การ<wbr>ทำ<wbr>หมัน<wbr>แมลง<wbr>ด้วย<wbr>รังสี

ไข่แมลงวัน
แมลงวันผลไม้เป็นแมลงศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้กับผลไม้สดของไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ยังทำให้ผลไม้สดของไทยไม่สามารถส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ วิธีการควบคุมและกำจัดแมลงวันผลไม้โดยใช้สารเคมีอย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทางสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติจึงได้คิดเทคนิคการควบคุมและกำจัดแมลงวันผลไม้โดยการทำให้แมลงเป็นหมัน โดยเริ่มจากการฉายรังสีดักแด้แมลงวันผลไม้ที่เพาะเลี้ยงไว้ก่อนออกเป้น 2 วัน ด้วยรังสีแกมมาในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้แมลงวันผลไม้ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นหมันโดยสมบูรณ์ จากนั้นนำดักแด้ไปปล่อย เมื่อตัวผู้ที่เป็นหมันถูกปล่อยออกไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ตัวเมียที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไข่จะไม่ฟักเป็นตัว ส่วนตัวเมียที่เป็นหมันก็จะไม่สามารถออกไข่ได้ การทำหมันแมลงด้วยรังสียังสามารถใช้ร่วมกับการกำจัดวิธีอื่น ๆ ได้อีกด้วย

เทคนิคการทำหมัน แมลงวันด้วยรังสีนี้ พปส ได้ดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ที่ดอยอ่างขาง ซึ่งประสบปัญหา แมลงวันทำลายผลไม้พวก สาลี่ ท้อ บ๊วย พลับ เสียหายเป็นจำนวนมาก ปรากฏได้ผลเป็นที่พอใจ เช่น ในปี 2527 พบว่า ท้อ ถูก แมลงวันทำลายถึงร้อยละ 83.3 แต่ในปี 2533 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น

การ<wbr>ทำ<wbr>น้ำ<wbr>มัน<wbr>ยางวัลคา<wbr>ในช์ด้วย<wbr>รังสี

น้ำยางวัลคาไนซ์ เป็นน้ำยางที่เมื่อทำให้แห้งแล้วจะได้ยางที่คงรูป และมีสมบัติยืดหยุ่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ยางประเภทจุ่มแบบพิมพ์หรือหล่อเบ้าพิมพ์ เช่น สายยาง ถุงมือยาง จุกนมยาง ยางยืด ลูกโป่ง ของเล่นเด็ก ถุงยางอนามัย พื้นร้องเท้า เป็นต้น สำหรับถุงมือที่ใช้ในทางการแพทย์และถุงยางอนามัย กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทั้งนี้เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเอดส์ ทำให้ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ ๆ ของโลก เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งไทยด้วย ได้หันมาพัฒนาอุตสาหกรรมยางภายในประเทศของตน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางประเภทจุ่มแบบพิมพ์ สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.2525 โดยสำนักงานพลังงานปรมณูเพื่อสันติได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อนำพลังงานนิวเคลียร์มาช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาง โดยการใช้รังสีแกมมาในการวัลคาไนซ์น้ำยางธรรมชาติ

การผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์ที่ทำกันในปัจจุบันนี้ ทำโดยการผสมสารเคมีที่ทำให้ยางคงรูป ซึ่งได้แก่ กำมะถันและออกไซ์ของสังกะสี และสารประกอบอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งแต่การผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์ด้วยวิธีนี้จะมีข้อเสียบางประการ เช่น
ต้องทิ้งน้ำยางวัลคาไนซ์ไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 7 วัน ก่อนนำไปใช้งาน
สมบัติบางอย่าง ได้แก่ ความหนืดและการคงตัวของน้ำยางวัลคาไนซ์ อาจเปลี่ยนไป
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยางจากน้ำยางที่วัลคาไนซ์ด้วยกำมะถัน มักจะมีสารก่อมะเร็งจำพวกไนโตรเจนซามีนปนอยู่ด้วย แต่น้ำยางที่วัลคาไนซ์ด้วยรังสีไม่มีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนน้ำยางที่วัลคาไนซ์ด้วยรังสียังมีข้อดีอีกหลายประการ เช่น
สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ทันที ไม่ต้องเก็บบ่มที่อุณหภูมิห้อง และเก็บได้นานปี โดยคงรูปเหมือนเดิ
ขั้นตอนการผลิตน้ำยางวัลคาไนซ์ด้วยรังสีไม่ยุ่งยาก และไม่มีการผสมสารเคมีจำนวนมาก
ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์
น้ำยางที่วัลคาไนซ์ด้วยรังสีจะให้ผลิตภัณฑ์ที่มีขาวนวล มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้นุ่มสบาย ไม่บีบรัดเวลาใช้งาน

รังสรรค์ ศรีสาคร