่านพอลิไทโอฟีน และสารละลายอิเล็กโทรไลต์ไปสู่ขั้วไฟฟ้าทรงกระบอก ดังรูป 3 ด้วยวิธีนี้ ขั้วไฟฟ้า เล็ก ๆ แต่ละอันในเมตริกที่ผ่านขั้วไฟฟ้าทรงกระบอก จึงสามารถสร้างภาพใหม่ที่จุดภาพเหนือขั้วไฟฟ้าเล็ก ๆ นั้นด้วยพัลส์ของกระแสไฟฟ้าเหมือนมันจากสภาพน้ำเกาะไม่ติด เป็นน้ำเกาะติดได้หรือในทางตรงข้าม
ขั้วไฟฟ้าเองจะถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ชิป (microprocessor chip) ซึ่งอยู่ภายในทรงกระบอก ผู้พัฒนาได้แนะนำว่าไมโครโปรเซสเซอร์ 1 ตัว จะควบคุมขั้วไฟฟ้าที่อยู่ในพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร ไมโคร โปรเซสเซอร์ทั้งหมดภายในทรงกระบอกจะถูกควบคุมอีกทีหนึ่งด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เรียงพิมพ์ภายนอก ที่ต่อไปยังเครื่องพิมพ์ ตามคำสั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียงพิมพ์
มีปัญหาหลายอย่างที่การพิมพ์ระบบใหม่นี้ต้องแก้ไข เช่น ความคมชัดและรายละเอียดของภาพ การควบคุม ภาพการสร้างภาพบนพาหะนำภาพซึ่งยากพอสมควรที่จะต้านแรงเสียดทานอย่างต่อเนื่องของลูกกลิ้ง Blanket ถ้าปัญหาเหล่านี้สามารถขจัดออกไปได้แล้วจะทำให้แก้ปัญหาทางการพิมพ์ได้อย่างมากมาย
โดยการลดเวลาการเปลี่ยนเพลตระหว่างการเดินเครื่องพิมพ์ การทำหนังสือพิมพ์ และนิตยสารในเวลาอันสั้น ก็เป็นไปได้มากขึ้น คาดว่าเทคนิคการนำเอาพลาสติกและระบบอิเล็กทรอนิกส์มาเปลี่ยนภาพบนเพลตจะ เรียบร้อยและสามารถนำมาแสดงให้ชมได้ภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้ นั่นคือเวลาแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม การพิมพ์

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)