ด้าน<wbr>การ<wbr>ตรวจ<wbr>วินิจฉัย

ได้แก่ การใช้สารกัมมันตรังสีตรวจดูการทำงานของอวัยวะหรือหาบริเวณที่เกิดโรค โดยรับประทานหรือฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย แล้วทำการตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะที่แสดงให้เห็นโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะแต่ละระบบ ทำให้แพทย์ทราบความผิดปกติของอวัยวะ ซึ่งจะนำไปสู่การหาแนวทางรักษายาและการผ่าตัดได้ ตัวอย่างของสารกัมมันตรังสีที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่
เทคนิเตียม-99m ใช้ตรวจการทำงานของอวัยวะในระบบต่าง ๆ เช่น ต่อมธัยรอยด์ กระดูก สมอง ปอด ม้าม ตับ ไขกระดูก และหัวใจ เป็นต้น
แกลเลียม-57 ใช้ตรวจการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งของต่อมน้ำเหลือ ตรวจการอักเสบต่าง ๆ ที่เป็นหนองอยู่ในช่องท้องที่ไม่สามารถแยกได้ด้วยการเอกซ์เรย์ธรรมดา
แทลเลียม-201 ใช้ติดฉลากเม็ดเลือดขาว เพื่อตรวจหาแหล่งอักเสบของร่างกาย ตรวจการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ตรวจการแพร่กระจายของมะเร็งไปตามอวัยวะต่าง ๆ
ไอโอดีน-131 ใช้ตรวจหาความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์



นอกจากนี้ยังใช้สารกัมมันตรังสีอื่นๆ เพื่อศึกษาการทำงานของอวัยวะในสภาวะปกติ หรือเพื่อใช้ตรวจวัดสารในร่างกายที่มีปริมาณน้อย ๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน และเป็นแนวทางในการตรวจรักษา การป้องกันโรค หรือการให้บริการทางสาธารสุขต่อไป เช่น ไอโอดีน-125 ใช้ในการศึกษาทางระบาดวิทยา ของโรคคอพอก เป็นต้น

ด้าน<wbr>การ<wbr>บำบัด<wbr>โรค

การรักษาโรคบางชนิดนอกจากจะใช้ยาและการผ่าตัดแล้วจำเป็นต้องใช้สารกัมมันตรังสีเข้าช่วย ตัวอย่างเช่น
ไอโอดีน-123 ใช้รักษามะเร็งของต่อมธัยรอยด
ทอง-198 ใช้รักษามะเร็งของผิวหนัง
ลวดแทนทาลัม-182 ใช้รักษามะเร็งปากมดลูก
อิเทรียม-90 ทอง-198 ใช้รักษามะเร็งที่แพร่กระจาย ไปยัง อวัยวะอื่นๆ
ฟอสฟอรัส-32 ชนิดสารละลาย ใช้รักษาภาวะที่มีเม็ดเลือดแดง มากเกินไปและมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคที่เรียกว่า BNC โดยการทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ระหว่างนิวตรอนเช้ากับสารประกอบโบรอนที่ถูกฉีดเข้าไปสะสมอยู่ในบริเวณที่เป็นมะเร็ง ทำให้ได้อนุภาคแอลฟาและลิเธียม-7 ซึ่งอนุภาคทั้งสองนี้มีอำนาจทำให้เกิดการแตกตัวได้สูงในเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายลงได้ วิธีการนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการรักษาเนื้องอกในสมองและมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
รังสรรค์ ศรีสาคร