ประวัติการค้นพบและการจัดธาตุลงในตารางธาตุ
จากความรู้ในทางฟิสิกส์ เคมี และดาราศาสตร์
พบว่าโลกนี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ มากกว่า 105 ชนิด พบอยู่ตามเปลือกโลกซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น
Si และ Fe
เป็นธาตุที่มีอยู่ในใจกลางโลกเป็นจำนวนมาก
ค.ศ.1817 Dobereiner พบว่า ธาตุบางประเภทซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ 3 ธาตุ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และเขาพบว่าน้ำหนักอะตอมของธาตุหนึ่งจะมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักอะตอมเฉลี่ยของธาตุอีกสองธาตุ
เช่น
ในหมู่ธาตุ Cl , Br และ I
จะพบว่าค่าน้ำหนักอะตอมเฉลี่ยของ Br
เท่ากับ
น้ำหนักอะตอม Cl + น้ำหนักอะตอม I
ในทำนองเดี่ยวกันยังมีธาตุที่มีคุณสมบัติเช่นนี้อีก 2 กลุ่ม คือ ธาตุสตรอนเตียม (Sr) แคลเซียม (Cl) และธาตุแบเรียม (Ba) อีกกลุ่มคือ หมู่ธาตุเซเลเนียม(Se) ธาตุซัลเฟอร์ (S) และธาตุเลทูเรียม
ซึ่งธาตุหมู่ดังกล่าวเหล่านี้เรียกว่า Triads
ค.ศ. 1864 John A.R. Newlands ชาวอังกฤษได้เสนอการจัดธาตุต่างๆโดยเรียงตามน้ำหนักอะตอม ซึ่งเรียกการจัดแบบนี้ว่า
Law of Octaves
ต่อมาได้มีการค้นพบค่าอะตอมมิคนัมเบอร์ โดย Henry Gwyn Jeffeys Moseleys (
ค่าของอะตอมมิคนัมเบอร์
คือ
จำนวนโปรตอนที่มีอยู่ในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ
) ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการจัดเรียงธาตุตามอะตอมมิคนัมเบอร์ แทนน้ำหนักอะตอม
พิจารณาจากตารางธาตุจะเห็นว่า
ตารางธาตุประกอบด้วยธาตุ 8 หมู่ ซึ่งมีทั้งโลหะและอโลหะ และมี 7 คาบ
ตรงกลางของตารางธาตุประกอบด้วย Transition elements ใน Transition elements นี้มีหมู่ธาตุ Llanthanide series และ Actinide series ซึ่งจัดเป็นธาตุที่หายากจึงนับได้ว่าเป็น Rare Earth Elements
ผู้เขียน :
อ.จิระภา ชมชู
ที่มา :
การอบรมปฏิบัติการวิทยากรแกนนำคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ 2 ณ โรงเรียนนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2542