คนรัสเซียไดŒอะไรบŒางจากโรงงานอาวุธปรมาณู
ตลอดระยะเวลา 30 ป‚ที่ผ‹านมานี้ M. Kossenko แห‹งสถาบัน Urals Research Center for Radiation Medicine ที่เมือง Chelyabinski ไดŒวิจัยสํ ารวจตรวจสุขภาพ ของชาวเมือง จํ านวน 64,000 คนที่อาศัยอยู‹ในหมู‹ บŒานต‹างๆ ตอนใตŒของภูเขา Ural ในประเทศรัสเซีย คนกลุ‹มนี้ไดŒรับประสบการณพิเศษที่ไม‹มีใครในโลกเหมือน คือพวกเขาไดŒตั้งถิ่นฐานอยู‹ใกลŒกับโรงงานผลิตอาวุธนิวเคลียรของรัสเซีย
ในป‚ พ.ศ. 2492 - 2499 โรงงานแห‹งนี้ ไดŒปล†อยนํ้าเสียที่มีสารกัมมันตรังสีปริมาณ 76 ลŒานลูกบาศกเมตรลง สู‹แม‹นํ้ า Teena ชาวบŒาน ที่อาศัยอยู‹ตามลํ าแม‹นํ้ า ไดŒใชŒนํ้ าดังกล‹าว ในการซักผŒา อาบ และกิน Kossenko ประมาณ ว‹าชาวบŒานกลุ‹มนี้ไดŒรับรังสีปริมาณที่มากถึง 1,700 เท‹าของปริมาณปลอดภัยตลอดระยะเวลา 7 ป‚ที่โรงงานนี้เปด ดําเนินการ
เท‹านั้นยังไม‹พอที่โรงงานแห‹งนี้ ไดŒมีอุบัติเหตุนิวเคลียรเกิดขึ้นหลายครั้ง เช‹น ในป‚ พ.ศ. 2500 ถังเก็บนํ้ าที่มี สาร กัมมันตรังสีไดŒระเบิด นํ้ าในถังไดŒทะลักท‹วมหมู‹บŒาน 3 หมู‹บŒานเปšนเวลานานหลายสัปดาห
ภาระงานหลักของ Kossenko คือตรวจสถิติการเปšนมะเร็งของชาวบŒาน งานที่เธอรับผิดชอบจึงนํ ามาซึ่ง ความเศรŒา และความทุกข แต‹ในขณะเดียวกันงานนี้ก็กํ าลังมีบทบาทสํ าคัญมากในวงการวิทยาศาสตร เพราะเธอ กําลังศึกษาผลกระทบที่เกิดต‹อประชากรที่ไดŒสัมผัส และบริโภคสารกัมมันตรังสีเปšนเวลานาน
Kossenko ตŒองเก็บผลงานวิจัยของเธออย‹างมิดชิด เธอถูกหŒามมิใหŒเปดเผยขŒอมูลใดๆ ต‹อโลกภายนอกแต‹ เมื่ออาณาจักรคอมมิวนิสตล‹มสลาย รายงานต‹างๆ ที่เธอและคณะไดŒเก็บสะสมก็เริ่มปรากฏออกมาใหŒโลกภาย นอกทราบ
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ‹านมานี้ บรรดาผูŒเชี่ยวชาญดŒานภัยจากกัมมันตรังสี จากประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ†น จํ านวน 20 คน ไดŒเดินทางมาประชุม และสังเกตเหตุการณที่ Chelyabinski กับเธอ และไดŒรับรายงาน ว‹าชาวบŒานที่อยู‹อาศัยอยู‹ใกลŒกับโรงงานผลิตอาวุธปรมาณ ูเปšนมะเร็งในอัตราที่สูงกว่าชาวบŒานทั่วไปถึง 3 เท‹า แต‹ สําหรับคนที่อาศัยอยู‹ห‹างจากโรงงานมาก โอกาสที่เขาผูŒนั้นเปšนมะเร็งจะนŒอย
อันความรูŒป˜จจุบันที่เรามี เกี่ยวกับอันตรายจากสารกัมมันตภาพ รังสีนั้น เราไดŒจากการศึกษาและติดตามผูŒที่ รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมือง Hiroshima และ Nagasaki แต‹บุคคลเหล‹านั้นไดŒรับกัมมันตภาพรังสี ปริมาณมากในช‹วงเวลาที่สั้น ซึ่งนับว‹าแตกต‹างจากสถานการณที่ Chelyabinski ซึ่งคนที่ทํ างานในโรงงานไฟฟ‡า ปรมาณูและอยู‹ที่ใกลŒแหล‹งกําจัดปฏิกูลนิวเคลียรไดŒรับกัมมันตภาพรังสีที่นŒอย แต‹นาน
ที่ประชุมของผูŒเชี่ยวชาญมีความเห็นพŒองกันว‹า การสรุปใดๆ ที่เกี่ยวกับภัยจากกัมมันภาพรังสีจะตŒองไดŒจาก ประชากรและปริมาณรังสีที่มากพอ อุบัติเหตุนิวเคลียรในแถบภูเขา Ural ของรัสเซียมีประชากรที่เกี่ยวขŒองมาก เพียงพอ และปริมาณรังสีที่พอเพียงอัน จะทํ าใหŒขŒอสรุปที่ไดŒเปšนขŒอสรุปที่รับฟ˜งไดŒ เพราะผลของการสรุปนี้ก็คลŒอง จองกับงานสํารวจของคณะวิจัยอีกกลุ‹มหนึ่งที่ไดŒเคยลงพิมพในวารสาร The Lancet ฉบับ เดือนตุลาคม พ.ศ.2538 ว‹าคนงานที่ทํ างานในโรงงานไฟฟ‡าปรมาณูของสหรัฐฯ แคนาดา และอังกฤษจํ านวน 96,000 คน เปšน มะเร็งในอัตราที่สูงกว‹าคนที่ไม‹ไดŒทํางานในโรงงานไฟฟ‡าปรมาณูมาก
อย‹างไรก็ตามความผิดพลาดในการสํารวจของ Kossenko กับคณะก็เปšนเรื่องที่สรŒางความไม‹แน‹นอนใหŒแก‹ ผลการสรุปนี้ เพราะเธอไม‹มั่นใจในขŒอมูลการใชŒนํ้ าของผูŒคนในหมู‹บŒานเมื่อ 40 ป‚ก‹อนโนŒนนัก และเธอตŒองอาศัย ขŒอมูล (ที่ถูกปกปด) ดŒานโรงงานจากกลุ‹มวิศวกรรัสเซีย เมื่อ 40 ป‚มาแลŒวเช‹นกัน
สถานการณที่เธอทํางานจึงแตกต‹างจากสถานการณที่ Hiroshima กับ Nagasaki เพราะทุกคนที่รอดชีวิต จากที่ทั้งสองนั้นมั่นใจ และรูŒดีว‹าตนเองยืนหรือนอนที่ใด เมื่อระเบิดปรมาณูระเบิด
ในอดีต Kossenko ตŒองปกปดผลงานวิจัยของเธอ เพราะกลัวผูŒคนจะแตกตื่น แต‹บัดนี้ผูŒคนทั้งโลกไดŒแตก ตื่นกับผลงานวิจัยของเธอแลŒวครับ

ที่มา : ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)