การแบ่งปีตามหลักปฏิทินสากลแบ่งได้เป็นปีปกติมี
365 วัน และปีอธิกสุรทินมี 366 วัน โดยเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ขึ้นมาอีกหนึ่งวัน
การให้มีปีอธิกสุรทิน
เพราะโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 365.24218...ดังนั้นจึงต้องมีการปรับให้จำนวนวันต่อปีไม่คลาดเคลื่อนกับวิถีการโคจร
เพื่อให้หลักการของปีอธิกสุรทินมีความชัดเจน
จึงกำหนดเป็นสูตรไว้ดังนี้
1. |
ให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ทุก ๆ 4 ปี โดยนำเอาปี คศ. หารด้วย 4 ลงตัวถือว่าเป็นปีอธิกสุรทิน |
2. |
ให้ปรับโดยถ้าปีหารด้วย 100 ลงตัวให้เป็นปีปกติ |
3. |
ถ้าปีหารด้วย 400 ลงตัว ให้ปรับไปเป็นปีอธิกสุรทินอีก |
จากกฎเกณฑ์นี้
ปี คศ. 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน ปี คศ. 1900 และ 2100 เป็นปีปกติที่มี
365 วัน
หลักการของปฏิทินกรีกอเรียนทุก
ๆ 400 ปี จะมีการปรับตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ในรอบ 400 ปี จะมีจำนวนวันทั้งสิ้น
146,097 วัน ตัวเลข 146097 หารด้วย 7 ลงตัว ดังนั้นปฏิทินระบบนี้จึงลงตัวที่
400 ปี พอดี และจะซ้ำเดิมอีกครั้งและหากนำ 146097 หาร 400 จะได้ 365.2425
หรือกล่าวได้ว่าความยาวเฉลี่ยของปีหนึ่งมีค่าเท่ากับ 365.2425 แต่หากนำมาเปรียบเทียบกับเวลาการโคจรจริงของโลกพบว่าตามหลักการนี้จะทำให้มีข้อผิดพลาดไปหนึ่งวันในช่วงเวลาประมาณ
2500 ปี นั่นหมายถึง ก่อนรอบ 2500 ปี จะต้องมีการปรับวันที่กันอีกหนึ่งครั้ง
ซึ่งหลายต่อหลายคนได้นำเสนอให้ปรับให้ปีที่หารด้วย 1600 ลงตัว ให้มี 365 วันอีกครั้ง
ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์