การส่งสัญญาณไฟฟ้าแบบอะนาลอกนั้นมีปัญหามากมาย ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้
ผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยอัดเสียงจากเทปต้นฉบับลงเทปเปล่า เพื่อเก็บไว้ (คิดว่าไม่ได้อัดเพื่อขายต่อ เพราะกฏหมายสิขสิทธิ์ได้ออกมาใช้แล้ว) จะขอเรียกเทปต้นฉบับว่า F1 เพื่อให้คล้ายกันกับเรื่องกฏของเมนเดล ในวิชาชีววิทยา ส่วนเทปที่นำมาอัดต่อนั้นเรียกว่า F2 ถ้าเราพิจารณาคุณภาพของเสียงของเทป F2 นั้นจะพบว่ามีคุณภาพสู้ของ F1 ไม่ได้ และถ้านำเอา F2 เป็นต้นฉบับสำหรับอัดต่อไปก็จะได้เทป F3 ซึ่งคุณภาพของเทป F3 นี้จะลดลงมาก อาจจะฟังแทบไม่รู้เรื่องเลยเพราะมีสัญญาณรบกวนแทรกเข้ามามาก และถ้าเรายังอัดเช่นนี้ต่อไปอีกสองสามรุ่น เทปรุ่นสุดท้ายจะฟังไม่รู้เรื่อง คือไม่ทราบว่าอัดมาจากไหน ยิ่งเป็น การอัดสัญญาณวีดิทัศน์จะเห็นความแตกต่างของคุณภาพได้ชัด ภายในการอัดเพียงสองรุ่นเท่านั้น


รูปที่ 4

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะการอัดหรือ copy สัญญาณไฟฟ้านั้นมีสัญญาณรบกวนเข้ามามาก สัญญาณรบกวนนี้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเหมือนกัน ทำให้สัญญาณไฟฟ้าในรุ่น F1 หรือ F3 มีคุณภาพลดลง ในทางสื่อสารหรือทางอิเล็กทรอนิกส์หมายความว่าอัตราส่วนของสัญญาณไฟฟ้าต่อสัญญาณรบกวนลดลง (S/N S=signal N=noise) เครื่องขยายสัญญาณไฟฟ้าที่มีคุณภาพสูงต้อง มีสัญญาณรบกวนน้อยที่สุด แต่ในระบบอะนาลอก ไม่สามารถขจัดสัญญาณรบกวนออกได้ถ้าระบบการสื่อสารใช้แบบอะนาลอก สัญญาณไฟฟ้าที่ส่งออกจะมีสัญญาณรบกวนแทรกเข้ามาทุกครั้งที่ผ่านสถานี repeater ดังนั้นเมื่อถึงปลายทางสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ (ดูรูปที่ 4 ประกอบ)

ที่มา : ไชยยันต์ ศิริโชติ
สาขาวิชาฟิสิกส์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี