ความปลอดภัยของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันผลกระทบทางรังสีแก่ประชาชน และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการรั่ว ของสารกัมมันตรังสี  การเลือกสถานที่ ตั้งที่เหมาะสม จะต้องพิจารณาปัญหาด้านความปลอดภัย ดังนี้
1. ผลกระทบจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายนอกที่จะมีผล ต่อความปลอดภัย ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
2. ลักษณะภูมิประเทศและสภาวะแวดล้อมในการแพร่ด้านธรณีวิทยา สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ควรมีฐานรากทางธรณีวิทยาที่มั่นคง หลีกเลี่ยงบริเวณ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการพังทลายของชั้นดินและหิน การเกิดดินทรุด และแผ่นดินถล่มทั้งที่มีสาเหตุเกิดจากธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ เช่น สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ภายใต้เป็นชั้นหินปูน  หรือเป็นโพรง  มีการเจาะอุโมงค์ทำเหมืองแร่  และการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดินจากการใช้น้ำบาดาล  เป็นต้น กระจาย  สารกัมมันตภาพรังสีสู่ประชาชน
3. ความหนาแน่นและการกระจายของประชากร โดยรอบสถานที่ตั้ง     ซึ่งอาจได้รับผลกระทบทางรังสี

ด้านผลกระทบต่อความปลอดภัย<wbr>ของ<wbr>โรงไฟฟ้า<wbr>นิวเคลียร์
น้ำสำหรับถ่ายเทความร้อนออกจากเครื่องปฏิกรณ์  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอแก่การถ่ายเทความร้อน ออกจากเครื่องปฏิกรณ์ทั้งในกรณีฉุกเฉิน และในสภาวะปกติ
 
   แผ่นดินไหว  สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ห่างจากแผ่นดินไหว รัศมีอย่างน้อย  150  กิโลเมตร และในกรณีพบรอยเลื่อนของผิวโลก ชนิดซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของผิวโลกอยู่ในบริเวณที่จะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สถานที่ตั้งนั้นไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 

การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องออกแบบระบบความปลอดภัยให้มีความทนทานต่อแผ่นดินไหว ซึ่งจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้รุนแรงที่สุดในบริเวณนั้น และหากผลการศึกษาพบว่า สถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่มีผลกระทบจากแผ่นดินไหว โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังจำเป็นต้องออกแบบ เพื่อป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว อย่างน้อยที่สุด ให้ทนทานต่อความรุนแรงของแผ่นดินไหว ในระดับที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วคนไม่สามารถทรงตัวยืนอยู่ได้(0.1g)
นอกจากนี้ สถานที่ตั้งบริเวณชายฝั่งทะเล จะต้องศึกษาผลกระทบของคลื่นใต้น้ำ เนื่องจากแผ่นดินไหวในทะเลเพื่อออกแบบป้องกันไม่ให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับอันตราย
อุทกภัย  สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ควรอยู่ในบริเวณพื้นที่ลุ่ม ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูง  และจะต้องศึกษาผลกระทบของน้ำท่วม เนื่องจากพายุฝน น้ำขึ้นน้ำลง  การพังทลายของเขื่อน หรือมีสิ่งกีดขวางปิดกั้นต้นน้ำลำธาร  ตลอดจนคลื่นจากแผ่นดินไหวในทะเล  เพื่อนำไปออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ให้สามารถป้องกันอันตรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้
วาตภัย  ในบริเวณที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากพายุใต้ฝุ่น  จำเป็นต้องออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้มีความทนทานต่อแรงลม และความกดดันที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการปะทะของวัสดุที่ปลิวมากับพายุ
อัคคีภัย   ในรัศมีประมาณ 1-2  กิโลเมตร  โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  จะต้องสำรวจแหล่งที่เป็นเชื้อเพลิง  เช่น  คลังเก็บสินค้า  โรงงานอุตสาหกรรมประเภทพลาสติก และไม้  เพื่อนำไปประกอบการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ด้านผลกระทบทางรังสีแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม
การแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสีในอากาศและน้ำ
บริเวณที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาวะผลิตไฟฟ้าตามปกติและในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ  โดยวิเคราะห์การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในอากาศและน้ำผิวดินตามลักษณะภูมิประเทศของสถานที่ตั้ง  การรั่วซึมของสารกัมมันตภาพรังสีสู่ชั้นของน้ำบาดาล  ทั้งนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงภัยของประชาชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น  หากลักษณะภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการลดผลกระทบดังกล่าว  และไม่สามารถออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชดเชยในส่วนของความปลอดภัยได้  สถานที่ตั้งนั้น ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ความหนาแน่นของประชากร
สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควรตั้งอยู่บริเวณที่มีประชากรไม่หนาแน่น  ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลกระทบทางรังสีที่อาจเกิดขึ้น  และสามารถดำเนินมาตรการแก้ไขสถานะการณ์ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านความเหมาะสมอื่น ๆ
ระบบสายส่งไฟฟ้า  สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ควรอยู่ใกล้กับระบบสายส่งไฟฟ้า เพื่อสะดวกแก่การก่อสร้าง สายส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้ เข้าสู่ระบบและการจัดหาไฟฟ้าสำรองให้แก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
น้ำระบายความร้อน  นอกจากน้ำที่ใช้ถ่ายเทความร้อนแล้ว   โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังต้องการแหล่งน้ำเพื่อระบายความร้อนหลังจากผลิตไฟฟ้า  ฉะนั้นสถานที่ตั้งควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ  โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพน้ำ  ปริมาณ และระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดูด้วย
ด้านสิ่งแวดล้อม  จะต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากผลกระทบทางรังสี  เช่น  ผลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำระบายความร้อนต่อสัตว์น้ำ  การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา  ทัศนียภาพ  สถานที่ท่องเที่ยว  และวัฒนธรรมที่สำคัญ  ผลกระทบทางเสียง และฝุ่นละอองระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น