ตัวอย่างเช่น
Zn(s) + 2HCl(aq) ------> ZnCl2(aq) + H2(g)
โมล 1 2 1 1
มวล (g) 65.39 2 x 36.458 136.29 2.016
โมเลกุล 6.02 x 1023 2 x 6.02 x 1023 6.02 x 1023 6.02 x 1023
ปริมาตร STP (dm3) - - - 22.4

สำหรับปฏิกิริยาที่เป็นก๊าซล้วน ๆ สามารถใช้สัมประสิทธิ์ของก๊าซต่าง ๆ ในสมการอ่านเป็นมาอ่านเป็นปริมาตรได้ แต่ต้องที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
N2(g) + 3H2(g) ------->2NH3(g) ที่อุณหภูมิ และความดันเดียวกัน
ปริมาตร (หน่วยปริมาตร) 1 3 2

การคำนวณเกี่ยวกับสมการเคมี มีหลักทั่วไปดังนี้
1. ต้องทราบสมการของปฏิกิริยาเคมีพร้อมดุล
2. พิจารณาเฉพาะสารที่โจทย์ถาม และกำหนดให้
3. แล้วนำสิ่งที่โจทย์กำหนดให้มาคิดคำนวณหาสิ่งที่ต้องการจากสมการได้โดยการเทียบบัญญัติไตรยางค์ ด้วยการใช้ความรู้เรื่องโมล
หรืออาจจะคำนวณด้วยวิธีหนึ่งโดยนำจำนวนโมลของสารที่โจทย์ถาม และโจทย์กำหนดให้มาเทียบอัตราส่วนกันจะเท่ากับจำนวนโมลที่เป็นสัมประสิทธิ์ของสารที่โจทย์ถามและโจทย์กำหนดให้ตามสมการ


แหล่งอ้างอิง: 1. เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชาเคมี ของโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน Brands's Summer Camp'95 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. หนังสือเรียนวิชาเคมี 2 ว 036 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ของกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2541