ธรณี เพ็ชรเสนา *
 
        ในการทำปฏิบัติการเคมี ต้องหมดเปลืองไปกับค่าสารเคมีไม่น้อย ในบางโรงเรียนที่มีเงินงบประมาณน้อยก็ไม่ สามารถจัดหาสารเคมีมา เพื่อทำปฏิบัติการเคมีได้ ต้องทำการทดลองแบบแห้ง คือบรรยายอย่างเดียว บางแห่ง อาจจะเว้นไม่ทำเลย ซึ่งทำให้นักเรียนขาดทักษะในการทำปฏิบัติการ ดังนั้นในการทำปฏิบัติการบางอย่าง เราน่าจะหาสารอื่นมาทดแทน ซึ่งมีราคาถูก หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำมาใช้และให้ผลออกมาเหมือนกันก็น่าจะ เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง ซึ่งในบทความนี้เป็นการแยกสีของพืช  ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟี โดยใช้ทรายเป็นตัวดูดซับแทนสารดูดซับตัวอื่นและก็ได้ผลดีกว่าการใช้สารดูดซับ
 
         โครมาโตกราฟี แปลว่า การแยกออกเป็นสี ๆ โดย Tsweet ชาวรุสเซีย ในปี ค.ศ. 1906 ได้แยกสารที่สกัดออก จากใบไม้ออกเป็นสีต่าง ๆ ในคอลัมน์เทคนิคทางโครมาโตกราฟีจะเกี่ยวข้องกับการกระจายของสารระหว่าง สารสองวัฏภาค คือ วัฏภาคอยู่กับที่ (Stationary phase) และวัฏภาคเคลื่อนที่ (Mobile phase) ถ้าวัฏภาคอยู่ กับที่เป็นของแข็ง เช่น ซิลิกาเจล หรืออะลูมินาเราเรียกว่า Adsorption Chromatography และถ้าวัฏภาคอยู่กับ ที่เป็นของเหลวเราเรียกว่า Partition Chromatography ส่วนวัฏภาคเคลื่อนที่จะเป็นของเหลวหรือก๊าซก็ได้ เทคนิคทางโครมาโตกราฟีทำได้ง่าย และไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงก็สามารถใช้แยกสารผสมออกจากกัน ให้ได้สารบริสุทธิ์และยังใช้ในการพิสูจน์สาร (Identify) ได้ด้วยเทคนิคที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ คอลัมน์ ์โครมาโตกราฟี (Column Chromatography) ธินเลเยอร์โครมาโตกราฟี (Paper Chromatography) ซึ่งในที่นี้ จะใช้เทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟี
 
        คอลัมน์โครมาโตกราฟีจะใช้คอลัมน์แก้วบรรจุผงของตัวดูดซับที่ใช้กันมากคือ อะลูมินา (Alumina; Al2 O3) หรือ ซิลิกาเจล (Silica gel; SiO2) ซึ่งซิลิกาเจลใช้ได้ดีมากกับสารเกือบทุกชนิด(สารที่เป็นกรดเป็น กลาง หรือเบสที่อ่อนมากถ้าเป็นเบสแก่จะละลายซิลิกาได้) ส่วนอะลูมินาใช้กับสารที่เป็นเบสและนอกจากนี้ ยังมีอีกมากมาย เช่น MgCO3, CaSO4, CaCO3, Na2CO3, Starch, Sucrose เป็นต้น ทำเป็นผงละเอียดให้ มีพื้นที่ผิวมากเพื่อใช้ดูดซับสารเอาไว้มีบทความซึ่งเขียนโดย Nagubandi Lalitha(2) ได้นำทรายจากแม่น้ำยมนาในประเทศอินเดียมาใช้เป็นตัวดูดซับในการแยกสีสกัดจากพืชโดยใช้ทรายที่ มีขนาด 60-120 mesh นำมาล้าง ด้วยน้ำกลั่น แล้วอบให้แห้งที่ อุณหภูมิ 100 ํC              ก่อนที่จะทำการบรรจุลงในคอลัมน์ ซึ่งผลการใช้ทรายเปรียบ เทียบกับสารดูดซับอื่น ๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบการใช้ทราบกับสารดูดซับต่าง ๆ(2)
Adsorbant
Solvent
Cost
Time
Separation
Sand Pet.ether low 4 hr excellent
Silica gel Pet.ether;
Benzene
high 24 hr good
Chalk powder Pet.ether;
Benzene 
low 48 hr poor
Alumina Pet.ether;
Benzene
very high 48 hr good
Cotton wool Pet.ether; low 30 min poor

                    วิธีการทำ (จัดเครื่องมือตามรูป) โดยใช้คอลัมน์โครมาโตกราฟีหรือถ้าไม่มีอาจใช้บิวเรตแทนก็ได้ใช้สำลี อุดที่ปลายก่อนแล้วจึงใส่ทรายลงไป ประมาณ 3/4 ของความยาวคอลัมน์ ต้องระวังอย่าให้มีฟองอากาศอยู่ ในชั้นของทรายแล้วใช้ปิโตรเลียมอีเธอร์ (60-80 ํc) ใส่ลงไปในคอลัมน์จนเกือบเต็ม เพื่อเป็นการเตรียม คอลัมน์ ก่อนนำหญ้าที่ตัดใหม่ ๆ มาประมาณ 5 กรัม แล้วบดให้ละเอียดในครกบดสารกับเอธานอล 10 มิลลิลิตร ผสมกับปิโตรเลียมอีเธอร์ 20 มิลลิลิตร แล้วรินของเหลวที่สกัดได้ลงในกรวยแยก แล้วแยกเอาสาร ที่ละลายในชั้นน้ำไว้ล้างชั้นของสารอินทรีย์ด้วยน้ำปริมาตรเท่า ๆ กัน 4 ครั้ง แล้วเติม Na2SO anhydrous ลงไป นำสารที่ได้ไปกรองผ่านชั้นสำลีลงไปในขวดที่แห้ง เปิดก๊อกของลัมน์เพื่อให้ปิโตรเลียมอีเธอร์ไหลออกไปจนถึง ระดับผิวบนสุดของชั้นทราย แล้วปิเปตสีที่สกัดได้จากหญ้ามา 2 มิลลิเมตร ใส่ลงในคอลัมน์เบา ๆ (ต้องทำให้ ผิวชั้นบนของทรายเรียบเสมอกันไม่เอียงหรือเป็นหลุมตรงกลาง) เปิดก๊อกปล่อยให้สารไหลลงไปในตัวดูดซับ ใช้สำลีปิดลงไปบนผิวของชั้นทราย แล้วเติมปิโตรเลียมอีเธอร์ลงไป 2 มิลลิเมตรปรับอัตราการไหลให้ช้า ๆ เพื่อให้เกิดการชะได้อย่างสมบูรณ์ ค่อย ๆ เติมปิโตรเลียมอีเธอร์ลงไปครั้งละน้อย ๆ นำขวดครูปชมพูขนาด 25 มิลลิเมตร มารองรับตัวทำละลายที่ไหลออกมาที่ปลายคอลัมน์ และทำการเปลี่ยนขวดรูปชมพูดเมื่อมีสีต่างๆ ถูกแยกออกมาผลการแยกจะได้สีออกมา 4 สี คือ สีเหลือง-เขียว จะเป็นคลอโรฟิล บี ; สีน้ำเงิน-เขียว จะเป็น คลอโรฟิล เอ ; สีเหลือง-ส้ม จะเป็นแซนโธฟิล และสีส้ม จะเป็นแคโรทีน การทดลองนี้ใช้เวลา 4 ชั่วโมง

ในการทดลองนี้ใช้ทรายเป็นตัวดูดซับซึ่งมีราคาถูกมาก หาได้ง่าย ๆ และให้ผลการทดลองที่รวดเร็วเมื่อเทียบ กับการใช้สารดูดซับอื่น ๆ หลีกเลี่ยงการใช้เบนซินซึ่งเป็นสารพิษ และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนใน เรื่องคอลัมน์โครมาโตกราฟีได้เป็นอย่างดี ท่านผู้อ่านอาจไปทำการทดลองโดยใช้ทรายจากแม่น้ำต่าง ๆ ใน ประเทศไทยมาทำเป็นตัวดูดซับบ้าง แล้วนำมาแยกสารอื่น ๆ ออกมา ก็คงจะได้ข้อมูลออกมามากมายและถ้า ทำได้ผลอย่างไรก็เขียนมาบอกกันบ้างนะครับ

* ภาควิชาเคมี  สถาบันราชภัฏเทพสตรี
 
เอกสารอ้างอิง
สุภาพ บุณยะรัตเวช ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์. พิมพ์ครั้งที่ 3, บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2522.
Nagubandi Lalitha Chromatographic Separation of Plant Pigments Using Sand as the    Adsorbant. Journal of Chemical Education, Vol 71, No 5, May, 1944.