สุริยจักรวาลของเรามีลักษณะกลมแบนคล้ายจาน เพราะวงโคจรของดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ดวงรอบดวงอาทิตย์แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกัน เช่น ระนาบโคจรของโลกกับดาวพฤหัสบดีโดยเฉลี่ยแล้วเอียงทำมุม 0.37 องศากันและกัน ระนาบการโคจรของดาวเกตุ (Neptune) เอียงทำมุม 0.66 องศากับระนาบการโคจรของโลก และโดยเฉลี่ยแล้วระนาบการโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงเอียงทำมุม 7.25 องศากับแนวเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์
ก็ในเมื่อธรรมชาติเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์ต่างๆ จะโคจรมาเรียงตัวอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันในบางขณะ จึงต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในสมัยโบราณเวลาเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคา ผู้คนจะตระหนกตกใจ บางคนจะตีกลองและส่งเสียงดัง ชนบางเผ่าจะฆ่าสัตว์เพื่อทำพิธีบูชายัญ คนบางเผ่าจะสวดมนต์บวงสรวงของความกรุณาปราณีจากเทพเจ้าเป็นต้น
ในปัจจุบันความรู้สึกตื่นกลัวดังที่กล่าวมานี้ แทบจะไม่ปรากฏให้เราๆ ได้เห็นอีกแล้ว
เพราะเราเข้าใจสาเหตุการเกิดเหตุการณ์เหล่านั้น อย่างแจ่มแจ้งแล้ว
ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียว ของโลกใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการโคจรรอบโลกครบ 1 รอบ ดังนั้นในทุกๆ เดือน ดวงจันทร์จะโคจรตัดหน้าดาวเคราะห์ทุกดวงหนึ่งครั้ง และในบางครั้งมันก็โคจรผ่านใกล้ดาวฤกษ์ เช่น เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2536 ดวงจันทร์โคจรตัดหน้าดาว Spica และเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนปีเดียวกัน มันผ่านหน้าดาว Antares แต่จะอย่างไรก็ตามการโคจรของดวงจันทร์ผ่านดาวฤกษ์ก็