แบคทีเรียสังเคราะห์ด้วยแสง

เมื่อกล่าวถึงการสังเคราะห์ด้วยแสง เรามักนึกถึงพืชสีเขียวที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานในการสร้างสารอาหาร ที่จริงแล้วยังมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เช่นกัน ได้แก่ สาหร่ายสีเขียว และแบคทีเรียสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งพวกหลังนี้จะมีคลอโรฟีลล์ชนิดที่เรียกว่า แบคเทอรีโอคลอโรฟีลล์ (bacteriochlorophyll)

แบคทีเรียสังเคราะห์ด้วยแสงมี 2 ชนิด คือ

1. พวกที่สังเคราะห์ด้วยแสงแล้วไม่ให้ก๊าซออกซิจน
2. พวกที่สังเคราะห์ด้วยแสงแล้วให้ก๊าซออกซิเจน

พวกที่สังเคราะห์ด้วยแสงแล้วไม่ให้ก๊าซออกซิเจนยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามสีของรงควัตถุ ได้แก่ แบคทีเรียสีม่วง (purple sulfur bacteria) ซึ่งสีของมันจะเกิดจากแคโรทีนอยด์มากกว่าแบคเทอรีโอคลอโรฟีลล์ และแบคทีเรียสีเขียว (green bacteria) ซึ่งมีแบคเทอรีโอคลอโรฟีลล์ซี หรือแบคเทอรีโอคลอโรฟีลล์ดี แต่มีแบคเทอรีโอคลอโรฟีลล์เอน้อย

ส่วนแบคทีเรียสังเคราะห์ด้วยแสงที่สังเคราะห์ด้วยแสงแล้วให้ก๊าซออกซิเจน ได้แก่ ไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) หรือที่เรียกว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae) พวกนี้มีรงควัตถุที่สำคัญคือไฟ โคไซยานิน (phycocyanin)ซึ่งมีสีฟ้า และแอลโลไฟโคไซยานิน (allophycocyanin) รงควัตถุนี้เมื่อรวมกับคลอโรฟีลล์เอจะเห็นเป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน แบคทีเรียสังเคราะห์ด้วยแสงเหล่านี้มีความสำคัญในธรรมชาติหลายประการ เช่น สามารถออกซิไดซ์สารประกอบอนินทรีย์ ซัลเฟอร์ในสภาพรีดิวซ์ได้เป็นซัลเฟอร์ และสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนได้ เป็นต้น
เอื้อเฟื้อ จาก สสวท.