ถ้ากลิ้งวัตถุจากที่สูงต่างกันลงมายังพื้น โดยให้ความชันเท่ากัน จะพบว่าวัตถุที่อยู่ที่สูง เมื่อกลิ้งลงมาวัตถุที่อยู่สูงจะมีพลังงานสะสมไว้ในตัวมาก พลังศักย์ (Potential Energy) เป็นพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยปกติพลังงานศักย์ที่รู้จักกันดีคือพลังงานศักย์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง (Gravitational Potential Energy)

สมมุติยกวัตถุก้อนหนึ่งที่มีมวลสาร m ไปไว้ที่ความสูง h พลังงานที่สะสมในวัตถุเกิดจากการเปลี่ยนระดับความสูงของวัตถุ

Ep คือ พลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง( จูล )

m คือ มวล ( กิโลกรัม )

h คือ ความสูงของวัตถุ

Ep = mgh

พลังงานศักย์จึงเท่ากับ mgh

หากพิจารณาว่าวัตถุเดิมมีน้ำหนัก mg เมื่อออกแรง F ยกวัตถุไปไว้ที่ระดับสูง h

งานที่ทำ = FS

          = mgh 

งานที่ทำจึงเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์จากแรงโน้มถ่วง

 

พลังงานศักย์ที่มีอยู่ในสปริง

พลังงานที่สะสมในสปริงที่ยืดหรือหดจากตำแหน่งสมดุล

F = ks

พลังงานศักย์ที่เกิดจากสปริง

 


โดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์