เมื่อราว 225 ปีมาแล้ว ได้มีนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันผู้หนึ่งชื่อ Titius ท่านผู้นี้ได้คาดคิดว่า สุริยจักรวาลของเราน่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง โคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
แต่เมื่อ G. Piazzi แห่งอิตาลี ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องฟ้าหาดาวดวงนั้น เขากลับได้เห็นดาวเล็กๆ จำนวนมากมาย ดาวเหล่านี้มีขนาดจิ๋วกว่าดาวเคราะห์ทั่วไป William Hershel แห่งอังกฤษจึงเรียกดาวเคราะห์ขนาดเล็กๆ เหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์น้อย (asteroid)
ตราบเท่าทุกวันนี้ นักดาราศาสตร์ได้แล้วพบว่า สุริยจักรวาลมีดาวเคราะห์น้อย จำนวนนับ 2 หมื่นดวง ที่กำลังโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ดาวน้อยๆ เหล่านี้ขนาดและชื่อต่างๆ กันเช่น Ceres, Ida, Juno และ Pallas เป็นต้น และถึงแม้จำนวนดาวเคราะห์น้อยจะมีมาก แต่ในหัวข้ออวกาศที่กว้างใหญ่ไพศาลการที่ดาวแต่ละดวงอยู่ห่างกันหลายล้านกิโลเมตร ทำให้โอกาสที่ดาวเหล่านี้จะชนกันเองแทบจะไม่มี
ดาวเคราะห์น้อยมาจากไหน
ในอดีตนักดาราศาสตร์เคยคิดกันว่า ดาวเคราะห์น้อยเป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ที่ถูกอุกกาบาตชนจนแตกสลาย แต่ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ส่วนมากคิดว่า ดาวเหล่านี้เป็นเพียงก้อนดินที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเกาะรวมกันเป็นดาวเคราะห์เท่านั้นเอง นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังพบอีกว่า ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีเส้นทางโคจรตัดกับเส้นทางโคจรของโลกอีกด้วย และนั่นก็หมายความว่า โอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยจะชนโลกนั้นก็มีอยู่
เพราะเหตุว่าจากการที่ดาวเคราะห์น้อย