การให้ความร้อนของเหลวใด ๆ ผู้ทดลองจะต้องทราบว่าของเหลวนั้นติดไฟง่ายหรือไม่เมื่อกลายเป็นไอ ดังนั้นการต้มหรือการให้ความร้อนแก่ของเหลว จึงควรระวังให้มากเพราะอาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ง่าย เทคนิคที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการให้ความร้อนของเหลวที่ไม่ติดไฟ
1. เมื่อของเหลวอยู่ในหลอดทดลอง ควรปฏิบัติดังนี้
1.1 ปริมาตรของของเหลวไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของหลอดทดลอง
1.2 ถือหลอดทดลองด้วยที่จับหลอดทดลอง อย่าจับหลอดทดลองด้วยนิ้วมือโดยตรง (ถ้า ไม่มีที่จับหลอดทดลองอาจใช้กระดาษแผ่นเล็ก ๆ ยาว ๆ พันรอบปากหลอดทดลองหลาย ๆ รอบ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่จับกระดาษก็ได้)



1.3 นำหลอดทดลองไปให้ความร้อนโดยตรงจากเปลวไฟควรใช้เปลวไฟอ่อน ๆ และเอียง หลอดทดลองเล็กน้อย พยายามให้ส่วนที่เป็นของเหลวในหลอดทดลองถูกเปลวไฟทีละน้อย พร้อมแกว่งหลอดทดลองไปมา เมื่อของเหลวร้อนจะระเหยกลายเป็นไอ
ข้อควรระวัง การต้มของเหลวในหลอดทดลองมีข้อที่ควรระมัดระวังดังนี้
1. ขณะให้ความร้อนหลอดทดลองจะต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเรา และชี้ไป ในทิศทางที่ไม่มีผู้อื่น หรือสิ่งของอยู่ใกล้ ๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อของเหลวเดือดอาจจะพุ่งออกมานอกหลอดทดลองทำให้เกิดอันตรายได้
2. อย่าก้มดูของเหลวในหลอดทดลองขณะกำลังให้ความร้อนเป็นอันขาด เพราะถ้าของ เหลวพุ่งออกมาอาจเป็นอันตรายต่อใบหน้าและนัยตาได้
3. ขณะให้ความร้อนแก่ของเหลวในหลอดทดลอง ต้องแกว่งหลอดทดลองไปด้วยเพื่อให้ ของเหลวในหลอดทดลองเคลื่อนไหวและได้รับความร้อนเท่าเทียมกันทุกส่วน และยังช่วยป้องกันของเหลวพุ่งออกมาด้วย

2. เมื่อของเหลวอยู่ในบีกเกอร์หรือฟลาส มีวิธีทำดังนี้
1. นำบีกเกอร์ตั้งบนตะแกงลวด ซึ่งวางอยู่บนสามขาหรือที่ยึดวงแหวน
2. ให้ความร้อนโดยใช้ตะเกียงก๊าซ



คัดลอกจาก : หนังสือเทคนิคทางเคมี โดยรองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศรีไพโรจน์ สำนักพิมพ์ประกายพรึก 2538 หน้า 64-66