มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
หากพิจารณาวัตถุสสารใด ๆ จะเห็นว่า บางวัตถุมีความหนาแน่นของเนื้อวัตถุมาก เช่น เหล็ก หิน บางวัตถุมีความหนาแน่นน้อย เช่น โฟม พลาสติก ทำให้มีน้ำหนักเบา
มวลสาร (Mass) จึงเป็นปริมาณที่จะบอกคุณสมบัติของวัตถุ และถ้ามีแรงมากระทำต่อวัตถุพื้น ก็จะเกิดสภาพการต่อต้านสภาวะการเคลื่อนที่ เช่น ถ้าออกแรงผลักวัตถุที่มีมวลสารหนาแน่น ก็ต้องออกแรงมาก
แรง (Force) คือปริมาณทางฟิสิกส์ที่กระทำต่อวัตถุ แล้วจะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง
น้ำหนัก (weight) เมื่อวัตถุอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก จะมีแรงดึงดูดที่ทำให้วัตถุตกจากที่สูง และเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก แรงของโลกที่ดึงดูดมีค่าเท่ากับ W = mg

กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน
เซอร์ไอแซคนิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้มีผลงานโดดเด่นหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการคำนวณระหว่างแสงกับมวลสาร เขาได้อธิบายว่า ทำไมดวงจันทร์จึงโคจรรอบโลก และทำไมโลกจึงโคจรรอบดวงอาทิตย์ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก และทำให้วัตถุตกจากที่สูงเคลื่อนที่อัตราเร่ง g
นิวตันให้หลักการคำนวณที่เกิดจากแรงไว้ 3 ข้อ และเป็นกฎที่สำคัญในการใช้อธิบายหลักการทางฟิสิกส์ได้เป็นอย่างดี
กฎข้อ 1 Law of Inertia (กฎของความเฉื่อย)
ถ้าวัตถุอยู่ในสภาพนิ่ง ก็จะรักษาสภาพนิ่ง ถ้าวัตถุอยู่ในสภาพการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ก็จะเคลื่อนที่เช่นนั้น จนกว่าจะได้รับแรงจากภายนอกมากระทำต่อวัตถุนั้น

กฎข้อ 2 F = ma
เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ และผลรวมของแรงนั้นไม่เป็นศูนย์ จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ ความเร่งจะมีขนาดแปรผกผันกับมวลของวัตถุ
กฎข้อ 3 Action = Reaction
เมื่อมีแรงกระทำเป็นแรงกริยาทุกแรงต้องมีแรงปฏิกริยา ซึ่งมีขนาดเท่ากัน และทิศทางตรงข้าม

โดย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ สำนักบริการคอมพิวเตอร์