เพาะเลี้ยงแมลงหวี่ด้วยอาหารเหลวและอาหารแข็ง

ลักษณะทั่วไปของแมลง

แมลงเป็นสัตว์มีขาเป็นข้อปล้องที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก ในจำนวนนี้ ด้วงปีกแข็งมีอยู่มากที่สุดเกือบสามแสนชนิด และผีเสื้อมีมากกว่าหนึ่งแสนชนิด แมลงส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก บางชนิดมีปีก สามารถบินได้อย่างดี และบางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำ

ร่างกายของแมลงแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หัว อก ท้อง
ส่วนหัว (Head) ประกอบด้วยปล้อง 6 ปล้อง เชื่อมรวมกัน มีหนวดทำหน้าที่รับสัมผัส มีตาเดี่ยวและตารวมทำหน้าที่รับภาพ ด้านหน้าส่วนล่างมีปากใช้สำหรับจับและกินอาหาร ปากของแมลงมีหลายแบบ เช่น ปากกัด ปากเจาะดูด เป็นต้น

ส่วนอก(Thorax) ประกอบด้วยปล้อง 6 ปล้อง และมีขา 3 คู่ ซึ่งเป็นลักษณะเด่น เฉพาะตัวของแมลงทั่วไป ขาของแมลงใช้สำหรับคลานหรือดีดตัวกระโดดไปมา แมลงบางชนิด มีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกมักมีลักษณะแข็ง หนา และคลุมปีกคู่หลังเอาไว้
ส่วนท้อง(Abdomen) ประกอบด้วยปล้องจำนวน 4-11 ปล้อง ส่วนมาก 10 ปล้องแรก มีลักษณะเหมือนกัน ด้านข้างของส่วนท้องมีรูหายใจ (Spiracle) ปล้องละ1 คู่

แมลงแต่ละกลุ่มมีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนไปจนถึงตัวเต็มวัยหรือที่เรียกว่าเมตามอร์โฟซีส (Metamorphosis) หลายแบบด้วยกัน ได้แก่

1. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (Complete Metamorphosis) โดยมีลำดับขั้น จากไข่ (egg)----> ตัวหนอน (Larva)---> ดักแด้ (Pupa)---> ตั้งแต่ (Adult) เช่น ด้วง ผีเสื้อ เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) โดยผ่านการ เจริญ 3 ชั้น คือ ไข่ (egg)----> ตัวหนอน (Nymph)---> ตัวแก่ (Adult) ซึ่งตัวอ่อนหรือตัวหนอนที่ปีกออกมาจากไข่นั้นมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย ยังไม่มีปีกและอาศัย อยู่ในน้ำ ตัวอย่างเช่น แมลงปอ ชีปะขาว เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Metamorphosis) รูปร่างของตัว อ่อนที่พักออกจากไข่มีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวเต็มวัยมาก แต่ขนาดเล็กว่า ไม่มีปีกและ อวัยวะสืบพันธุ์ และจะค่อยๆ เติบโตขึ้นจนเป็นตัวแก่ ตัวอย่างเช่น ตั้กแตน มวน เป็นต้น
4. การเปลี่ยนแปลงโดยไม่เปลี่ยนรูปร่าง (Ametabalous) ไข่ของแมลงกลุ่มนี้จะเจริญ เป็นตัวอ่อนที่เหมือนตัวเต็มวัยแต่มีขนาดเล็ก เช่น ตัวสามง่าม แมลงหางดีด เป็นต้น

อาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงแมลงหวี่ อาจเลือกใช้อาหารใดก็ได้ตามความเหมาะสม
อาหารเพาะเลี้ยงมี 2 ประเภท
อาหารเหลว : นมถั่วเหลือง
อาหารแข็ง : เสนอไว้ 4 สูตร ตามตาราง

ตาราง 1 แสดงส่วนผสมของสูตรอาหารแข็งต่าง ๆ ที่ใช้เพาะเลี้ยงแมลงหวี่ (*1 สูตรต่อ 100 กรัม)

(*สารกันเชื้อราใช้ Tegosept 1 กรัมละลายในแอลกอฮอล์ 95% 10 cm3)

วิธีเตรียม
1. สูตรกล้วย : เคี่ยววุ้นจนละลาย นำกล้วยที่บดละเอียดใส่แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นใส่สารกันเชื้อรา คนให้สารกันเชื้อรากระจายทั่วอาหาร แล้วยกลงแบ่งใส่ขวด อุดปากขวดด้วยสำลี
2. สูตรแป้งข้าวโพด : ละลายวุ้นกับน้ำเพียงเล็กน้อย พอวุ้นละลายเติมน้ำตาลจากนั้น ละลายแป้งข้าวโพดกับน้ำเย็นเทส่วนผสมลงในส่วนที่ต้ม คนจนส่วนผสมเข้ากันดีจากนั้นจึงเติมสารกันเชื้อรา คนให้สารกันเชื้อรากระจายทั่วอาหาร
3. สูตรแป้งข้าวโอ๊ต : ผสมน้ำตาล ข้าวโอ๊ต และน้ำเล็กน้อย ต้มจนละลายดี จากนั้น ละลายแป้งข้าวโพดกับน้ำเย็น ลงส่วนผสมลงปนกัน คนจนกระทั่ง เข้ากันดีจึงผสมสารกันเชื้อรา
4. สูตรแป้งสาลี : ละลายสารกันเชื้อรากับน้ำตาลต้มจนละลาย ละลายแป้งสาลีกับน้ำ เย็นและเทส่วนผสมเข้าด้วยกัน ต้มและคนจนละลายเป็น เนื้อเดียวกัน

แมลงหวี่  (Drosophila sp.)
Class : Insecta
Order : Diptera
Family : Drosophilidae

ลักษณะทั่วไปของแมลงหวี่

เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมีปีกคู่หน้าเด่นชัดสำหรับบิน ปีกคู่ที่สองลดขนาดลงจนเป็นตุ่ม เล็กๆ ทำหน้าที่ในการทรงตัว บนปีกมีขนคล้ายผีเสื้อกลางคืน ไม่มีเส้นขวางปีก ยกเว้นโคน ปีก ลักษณะปีกเป็นแผ่นบาง ตัวเมียวางไข่ในอาหาร ตัวอ่อนกินยีสต์ที่เจริญในผลไม้ โดย ทั่วไปปากของแมลงหวี่จะเป็นปากชนิดดูดกินและเลีย
ไข่ (egg) มีลักษณะเป็นสีขาวยาวประมาณ 0.5 mm. ด้านหลังแบนกว่าด้านท้องที่ ผิวเปลือกมีลักษณะเป็นรอยปกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้งต่อกัน ด้านหัวมีหนวด (filament) คู่หนึ่ง สำหรับพยุงไข่ไม่ให้จมลงในอาหารเหลว

ตัวหนอน (larva) หลังจากฟักออกจากไข่ ตัวหนอนจะลอกคราบ 2 ครั้ง ตัวหนอนที่ โตเต็มที่จะยาวประมาณ 4.5 mm. ระยะนี้ตัวหนอนจะกินอาหารจุมาก ลักษณะตัวหนอนจะ ใสเมื่อส่องด้วยกล้องจะมองเห็นสมอง (ganglion) ซึ่งอยู่ตอนบนด้านหัวและต่ำลงมาจะเป็น ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ส่วนต่อมสร้างเชื้อสืบพันธุ์ (gonads) จะอยู่ค่อนไปทางด้าน ท้ายของลำตัว ถ้าเป็นอัณฑะ (testis) จะมีขนาดใหญ่กว่ารังไข่ (Ovary) ซึ่งอาจจะใช้เป็น เครื่องแยกเพศแมลงหวี่ตั้งแต่ยังเป็นตัวหนอนได้

ดักแด้ (pupa) หนอนที่แก่เต็มที่จะคลานขึ้นไปหาที่แห้ง ๆ เพื่อเข้าดักแก้ สีของดักแด้ ระยะแรกมีสีจางจะค่อยเข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล เมื่อเป็นสภาพตัวแก่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็จะทำลายผนังดักแด้ออกมา แมลงหวี่ที่ออกจากดักแด้ใหม่ ๆ จะมีสีซีด ลำตัวยาวและปีกยัง ไม่กาง ในระยะเพียงไม่กี่ชั่วโมงปีกจะกางออก ลำตัวหดสั้นเป็นปกติสีจะเข็มขึ้น

เพศของแมลงหวี่

ตาราง 2  แสดงข้อแตกต่างลักษณะเพศผู้ เพศเมีย (ตัวเต็มวัย)

ลักษณะตัวผู้ตัวเมีย
ขนาดตัว
ท้อง

รอยคาดดำที่ท้อง
(Abdomun)


ขาคู่หน้า

เล็ก
เป็นรูปถัง
(barrel shape)
มีคาด 3 เส้นตรงปลายสุด
เป็นคาดดำขนาดใหญ่
มีขนสีดำเรียงเป็นแผ่นคล้ายหวี
เรียกว่า (Sex comb)
ใหญ่
เป็นรูปกรวย
(cone shape)
มีคาด 5 เส้นเล็ก ๆ

ไม่มี Sex comb

เพศผู้เพศเมีย
วงชีวิตแมลงหวี่
อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส โดย อุณหภูมิในอาหารจะสูงกว่าอุณหภูมิห้องเนื่องจากเกิด fermentation ของยีสต์ในอาหาร ถ้า อุณหภูมิพอเหมาะวงชีวิตแมลงหวี่จะเป็นดังนี้
1. จากไข่ (egg) ใช้เวลา 1 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน
2. จากตัวหนอน (larva) ใช้เวลา 4 วัน จึงเข้าดักแด้
3. จากดักแด้ (pupa) ใช้เวลา 4 วัน จึงเจริญเป็นตัวเต็มวัย
4. จากตัวแก่ (adult) ใช้เวลา 2 วัน เจริญเติบโตผสมพันธุ์ได้


วงชีวิตของแมลงหวี่


เอื้อเฟื้อบทความจาก สสวท.