แรงคู่ควบและโมเมนต์
วัตถุใด ๆ เมื่อมีแรงมากระทำย่อมต้องมีผลต่อแรงกระทำนั้น ถ้าผลรวมของแรงกระทำในทุกแนว เป็นศูนย์ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับวัตถุเป็นไปได้หลายทาง เช่น
แรงที่กระทำต่อกังหันน้ำหรือกังหันลม ทำให้กังหันหมุน และเรานำเอาหลักการนี้ไปใช้เป็นต้นกำลังในการนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ แรงที่กระทำก่อให้เกิดการหมุนเรียกว่า โมเมนต์
ถ้าแรง F1, F2, F3 กระทำต่อวัตถุ A ถ้าผลรวมของแรงทั้งสามที่พบกันที่จุด 0 มีผลทำให้เกิดแรง ผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 0 วัตถุนั้นจะอยู่กับที่ เสมือนไม่มีแรงมากระทำ แต่ถ้าผลรวมของแรงที่มากระทำไม่เป็นศูนย์ วัตถุก็จะเคลื่อนที่ไปตามแนวแรงผลลัพธ์นั้น
ถ้าวัตถุ B มีแรง F1 และ F2 กระทำในทิศทางขนานกัน ถึงแม้ว่า F1 และ F2 จะมีขนาดเท่ากัน ก่อให้เกิดผลรวมในแรงแกน x เป็น 0 วัตถุนี้จะหมุนทั้งนี้เกิดจากโมเมนต์ของแรงไม่เป็นศูนย์
ถ้ามีแรงสองแรง F1 และ F2 มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้าม และกระทำในแนวขนานกัน จะก่อให้เกิดโมเมนต์ เราเรียกแรงนี้ว่า แรงคู่ควบ
โมเมนต์ของแรงคู่ควบมีค่าเท่ากับแรงคูณกับระยะทาง ระหว่างแรงทั้งสองที่ขนานกัน
ดังนั้นโมเมนต์แรงคู่ควบ = F1 * D

ทฤษฎีของแรงคู่ควบ
  1. ผลบวกตามพีชคณิตของโมเมนต์ของแรง 2 แรงที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งทำให้เกิดแรงคู่ควบคู่หนึ่งรอบจุดใด ๆ ในระนาบเดียวกัน ย่อมเป็นจำนวนค่าคงที่ และจะมีค่าเท่ากับโมเมนต์ของแรงคู่ควบนั้น
  2. แรงคู่ควบ 2 คู่ หรือมากกว่า มากระทำรวมกันบนวัตถุชิ้นหนึ่งในระนาบเดียวกัน ส่งผลให้มีโมเมนต์รวมหมุนทวนเข็มนาฬิกา เท่ากับตามเข็ม วัตถุจะไม่หมุน จะทำให้ผลของโมเมนต์ของแรงคู่ควบเป็น 0
  3. แรงคู่ควบหลายคู่มากระทำร่วมกันบนวัตถุชิ้นหนึ่ง ในระนาบเดียวกัน จะสามารถแทนได้โดยแรงคู่ควบคู่หนึ่ง ซึ่งมีโมเมนต์เท่ากับผลบวกของโมเมนต์ของแรงคู่ควบเหล่านั้น


โดย สำนักบริการคอมพิวเตอร์